ซอกาวหู : เครื่องดนตรีชิ้นเอกในวงดนตรีอุปรากรจีน

ซอกาวหู : เครื่องดนตรีชิ้นเอกในวงดนตรีอุปรากรจีน_fororder_20210114

ซอกาวหู高胡 (Gāohú ) วิวัฒนาการมาจากซอเอ้อหู เกิดขึ้นในช่วงปีที่ 20 ของศตวรรษที่ 20  เป็นเครื่องดนตรีเอกชิ้นหนึ่งของมณฑลกวางตุ้ง  

ซอกาวหู หมายถึง ซอเสียงสูง เป็นชื่อเรียกที่ย่อมาจาก กาวอินเอ้อหู (高音二胡 ”ซอสองสายเสียงสูง”) ซึ่งเป็นซอที่นิยมแพร่หลายแถบมณฑลกวางตุ้ง  ชาวกวางตุ้งเรียกซอชนิดนี้ว่า ซอเอ้อหู หรือ ซอสองสาย(二胡,二弦)  กระบอกซอเล็กกว่าซอเอ้อหู  ตั้งสายเสียงสูงกว่า 4 – 5 ช่วงเสียง จึงเรียกว่า ซอเสียงสูง  ซอกาวหูมีเสียงดังกังวานใส  เล็กแหลม  แสดงอารมณ์ได้หลากหลาย  จัดเป็นเครื่องสีกลุ่มเสียงสูง ในวงดนตรีจีน ใช้บรรเลงเดี่ยว บรรเลงประสม และบรรเลงประกอบการแสดงอุปรากร และการระบำพื้นเมืองต่างๆ

ในสมัยก่อน วงดนตรีของกวางตุ้งประกอบด้วย ซอสองสาย ซอใหญ่ พิณวงเดือน และขลุ่ยผิว  เรียกชื่อว่า วงเครื่องห้า  มีเครื่องดนตรีหลักคือ ซอสองสาย  ด้วยเหตุที่สายซอมีขนาดใหญ่ คันชักแข็ง  ทำให้เสียงซอมีเสียงสูง ดังก้อง กระหึ่ม  จึงมักเรียกวงดนตรีพื้นเมืองนี้ว่า “วงคันชักแข็ง” (硬弓乐队)    

ในช่วงปีที่ 20 ของศตวรรษที่ 20  ซอกาวหูวิวัฒนาการขึ้นมาจากซอเอ้อหู เปลี่ยนสายเป็นสายลวด ขึ้นสายเสียงสูงกว่าเดิม  เวลาสีใช้ขาทั้งสองข้างหนีบกระบอกซอไว้กลางขา  ซอชนิดใหม่นี้มีเสียงใส กังวาน สูง  ใช้บรรเลงร่วมกับขิม พิณฉิน เกิดวงพื้นเมืองใหม่ขึ้น เรียกชื่อว่า “วงคันชักอ่อน” ( 软弓乐队)

ส่วนประกอบของกาวหู

ส่วนประกอบของกาวหูคล้ายคลึงกับซอเอ้อหู  แต่กาวหูมีขนาดเล็กกว่า กระบอกซอเป็นทรงกระบอกกลม ยาว 13 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8.6 เซนติเมตร ปลายกระบอกเปิดโล่ง สายนอกใช้สายลวดขนาดเล็ก  สายในใช้สายไหม

ช่วงปี 70 ศตวรรษที่ 20 มีการประดิษฐ์กระบอกเป็นทรงกลมแบน โดยเลียนแบบรูปทรงของเครื่องขยายเสียงที่มีลักษณะเป็นวงรี  ทำให้ได้เสียงที่ดังขึ้น  กระบอกซอชนิดนี้มีความยาว 14.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางหน้ากระบอกซอ 10.3 เซนติเมตร ด้านใน 7 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางปลายกระบอก 11.3 เซนติเมตร ด้านใน 7.8 เซนติเมตร การขึงหน้ากระบอกซอเปลี่ยนเป็นขึงแบบตามขวาง  เพิ่มขนาดสายซอให้ใหญ่ขึ้น คันทวนเปลี่ยนจากด้ามกลมเป็นด้ามแบน ใช้บรรเลงร่วมกับซอเอ้อหูด้ามแบนซึ่งประดิษฐ์ขึ้นใหม่พร้อมกัน  ได้เสียงที่กลมกลืนสอดคล้องกัน  เรียกชื่อว่าซอกาวหูกระบอกแปดเหลี่ยม  เป็นที่ชื่นชอบของนักดนตรีพื้นเมืองทั่วไป

ปี 70 มีการประดิษฐ์ซอกาวหูสามสายขึ้น กระบอกซอแบน ทั้งหน้าและหลังเป็นรูปแปดเหลี่ยม ภายในกระบอกซอบรรจุลิ้นปี่ มีฝาปิดกระบอก ตั้งเสียงต่ำลง 5 ระดับ มีวิธีบรรเลงไม่ยาก ใช้บรรเลงประสานเสียงกับกาวหู

คุณภาพของซอกาวหูที่ดีคือ เสียงในทุกช่วงเสียง มีระดับเสียงสูง  ความดังคงที่สม่ำเสมอ  และส่งเสียงดังได้ไกล

เพลงเอกของกาวหู เพลงเอกของกาวหู เช่น  ซวงเซิงเฮิ่น 《双声恨》(พิโรธรำพัน) เจาจวินย่วน 《昭君怨》(เจาจวินรำพัน)   เหลียนหวนโค่ว 《连环扣》(คล้องห่วง)   เสี่ยวเถาหง 《小桃红》(ลูกท้อแดง)   เป็นต้น

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face
404 Not Found

404 Not Found


nginx/1.26.1