2019-08-27 14:19CRI
นครเซี่ยงไฮ้
วันที่ 1 ตุลาคม เป็นวาระครบรอบ 70 ปีการสถาปนาจีนใหม่ ช่วง 70 ปีที่ผ่านมา จีนพัฒนาจากประเทศยากจนมากของโลก กลายเป็นประเทศใหญ่ด้านเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก ทำให้ชาวโลกเกิดความสนใจว่า ช่วง 70 ปีที่ผ่านมา เกิดอะไรขึ้นกับจีน
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนประกาศตัวเลขสถิติ ซึ่งเป็นคำตอบที่ค่อนข้างชัดเจนสำหรับปัญหาดังกล่าว
ตัวเลขอันดับหนึ่งคือ มวลรวมการผลิตภายในประเทศหรือจีดีพีเพิ่มขึ้น 175 เท่า คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย 8.1% ต่อปี
ตอนที่สถาปนาจีนใหม่ พื้นฐานเศรษฐกิจของจีนอ่อนแอมาก จีดีพีในปี 1952 มีเพียง 67 ,900 ล้านหยวนเท่านั้น จนถึงปี 2018 จีดีพีเพิ่มขึ้น 175 เท่า เมื่อเทียบกับปี 1952 อัตราการเติบโตเฉลี่ย 8.1% ต่อปี ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา ยอดเศรษฐกิจจีนแซงหน้าญี่ปุ่น ขยับขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ของโลก อัตราส่วนช่วยการเติบโตเศรษฐกิจโลกคิดเป็น 18% จัดอยู่ในอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐ
สถิติแสดงให้เห็นว่า หลังจากการพัฒนาในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา จนถึงปี 2018 จีดีพีของจีนเกินกว่า 90 ล้านล้านหยวน ครองสัดส่วนประมาณ 16% ของโลก โดยเฉพาะหลังจากจีนดำเนินนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดสู่ภายนอกเมื่อ 40 ปีก่อน เศรษฐกิจจีนพัฒนาอย่างรวดเร็ว ปี 1986 จีดีพีคิดเป็น 1 ล้านล้านหยวน ปี 2000 ทะลุเป้า 10 ล้านล้านหยวน และแซงหน้าญี่ปุ่นมาเป็นอันดับ 2 ของโลกอย่างมั่นคง และช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จีดีพีของจีนทะลุ 70 ล้านล้านหยวน 80 ล้านล้านหยวนและ 90 ล้านล้านหยวน ครองสัดส่วน 18% ของเศรษฐกิจโลก ระหว่างปี 1979- 2018 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยต่อปีของจีนคิดเป็น 9.4% สูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีของเศรษฐกิจโลกที่ 2.9% อย่างมาก
ตัวเลขที่สองคือ การสำรองเงินตราต่างประเทศจัดอยู่อันดับ 1 ของโลกติดต่อกัน 13 ปี ตอนที่สถาปนาจีนใหม่ การคลังจีนยากลำบากมาก รายได้การคลังมีเพียง 6 ,200 ล้านหยวน ปี 1978 เพิ่มขึ้นเป็น 113,200 ล้านหยวน ปี 1999 ทะลุเป้า 1 ล้านล้านหยวนเป็นครั้งแรก จนถึงปี 2018 เพิ่มมากขึ้นเป็น 18.33 ล้านล้านหยวน
พร้อมๆ กับที่รายได้การคลังที่เพิ่มขึ้น การสำรองเงินตราต่างประเทศจีนก็เพิ่มขึ้นจาก 108 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มาเป็น 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ปลายปี 2006 จนถึงสิ้นปี 2018 จีนมีการสำรองเงินตราต่างประเทศเกินกว่า 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ จัดอยู่ในอันดับ 1 ของโลก ต่อเนื่องกัน 13 ปี
ตัวเลขที่สามเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิต ช่วง 70 ปีที่ผ่านมา โครงสร้างอุตสาหกรรมของจีนปรับปรุงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตอนที่สถาปนาจีนใหม่ เศรษฐกิจจีนอาศัยเกษตรกรรมเป็นหลัก อาหารการกิน การใช้ชีวิตขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ แต่รัฐบาลจีนใช้ความพยายามผลักดันโครงสร้างเศรษฐกิจจากพัฒนาอุตสาหกรรมปฐมภูมิเป็นหลัก มาเป็นอุตสาหกรรมตติยภูมิเป็นหลัก และยอดปริมาณการผลิตธัญญาหารของจีนก็เพิ่มขึ้นจาก 1.13 ล้านล้านตันในปี 1949 มาเป็น 6.58ล้านล้านตันในปี 2018
โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมการผลิต ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศเดียวของโลกที่มีประเภทอุตสาหกรรมการผลิตทั้งหมด ครบวงจรและสมบูรณ์แบบตามบัญชีรายชื่อที่ประกาศโดยสหประชาชาติ ยอดปริมาณการผลิตของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกว่า 200 ชนิด จัดอยู่ในอันดับ 1 ของโลก มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมการผลิตจัดอยู่ในอันดับของ 1 โลก ตั้งแต่ปี 2010 อย่างต่อเนื่องและมั่นคง
ยกตัวอย่างเช่น ปริมาณการผลิตเหล็กกล้า ปี 2018 จีนผลิตเหล็กกล้า 1 ,110 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 8,503 เท่า เมื่อเทียบกับปี 1949 มีชาวเน็ตจีนบางคนได้พิจารณาตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับยอดปริมาณการผลิตเหล็กกล้าของจีน และเอาไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ของโลก แล้วเปิดเผยรายชื่อการจัดอันดับปริมาณการผลิตเหล็กกล้าในท้องที่ต่างๆ ปรากฏว่า อันดับ 1 คือ จีนที่ไม่รวมถึงมณฑลเหอเป่ยของจีน อันดับ 2 คือมณฑลเหอเป่ยที่ไม่รวมถึงเมืองถังซาน ซึ่งเป็นเมืองในมณฑลเหอเป่ย อันดับ 3 คือเมืองถังซาน เมืองที่ขึ้นชื่อด้านอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กกล้าในมณฑลเหอเป่ย แล้วรองลงมาอันดับ 4 – 8 คือ ญี่ปุ่น สหรัฐ อินเดีย รัสเซียและเกาหลีใต้
กรุงปักกิ่ง
ตอนที่สถาปนาจีนใหม่ เกษตรกรรมครองสัดส่วนมากที่สุดในเศรษฐกิจจีน ปี 1952 เกษตรกรรม อุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมตติยภูมิครองสัดส่วน 50.5% 20.8% และ 28.7% ของเศรษฐกิจจีน จนถึงปี 2018 ตัวเลขดังกล่าวกลายมาเป็น 7.2% 40.7% และ 52.2% ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตของจีนปรับปรุงดีขึ้น ได้พัฒนาจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรมตติยภูมิ
ด้านการคมนาคม จนถึงสิ้นปี 2018 จีนมีทางรถไฟระยะทางรวม 131,000 กิโลเมตร เพิ่มขึ้น 5 เท่า เมื่อเทียบกับปี 1949 ในจำนวนนี้ มีทางรถไฟความเร็วสูง 29,000 กิโลเมตร มากกว่าระยะทางโดยรวมของประเทศอื่นๆ ในโลก
ถนนที่มองเห็นได้ในจีนขยายยาวขึ้น ส่วนถนนที่มองเห็นไม่ได้ในจีนก็ขยายกว้างขึ้น ด้านการใช้อินเตอร์เนต ปี 2018 จีนมีผู้ใช้บรอดแบนด์เคลื่อนที่ 1 ,310 ล้านคน สร้างเครือข่ายบรอดแบนด์ใหญ่ที่สุดของโลก
พลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาของจีน ปี 1949 ยอดการผลิตพลังงานของจีนคิดเป็นถ่านหินมาตรฐานเพียง 24 ล้านตัน จนถึงปี 2018 ตัวเลขนี้ขยายขึ้น 158 เท่า เป็น 3,770 ล้านตัน ปี 2018 กำลังการผลิตพลังไฟฟ้าทั่วประเทศจีนสูงถึง 1,900 ล้านกิโลวัตต์ เพิ่มขึ้น 32.3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 1978 นอกจากนั้น จีนยังเป็นผู้นำด้านพลังงานที่ไม่ใช่ฟอสซิล และพัฒนามาเป็นประเทศใหญ่ด้านการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน
(Bo/Lin)