สหรัฐฯ ตราหน้าจีนคุมอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องไร้เหตุผล

2019-08-07 13:44CRI

图片默认标题_fororder_WechatIMG166

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม กระทรวงการคลังสหรัฐฯจัดให้จีนเข้าอยู่ในบัญชีรายชื่อประเทศที่ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน   ซึ่งการกระทำนี้ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานเกี่ยวกับประเทศที่คุมอัตราแลกเปลี่ยนของกระทรวงการคลังสหรัฐฯที่ตนเองกำหนดไว้ มีลักษณะของลัทธิเอกภาคีนิยมและลัทธิกีดกันทางการค้า  ซึ่งจะทำลายกฎระเบียบระหว่างประเทศอย่างรุนแรง   และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเงินของโลกอย่างมากด้วย

ทั้งนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  กระทรวงการคลังสหรัฐฯแถลงว่า  จีนสอดคล้องกับมาตรฐานเกี่ยวกับประเทศที่คุมอัตราแลกเปลี่ยน 1 ประการจากทั้งหมด 3 ประการ คือ  จีนเกินดุลการค้าสหรัฐฯปีละ 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ    ซึ่งจีนไม่ได้ทำการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อความได้เปรียบทางการค้าที่ไม่ยุติธรรมแต่อย่างใด  และเมื่อเวลาผ่านไปเพียงสองเดือนกว่าเท่านั้น   กระทรวงการคลังของสหรัฐฯก็ได้กลับคำวินิจฉัยของตนเอง   และทำในสิ่งที่ขัดแย้งกันเอง 

จากความเห็นพ้องกันขององค์การการค้าโลก รวมถึงกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์การเฉพาะกิจในการบริหารจัดการเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ  ความเห็นทางวิชาชีพของกองทุนการเงินระหว่างประเทศจะเป็นเงื่อนไขบังคับแรกและเป็นพื้นฐานการวินิจฉัยว่า ประเทศใดประเทศหนึ่งมีการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่    สหรัฐฯไม่มีอำนาจในการประเมินอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศอื่นโดยลำพังฝ่ายเดียว   อนึ่ง  เมื่อเร็วๆ นี้  กองทุนการเงินระหว่างประเทศชี้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนของเงินหยวนเป็นไปตามพื้นฐานทางเศรษฐกิจของจีน   แต่สหรัฐฯกลับละเมิดกฎระเบียบพหุภาคี   มองข้ามผลการประเมินขององค์การที่มีอำนาจกำกับดูแลอัตราแลกเปลี่ยน  และตราหน้าจีนเป็นประเทศที่คุมอัตราแลกเปลี่ยน     นับเป็นการกระทำที่มีลักษณะลัทธิเอกภาคีนิยมและลัทธิกีดกันทางการค้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของสหรัฐฯที่อยากครองความเป็นเจ้าและไม่ยอมให้ประเทศอื่นมีความเจริญรุ่งเรือง 

ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา   อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนประสบสภาพอ่อนค่าลงในระดับหนึ่ง   สาเหตุหลักคือได้รับผลกระทบจากลัทธิเอกภาคีนิยม ลัทธิกีดกันทางการค้า  และสหรัฐฯขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน   อันสะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์อุปทานทางตลาด  และการขึ้นๆ ลงๆ ของตลาดเงินตราต่างประเทศอย่างแท้จริง     จีนได้ใช้กลไกลอยตัวอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการปรับปรุงและการบริหารโดยถือความต้องการทางตลาดเป็นพื้นฐาน และพิจารณาจากเงินตราต่างประเทศหลายประเทศมาโดยตลอด    อุปสงค์และอุปทานทางตลาดมีบทบาทสำคัญที่สุดในการกำหนดการขึ้นลงของอัตราแลกเปลี่ยน    จีนในฐานะหน่วยเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก   ยึดมั่นในคำมั่นสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนที่ให้ไว้กับการประชุมผู้นำกลุ่มจี 20  ทุกครั้งที่ผ่านมา  ถึงแม้ว่าตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา  สหรัฐฯจะยกระดับความขัดแย้งทางการค้ากับจีนอย่างต่อเนื่อง   จีนก็ยังยืนหยัดไม่ลดค่าเงินหยวน เพื่อเพิ่มกำลังแข่งขันทางการค้า  รวมทั้งไม่คิดและจะไม่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือในการรับมือกับความขัดแย้งทางการค้าด้วย

เป้าหมายหลักที่สหรัฐฯตราหน้าจีน ให้เป็นประเทศคุมอัตราแลกเปลี่ยนนั้นคือ   อยากจะกดดันจีนอย่างสุดขีดต่อไป  ทำลายการคาดการณ์ของตลาด  และสร้างความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจจีน  แต่การกระทำเช่นนี้มีแต่จะทำลายผู้อื่นและตนเอง  เพราะไม่เพียงจะทำให้ตลาดการเงินปั่นป่วนเท่านั้น  หากยังจะขัดขวางการฟื้นฟูการค้าระหว่างประเทศและเศรษฐกิจโลกด้วย      ปัญหาการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯที่ไม่สมดุลกันนั้นเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น  การออมเงินภายในประเทศสหรัฐฯไม่เพียงพอ  สหรัฐฯจำกัดการส่งออกผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีระดับสูง   ดอลลาร์สหรัฐฯมีบทบาทที่เป็นเงินตราต่างประเทศสำรอง   สรุปได้ว่า   สหรัฐฯต้องแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของตนเอง  ไม่ใช่ไปกล่าวหาโดยไม่มีมูลความจริงว่า ประเทศอื่นควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อความได้เปรียบทางการค้าที่ไม่ยุติธรรม

(yim/cai)

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face

Not Found!(404)