ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

2019-04-23 17:46CRI

“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” คืออะไร?

ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม ปี ค.ศ. 2013 นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้เสนอแนวคิดสร้าง “แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม” พร้อมกับข้อริเริ่ม “เส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21” ในระหว่างการเยือนคาซักสถานและอินโดนีเซียตามลำดับ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” จึงเป็นชื่อย่อของ “แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม” และข้อริเริ่ม “เส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21”

“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ไม่ใช่การยกระดับเส้นทางสายไหมโบราณแบบง่าย ๆ และไม่ใช่มโนคติทางภูมิศาสตร์ของ “แถบ” กับ “เส้นทาง”  แต่เป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศและผลิตภัณฑ์สาธารณะที่จีนอำนวยต่อทั่วโลก เป็นข้อริเริ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เปิดเผยและเอื้ออารี แก่นแท้ของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ถือการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเป็นแกนหลัก การแลกเปลี่ยนนโยบาย การเชื่อมต่ออุปกรณ์  การรวมและหมุนเวียนเงินทุน การเชื่อมโยงจิตใจของประชาชนเข้าด้วยกันเป็นจุดสำคัญ เชื่อมต่อกับนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศต่าง ๆ เพื่อค้นหาแรงขับเคลื่อนใหม่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก และสร้างเวทีใหม่แห่งความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

 

หลักการร่วมกันสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

การร่วมกันหารือ การร่วมกันสร้างและการใช้ผลประโยชน์ร่วมกัน เป็นหลักการพื้นฐานของการผลักดัน “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  

การร่วมกันหารือ คือ รวบรวมความคิดในวงกว้าง ปรึกษาหารือกัน เน้นการมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาค ปรึกษาหารืออย่างเต็มที่ ถือความเสมอภาคเท่าเทียมและความสมัครใจเป็นพื้นฐาน จัดการเสวนาแลกเปลี่ยนตามสมควร เพื่อแสวงหาความเข้าใจร่วมกัน รวมไปถึงจุดตัดของความร่วมมือและจุดร่วมเพื่อการพัฒนาร่วมกัน

การร่วมกันสร้าง คือ ต่างฝ่ายต่างใช้ความได้เปรียบของตนเอง และใช้กำลังของตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยทุกฝ่ายเป็นผู้เข้าร่วม  ผู้สร้างสรรค์และผู้สร้างคุณูปการที่เสมอภาคเท่าเทียม อีกทั้งยังเป็นผู้รับผิดชอบและแบกรับความเสี่ยง สร้างเวทีสมทบทุนเพื่อความร่วมมือ  และดำเนินความร่วมมือของตลาดฝ่ายที่สามอย่างแข็งขัน

ส่วนการใช้ผลประโยชน์ร่วมกัน คือ ตระหนักถึงประโยชน์และความสนใจของอีกฝ่ายที่เข้าร่วมความร่วมมือ ใช้ประโยชน์จากผลงานการสร้างสรรค์และการพัฒนาในประเทศรายทาง ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศเหล่านี้ ตลอดจนส่งเสริมผลงานนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศรายทางเพื่อผลักดันการพัฒนาสีเขียว

ในปี ค.ศ. 2015 คณะกรรมาธิการการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติจีน กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์จีน ประกาศ “แผนการและปฏิบัติการผลักดันร่วมกันสร้างแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21” โดยระบุว่า การร่วมกันสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” จะต้องเป็นไปตามหลักการพื้นฐาน โดยปฏิบัติตามเป้าหมายและหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิบัติตามหลักการ 5 ประการแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ยืนหยัดในการเปิดสู่ภายนอกและความร่วมมือ ยืนหยัดความกลมกลืนสมานฉันท์ เอื้ออารี ตลอดจนยืนหยัดปฏิบัติตามหลักการของตลาด อำนวยผลประโยชน์แก่กันและได้รับชัยชนะร่วมกัน

 

แนวคิดหลักของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

สันติภาพและความร่วมมือ เปิดเผยและเอื้ออารี เรียนรู้และศึกษาซึ่งกันและกัน ตลอดจนอำนวยประโยชน์และได้รับชัยชนะร่วมกัน เป็นแนวคิดหลักของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

 

พันธมิตรของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ครอบคลุมพื้นที่แผ่นดินใหญ่ เอเชีย-ยุโรป-แอฟริกา เปิดสู่หุ้นส่วนทั้งหมด ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา การร่วมกันสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้รับการตอบรับอย่างแข็งขันจากประเทศและองค์กรระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น จนถึงปลายเดือนมีนาคมปีนี้ รัฐบาลจีนได้ลงนามเอกสารความร่วมมือกับ 125 ประเทศและองค์การระหว่างประเทศ 29 แห่ง รวม 173 ฉบับ ปูทางไปสู่ประเทศแอฟริกา ลาตินอเมริกาและแปซิฟิกใต้ เพื่อร่วมกันสร้างข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” นอกจากนี้ แนวคิดหลักยังถูกระบุลงในเอกสารที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติ กลุ่มจี 20 เอเปก ตลอดจนองค์กรในระดับภูมิภาคอื่น ๆ อีกด้วย

 

ทิศทางการพัฒนา “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

การจัดตั้งกลไกที่สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาที่มีคุณภาพสูง  เพื่อให้การบริการมากขึ้น การผลักดันและดำเนินโครงการความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนการผลักดันการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่มีคุณภาพสูง จีนจะจับมือกับประเทศต่าง ๆ ร่วมกันประสานงานด้านยุทธศาสตร์การพัฒนา และดำเนินโครงการความร่วมมือที่สำคัญในต่าง ๆ เพื่อผลักดันการปฏิบัติตามกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2030 ของสหประชาชาติ ที่ให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นต่อการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนระหว่างการกระชับความร่วมมือและสร้างความผาสุกแก่ประชาชนในประเทศรายทาง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

 

เป้าหมายการสร้างสรรค์ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

การสร้างสรรค์ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เป็นหนทางสันติภาพ หนทางความเจริญรุ่งเรือง หนทางการเปิด หนทางสีเขียว หนทางนวัตกรรมใหม่  หนทางอารยธรรม และหนทางความสุจริต ตลอดจนหาหนทางผลักดันกระแสโลกาภิวัตน์ให้พัฒนาในทิศทางที่เปิดกว้าง ให้อภัย อำนวยประโยชน์ สมดุล และได้รับชัยชนะร่วมกัน

 

การประชุมฟอรั่มสุดยอดความร่วมมือระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ครั้งที่ 2

การประชุมฟอรั่มสุดยอดความร่วมมือระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งระหว่างวันที่ 25 - 27 เมษายนนี้  โดยจะมีผู้นำประเทศและผู้นำรัฐบาลจาก 37 ประเทศ รวมทั้งจากประเทศอาเซียนเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำโต๊ะกลม นอกจากนี้ ยังมีแขกประมาณ 5,000 คนจากกว่า 150 ประเทศ และกว่า 90 องค์กรตอบรับเข้าร่วมประชุม

การประชุมครั้งนี้รวมทั้ง 12 ฟอรั่มและการประชุมสมัชชาใหญ่ของนักธุรกิจ พิธีเปิด การประชุมระดับสูง และการประชุมสุดยอดผู้นำโต๊ะกลม  นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน จะเข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดและกล่าวปราศรัย รวมไปถึงยังจะเป็นประธานการประชุมสุดยอดผู้นำโต๊ะกลม อีกทั้งยังจะแถลงผลการประชุมสุดยอดต่อสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง พร้อมนางเผิง ลี่หยวน ภริยา  ยังจะได้จัดงานเลี้ยงต้อนรับคณะผู้นำและแขกจากประเทศต่าง ๆ อีกด้วย

จีนหวังว่า จะอาศัยการประชุมสุดยอดครั้งที่สองนี้ ร่วมกับฝ่ายต่าง ๆ  สรุปประสบการณ์ วางแผนอนาคตและปฏิบัติตามความรับรู้ร่วมกัน เพื่อผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศ  “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ

(Tim/ LR/kt/peng)

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face

Not Found!(404)