จีนเตรียมพร้อมจะส่งยานอวกาศสำรวจดาวอังคาร

图片默认标题_fororder_火星1

#ดาวอังคาร จีนเตรียมส่งยานสำรวจดาวอังคารพร้อมแล้ว  และจะมีการยิงส่ง "เทียนเวิ่น-1"(天问一号) ยานสำรวจดาวอังคารลำแรกของจีนในวันที่ 23 กรกฎาคมที่จะมาถึงนี้ เป้าหมายของจีนคือให้ยานสำรวจโคจรตามวงโคจรของดาวอังคาร ลงจอดที่พื้นผิวพร้อมทั้งสำรวจทางวิทยาศาสตร์ โดยขณะนี้การประกอบจรวดฉางเจิง-5 (ชาวจีนตั้งชื่อเล่นว่า “胖五”)ที่จะใช้ในการยิงส่งยานอวกาศ “เทียนเวิ่น-1” ได้เสร็จสิ้นและถูกขนส่งไปยังศูนย์ส่งยานอวกาศแล้ว

เนื่องจากโลกกับดาวอังคารมีระยะเวลาในการหมุนไม่เท่ากัน  1 ปีดาวอังคารคือ 687 วัน  โดยใน 26 เดือนจะมีครั้งเดียวที่ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้โลกมากที่สุดเพียง 62.07 ล้านกิโลเมตร และเดือนตุลาคมปีนี้ก็เป็นช่วงที่ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกมากที่สุด  ระหว่างนี้จึงเป็นช่วงที่เหมาะที่สุดกับการส่งยานสำรวจดาวอังคารเพื่อลดเวลาการเดินทาง ประหยัดเชื้อเพลิง ประหยัดต้นทุน   

图片默认标题_fororder_火星2

วานนี้(20 กรกฎาคม 2020)ที่ศูนย์อวกาศทาเนกะชิมะ  จังหวัดคาโกชิมะ ทางใต้ของญี่ปุ่น       สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้มอบให้บริษัทญี่ปุ่นส่งยานอวกาศอัล-อามาล(Al-Amal)ที่แปลว่าความหวัง(Hope)ด้วยจรวดขนส่งH2-A เพื่อสำรวจดาวอังคาร  นับเป็นยานสำรวจดาวอังคารลำแรกของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตัวยานมีขนาดพอๆกับรถเก๋งคันหนึ่ง ยาว 2.9 เมตร กว้าง 2.37 เมตร เชื้อเพลิงหนัก 1.5 ตัน เดินทาง 500 ล้านกิโลเมตรคาดว่าจะใช้เวลา 7 เดือน เพื่อเข้าสู่วงโคจรดาวอังคารในช่วงต้นปีหน้า ยานลำนี้จะไม่ลงจอดบนดาวอังคารเหมือนยานสำรวจของชาติอื่น แต่จะอยู่ในวงโคจรดาวอังคารเป็นเวลา 1ปีดาวอังคารเพื่อภารกิจในการศึกษาบรรยากาศของดาวอังคารอย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรกโดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงอย่างละเอียดทุกวันและทุกฤดูกาล  หากยานอวกาศลำนี้สามรถเข้าสู่วงโคจรดาวอังคารได้สำเร็จ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็จะเป็นประเทศที่5 ของโลกที่ส่งยานสำรวจดาวอังคารต่อจากสหรัฐอเมริกา รัสเซีย กรมการบินยุโรปและอินเดีย

นอกจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และจีนแล้ว กรมการบินอวกาศสหรัฐอเมริกาก็มีกำหนดส่งยานสำรวจดาวอังคารในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้โดยจะมีการส่งเฮลิคอปเตอร์สำรวจดาวอังคารลำแรกไปพร้อมกันด้วย มีเป้าหมายสำรวจสิ่งมีชีวิตและความเป็นไปได้ในการที่จะส่งมนุษย์ไปเหยียบพื้นผิวดาวอังคาร ขณะที่กรมการบินอวกาศยุโรปและกรมการบินอวกาศรัสเซียก็มีโครงการร่วมกันในการส่งยานสำรวจดาวอังคาร ทว่าได้เลื่อนเวลาการส่งออกไปเป็นฤดูใบไม้ร่วงปี2022 เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

#วิทยาศาสตร์ #เทคโนโลยี #สำรวจอวกาศ #ดาวอังคาร #ญี่ปุ่น #สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ #ยุโรป #จีน #สหรัฐอเมริกา #火星 #天问一号

图片默认标题_fororder_火星3

หากชื่นชอบบทความดังกล่าว อย่าลืมกดไลก์ กดติดตาม และแชร์กับเพื่อน ๆ ค่ะ  ติดตามเนื้อหาสาระล่าสุดที่เฟสบุ๊ค เพจ “ลึกชัดกับผิงผิง” อัปเดตทุกวันค่ะ

https://www.facebook.com/doubleping.china/

 

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face

Not Found!(404)