บรรยากาศเทศกาลตรุษจีนในต่างแดน (1)

2020-01-31 17:46CRI

图片默认标题_fororder_1

ในสายตาของชาวจีน เทศกาลตรุษจีนเป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นเทศกาลสำคัญที่สุดและมีความหมายพิเศษที่สุดของจีน เพราะถือเป็นเทศกาลที่แสดงถึงการอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันของสมาชิกครอบครัวทุกคน และการต้อนรับปีใหม่ซึ่งเต็มไปด้วยความปรารถนาอันดีงาม ดังนั้น เมื่อถึงช่วงเทศกาลตรุษจีน ชาวจีนทั้งหลาย รวมไปถึงชาวจีนโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ต่างจะพากันจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลสำคัญนี้ด้วย

หลายปีมานี้ วัฒนธรรมจีนมีอิทธิพลไปยังประเทศต่าง ๆ ในวงกว้าง ขณะที่บรรยากาศของเทศกาลตรุษจีนก็ได้เผยแพร่ไปทั่วโลก บรรดาชาวจีนโพ้นทะเล  ชาวต่างชาติเชื้อสายจีน และนักศึกษาจีนในต่างประเทศ ต่างจัดกิจกรรมหลากหลายในช่วงเทศกาลตรุษจีน นอกจากนี้ หน่วยงานราชการของหลายประเทศยังให้ความสำคัญกับกิจกรรมเหล่านี้ ทำให้เทศกาลตรุษจีนจากที่เคยเป็นเทศกาลเฉพาะของจีน ปัจจุบันได้ กลายเป็นเทศกาลสากล ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ เช่น  เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฯลฯ ได้กำหนดเทศกาลตรุษจีนเป็นวันหยุดราชการ นอกจากนี้ ประเทศโลกตะวันตกหลายประเทศยังได้กำหนดเทศกาลตรุษจีนเป็นวันหยุดสาธารณะ หรือ มีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ วันนี้ จึงขอใช้โอกาสนี้กล่าวถึงบรรยากาศของเทศกาลตรุษจีนในต่างแดน โดยเริ่มต้นจากทวีปเอเชีย

เกาหลีใต้

图片默认标题_fororder_2

ประเทศเกาหลีใต้ เคยใช้อักษรจีนเป็นระยะเวลาหนึ่ง จึงได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนอย่างลึกซึ้ง เล่ากันว่า ประเทศเกาหลีใต้มีประเพณีการเฉลิมฉลองตรุษจีนในสมัยซิลลา (Silla Dynasty) ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์ถังของจีน ประเพณีต่าง ๆ การเฉลิมฉลองเทศกาลนี้จึงคล้ายคลึงกับประเทศจีน เช่น ในคืนส่งท้ายปีเก่า สมาชิกครอบครัวต้องทานอาหารค่ำพร้อมหน้าพร้อมตากัน เซ่นไหว้บรรพบุรุษ และกราบไหว้ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้าน เป็นต้น ส่วนผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านก็จะมีอั่งเปาให้ลูกหลาน แตกต่างจากประเทศจีนตรงที่ ซองอั่งเปาของชาวเกาหลีใต้เป็นสีขาว หรือ เรียกว่าเป็นถุงสิริมงคล ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ร้านค้าต่างปิดให้บริการ ประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางไปเยี่ยมญาติพี่น้องเพื่อนฝูง ในช่วงเทศกาล มีการประเพณีการให้ของฝาก โดยของฝากมักจะเป็นขนมหรือของกินประจำวันเป็นหลัก

ญี่ปุ่น

图片默认标题_fororder_3

ญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนอย่างลึกซึ้งยิ่ง ในสมัยโบราณ ญี่ปุ่นเคยประยุกต์ใช้ปฏิทินจันทรคติของจีน หลังการปฏิวัติเมจิ ในปี ค.ศ.1868  ญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนมาใช้ปฏิทินสุริยคติตามโลกตะวันตก แต่กลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลยังคงเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนตามปฏิทินจันทรคติของจีน โดยเฉพาะชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในเมืองโกเบ และโยโกฮามะ ยังมีการจัดกิจกรรมฉลองเทศกาลตรุษจีน จนเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะพิเศษของท้องถิ่น โดยเฉพาะกิจกรรมการฉลองเทศกาลตรุษจีนในเมืองนาโกย่านั้น นับเป็นกิจกรรมต้อนรับปีใหม่ที่มีขนาดใหญ่สุด และทรงอิทธิพลวงกว้างที่สุดในแวดวงชาวจีนโพ้นทะเลของญี่ปุ่น

เอเชียอาคเนย์

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะภูมิภาคที่มีชาวจีนโพ้นทะเลและชาวต่างชาติเชื้อสายจีนมากที่สุด จึงมีบรรยากาศเทศกาลตรุษจีนที่เข้มข้นและคึกคักมาก  ดังที่กล่าวมาข้างต้น ในประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย เป็นต้น ได้กำหนดเทศกาลตรุษจีนเป็นวันหยุดราชการ

ไทย

图片默认标题_fororder_4

สำหรับประเทศไทยแล้ว คนไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งแต่หลายร้อยปีก่อน การที่ชาวจีนเดินทางมาถึงดินแดนไทย เจริญการค้าตั้งถิ่นฐานในประเทศจนถึงทุกวันนี้ ไทยมีชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีนพำนักอยู่ในประเทศเป็นจำนวนมหาศาล และปรากฏเป็นชุมชนชาวจีนที่เรียกว่า China Town ในหลายพื้นที่ของประเทศ เช่น ในย่านเยาวราชและสำเพ็งในกรุงเทพฯ รวมไปถึงในตัวเมืองของจังหวัดใหญ่ เช่น นครสวรรค์ ขอนแก่น เชียงใหม่ หาดใหญ่ และภูเก็ต ก็ต่างมีย่านการค้าและที่อยู่อาศัยของชาวไทยเชื้อสายจีนอยู่ด้วย ระยะเวลาหลายร้อยปีมานี้ ขนบธรรมเนียมประเพณี และรูปแบบวิถีชีวิตของชาวจีนโพ้นทะเลในไทยรวมทั้งชาวไทยเชื้อสายจีน มีบทบาทต่อวัฒนธรรม วิถีการดำรงชีวิตของชาวไทยอย่างลึกซึ้ง ทำให้สังคมไทยถือเทศกาลตรุษจีนเป็นวาระสำคัญแห่งการรวมญาติมิตรลูกหลาน และเป็นวันเฉลิมฉลองของครอบครัวอีกวันหนึ่งด้วย เทศกาลตรุษจีนในปี ค.ศ.2020 นี้ จีน-ไทยได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรม  “เทศกาลตรุษจีนร่าเริงหรรษา” ติดต่อกันมาเป็นปีที่ 16  นอกจากนี้ ไทยยังเป็นประเทศในต่างแดนที่มีการจัดกิจกรรมดังกล่าวมาเป็นเวลายาวนานที่สุด ขนาดใหญ่ที่สุด และมีอิทธิพลในวงกว้างที่สุด

ทุกปี เมื่อถึงช่วงเทศกาลตรุษจีน สังคมไทยจะเปี่ยมไปด้วยบรรยากาศการเฉลิมฉลอง เทศกาลอันแสนคึกคัก ไม่ว่าห้างสรรพสินค้า ย่านการค้า หรือตลาดต่าง ๆ ล้วนพบเห็นสิ่งของต่าง ๆ ที่มีความเป็นจีนอย่างเต็มที่ เช่น โคมไฟสีแดง เชือกถักจีน กระดาษตัด ตัวอักษร “福” (ฝู) กลอนคู่ ภาพอวยพรตรุษจีน หรือ ที่เรียกว่า “เหนียนฮว่า” ประกอบกับเพลงเทศกาลตรุษจีน หากคนจีนไปเที่ยวไทยในช่วงเทศกาลตรุษจีน มักจะเกิดความรู้สึกว่า ตัวเองยังอยู่ในประเทศจีนอยู่

ปี ค.ศ.2020 เป็นวาระรอบ 45 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีน-ไทย เป็นปีที่มีความหมายสำคัญอย่างยิ่งต่อทั้งสองประเทศ ดังนั้น จีน-ไทยย่อมจะมีกิจกรรมเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่และหลากหลาย ตั้งแต่เทศกาลตรุษจีนเป็นต้นไป

เวียดนาม

เวียดนามเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ให้ความสำคัญกับเทศกาลตรุษจีนอย่างยิ่ง โดยเทศกาลตรุษจีนเป็นวาระสำคัญแห่งการรวมตัวกันของสมาชิกครอบครัวทุกคน ชาวเวียดนามจะทำการเซ่นไหว้บรรพบุรุษใน กราบไหว้ผู้ใหญ่ ขณะที่ผู้ใหญ่ก็จะแจกอั่งเปาแก่ลูกหลานเช่นเดียวกับชาวจีน กิจกรรมการละเล่นต่าง ๆ ก็มีความคล้ายคลึงกับชาวจีน  เช่น การติดกลอนคู่สองข้างประตูบ้าน การจุดประทัด การเชิดสิงโต แต่ก็มีความแตกต่างกับประเทศจีนอยู่บ้าง เช่น ชาวเวียดนามจะให้ความสำคัญกับบุคคลแรกที่มาเยี่ยมบ้าน ดังนั้น วันแรกของเทศกาลตรุษจีนในเวียดนาม หากไม่ได้รับเชิญ ชาวเวียดนามจะไม่ออกจากบ้าน ชาวจีนถือสีแดงเป็นสีสิริมงคล ส่วนชาวเวียดนามถือสีแดงและสีเหลืองเป็นสีสิริมงคล จึงนิยมใช้ทั้งสองสีมาตกแต่งบ้านให้เต็มไปด้วยบรรยากาศของเทศกาล นอกจากนี้แล้ว อาหารที่ไม่อาจขาดได้ในเทศกาลตรุษจีนสำหรับชาวเวียดนาม คือ บ๊ะจ่างสี่เหลี่ยม ที่มีไส้เป็นถั่วเขียวและหมูสามชั้น ซึ่งไม่เหมือนกับชาวจีนที่ต้องกินเกี๊ยวในวันตรุษจีน

สิงคโปร์

ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีประชาชนเชื้อสายจีนจำนวนมากไม่แพ้กัน ครองสัดส่วนถึง 80% ของประเทศ ดังนั้น เทศกาลตรุษจีนในประเทศสิงคโปร์จึงเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปี เวลาไปเยี่ยมญาติมิตร ชาวสิงคโปร์จะต้องมอบของฝากอย่างหนึ่ง  นั่นก็คือ ส้มที่ห่อด้วยถุงสวยงาม เนื่องจากชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่พูดภาษากวางตุ้ง คำว่า  “柑” (กัน หมายถึง ส้ม) กับคำว่า “金” (จิน หมายถึง ทองคำ) ออกเสียงคล้ายกันในภาษากวางตุ้ง ดังนั้น ส้มจึงมีความหมายสื่อถึงความร่ำรวย มั่งคั่ง และเป็นของสิริมงคลในสายตาของชาวสิงคโปร์

(Tim/Zi)

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face

Not Found!(404)