บทวิเคราะห์: จีนสำรวจดาวอังคารเพื่อเกื้อกูลมนุษยชาติ

บทวิเคราะห์: จีนสำรวจดาวอังคารเพื่อเกื้อกูลมนุษยชาติ_fororder_2222

วันที่ 23 กรกฎาคม จีนประสบความสำเร็จในการปล่อยยานสำรวจดาวอังคาร “เทียนเวิ่น-1” ซึ่งเป็นยานสำรวจดาวอังคารยานลำแรกของจีน ถือเป็นก้าวแรกในการสำรวจดาวเคราะห์ ก่อนหน้านี้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังได้ส่งยานสำรวจอวกาศ Hope เพื่อสำรวจดาวอังคารจากศูนย์อวกาศทาเนะงะชิมะของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา ส่วนสหรัฐฯ มีแผนจะส่งยานสำรวจดาวอังคาร Perseverance ในวันที่ 30  กรกฎาคมนี้ ทั้งหมดนี้เป็นปฏิบัติการสำรวจดาวอังคารของมนุษยชาติ 3 ภารกิจในปี 2020

เอกลักษณ์ของโครงการสำรวจดาวอังคารของจีน คือ ยานสำรวจของจีนจะปฏิบัติภารกิจโคจรรอบดาวอังคาร ลงจอดบนพื้นผิว และสำรวจดาวอังคาร รวมไปถึงเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับดาวอังคารภายในปฏิบัติการณ์ครั้งเดียว

บทวิเคราะห์: จีนสำรวจดาวอังคารเพื่อเกื้อกูลมนุษยชาติ_fororder___172.100.100.3_temp_9500031_1_9500031_1_1_f418b681-a0a8-4c97-a4b2-bc7bd6883c9a_副本

การสำรวจครั้งนี้ ยานสำรวจดาวอังคาร “เทียนเวิ่น-1” มีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ โคจรรอบดาวอังคาร ลงจอดบนพื้นผิว และตระเวนสำรวจดาวอังคาร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโครงการสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ โครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์ โครงการดาวเทียมนำร่องเป่ยโต่ว  และวิศวกรรมระบบการบินอวกาศของจีน ได้ปูพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการสำรวจดาวอังคาร

จีนดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการบินอวกาศชั้นนอกตามหลักการความเสมอภาค การอำนวยประโยชน์แก่กัน การใช้ประโยชน์อย่างสันติ และพัฒนาอย่างครอบคลุม ภายในยานสำรวจดาวอังคารเทียนเวิ่น-1 มีอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์จากองค์การอวกาศยุโรป ศูนย์วิจัยการบินอวกาศแห่งชาติฝรั่งเศส และสำนักงานส่งเสริมการวิจัยแห่งออสเตรีย เป็นต้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจสนามแม่เหล็กและดินบนดาวอังคาร นอกจากนี้ ด้านการติดต่อสื่อสารในอวกาศชั้นนอก จีนยังได้รับความช่วยเหลือจากอาร์เจนตินาด้วย(Tim/Zhou)

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face

Not Found!(404)