บทวิเคราะห์: “จน-รวยนิรันดร์” วังวนที่ก้าวไม่ออกของสหรัฐฯ

สถิติล่าสุดจากสำนักงานแรงงานสหรัฐฯ  ระบุว่า ช่วงสัปดาห์แรกของปี 2021 นับจนถึงวันที่ 9 มกราคม จำนวนผู้ยื่นขอความช่วยเหลือจากการว่างงานเป็นครั้งแรกในสหรัฐฯ มีมากถึง 965,000 ราย ถือเป็นสถิติสูงสุดใหม่หลังจากเดือนสิงหาคม 2020 ก่อนหน้านี้ตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนผู้ยื่นขอความช่วยเหลือจากการว่างงานอยู่ที่ราว 700,000 - 900,000 ราย ซึ่งอยู่ในระดับสูงมากเมื่อเทียบกับราวสัปดาห์ละ 200,000 ราย ในช่วงก่อนโควิด-19

สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า จนถึงช่วงกลางเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ทรัพย์สินของมหาเศรษฐีระดับร้อยล้านในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 3.88 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 931,000 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมที่แล้ว

ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ความแตกต่างระหว่างคนรวย-คนจน ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังของสหรัฐฯ ส่อเค้าชัดเจนมากขึ้น บรรดามหาเศรษฐีเป็นคนกลุ่มแรกที่เข้ารับการตรวจโควิด-19 และแซงคิวฉีดวัคซีนป้องกัน ส่วนคนจนนับวันยิ่งมีจำนวนมากขึ้น ไม่มีอันจะกิน และมีปัญหาเรื่องค่ารักษาพยาบาล การฉีกขาดของสังคมอเมริกันกำลังเร่งฝีก้าวเร็วขึ้น

บรรดานักการเมืองสหรัฐฯ มักกล่าวติดปากว่า “ความเสมอภาคเทียมเทียม” และ “ความเป็นธรรม” เป็นความเหนือกว่าของระบบสหรัฐฯ ทว่า ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวย-คนจนที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในสหรัฐฯ กลับเตือนพวกเขาว่า ความขัดแย้งที่หยั่งรากลึกของระบบทุนนิยมไม่มีทางจะปิดบังได้ ทั้งนี้ มีนักวิชาการอังกฤษชี้ว่า ต้นเหตุที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวย-คนจนทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในสหรัฐฯ มาจากนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่รัฐบาลดำเนินมาตลอด กล่าวคือ การยึดหลักความเป็นเอกชนและระบบตลาด เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคนรวย

กล่าวได้ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ กลายเป็นพรีเซ็นเตอร์ของมหาเศรษฐี ขณะที่ไม่มีเวลาว่างพอดูแลคนจนหลายสิบล้านคนอย่างทั่วถึง กระทั่งฉุดชาวอเมริกันตกเหวแห่งความยากจนสุดขีดมากขึ้นเรื่อย ๆ

“คนรวยจะรวยนิรันดร์ ส่วนคนจนจะยากจนนิรันดร์” กลายเป็นวังวนที่สหรัฐฯ ก้าวไม่ออกเสียแล้ว ทำให้สิ่งที่เรียกว่า “แบบอย่างประชาธิปไตย” กลายเป็นเรื่องตลกที่น่าเศร้าสลดยิ่ง

(TIM/LING/CAI)

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face
404 Not Found

404 Not Found


nginx