นักวิชาการไทยชี้ความได้เปรียบของระบบทำให้จีนแก้ไขปัญหายากจนได้ราวปาฏิหาริย์

2021-02-21 11:52CRI

นักวิชาการไทยชี้ความได้เปรียบของระบบทำให้จีนแก้ไขปัญหายากจนได้ราวปาฏิหาริย์_fororder_1

ปี 2020 จีนเสร็จสิ้นการปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมระยะ 5 ปี ฉบับ 13 ด้วยความสำเร็จและได้บรรลุเป้าหมายการขจัดความยากจนตามกำหนดเวลา   ในเรื่องนี้ พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน กล่าวว่า ความสำเร็จของจีนในการสร้างสังคมพอกินพอใช้อย่างรอบด้านและการขจัดความยากจนนั้นได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ความได้เปรียบของระบบบริหารทำให้จีนสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างเป็นปาฏิหาริย์

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีนให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางจีน (CMG) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดให้ภารกิจการแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นภารกิจหลักในการปกครองและบริหารประเทศ ได้ทำสงครามขจัดความยากจนที่มีขนาดใหญ่สุด และทุ่มเทกำลังมากที่สุดในประวัติของมวลมนุษยชาติ การต่อสู้อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปีจีนได้บรรลุเป้าหมายขจัดความยากจนตามกำหนด ประชากรทุกคนในชนบทหลุดพ้นจากภาวะความยากจน ปัจจุบันอำเภอยากจนทุกแห่งถูกลบชื่อออกจากบัญชีพื้นที่ยากจนตามมาตรฐาน  ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของจีนในการแก้ไขปัญหาความยากจนนั้นเกิดจากการนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน กล่าวว่า: “จีนระดมกำลังจากทุกฝ่าย ใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม การที่จีนสามารถปฏิบัติตามนโยบายขจัดความยากจนอย่างจริงจังและได้ผลเกิดจากระบบการบริการและการบริหารจัดการที่ถูกต้อง ซึ่งความจริงในข้อนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า ข้าราชการมีส่วนแก้ไขปัญหาความยากจนของจีนให้ประสบความสำเร็จอย่างมาก สร้างสิ่งมหัศจรรย์ในประวัติศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนของมนุษยชาติ  ตลอดเวลากว่า 40 ปีที่จีนดำเนินการปฏิรูป เปิดประเทศ ทำให้ประชากรหลายร้อยล้านคนหลุดพ้นจากภาวะความยากจน  ซึ่งเท่ากับ 70% ของประชากรทั่วโลกได้บรรลุเป้าขจัดความยากจนก่อนปี 2030 ที่สหประชาชาติกำหนดไว้ล่วงหน้าถึง 10 ปี”

สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้สรุปจุดเด่นในการแก้ไขปัญหาความยากจนของจีนว่า “ใช้วิธีการตามสภาพแต่ละท้องที่และทุ่มเทกำลังอย่างตรงจุด”  จีนได้กำหนดนโยบายช่วยเหลือคนจนอย่างตรงจุดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และให้มีความถูกต้องใน 6 ด้าน ได้แก่ การกำหนดเป้าที่จะรับความช่วยเหลือ การจัดทำโครงการช่วยเหลือคนจน การใช้จ่ายเงินทุนช่วยเหลือคนจน การใช้มาตรการช่วยเหลือครอบครัวคนจน การจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่หมู่บ้าน และประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาความยากจน

พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง กล่าวว่า มีความประทับใจอย่างลึกซึ้งต่อความถูกต้อง 6 ด้านดังกล่าว เพราะเป็นการอธิบายนโยบายช่วยเหลือคนจนอย่างตรงจุดได้ดีมาก โดยกล่าวว่า:

“สำหรับเรื่องการช่วยเหลือพื้นที่ยากจนต้องตรงเป้ามาก ผมเคยได้รับเชิญจากฝ่ายจีนลงพื้นที่มณฑลกุ้ยโจวของจีน ที่หมู่บ้านเหยีนโป๋ เมืองผันโจว ผมชิมเหล้าขาวที่ชื่อ “เหรินหมินเซียวจิ่ว” แล้วก็ได้ฟังชาวบ้านท้องถิ่นเล่าเรื่องการเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้านยากจนแห่งนี้ ผู้บริหารหมู่บ้านสนับสนุนให้ชาวบ้านร่วมกันเข้าหุ้น ก่อตั้งบริษัท ผลิตเหล้าขาวให้กลายเป็นสินค้าขายดี จนมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก จีนยังมีหมู่บ้านแบบนี้เป็นหมื่นๆ แห่ง.ภายใต้การชี้นำของผู้บริหารท้องถิ่น หมู่บ้านเหล่านี้อาศัยจุดเด่นและศักยภาพของตัวเองทำให้หลุดพ้นจากความยากจน ยกตัวอย่างเช่น เห็ดหูหนูดำของหมู่บ้านจ้าสุ่ย มณฑลส่านซี ดอกไม้จีนของเมืองต้าถง มณฑลซานซี มันฝรั่งของเมืองเต๋อเซิ่ง มณฑลเหอเป่ย เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งพิสูจน์ความสำเร็จของภารกิจแก้ไขความยากจนของ”

เขากล่าวต่ออีกว่า ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากกำลังเผชิญกับปัญหาความยากจน  เขาเคยเดินทางไปดูงานที่จีนหลายครั้ง ได้เห็นกับตาว่าประชาชนในหลายพื้นที่ของจีนหลุดพ้นจากภาวะความยากจน และเริ่มมีชีวิตที่มั่งคั่ง เขารู้สึกซาบซึ้งใจมาก เขาเล่าว่า :

“ทั่วประเทศจีนร่วมแรงร่วมใจกันมุ่งสู่เป้าหมายที่ชัดเจน ตั้งแต่รัฐบาลกลางไปจนถึงหมู่บ้านที่ไกลปืนเที่ยง มีการติดต่อประสานงานด้วยประสิทธิภาพสูงและปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิผล  ผมเคยไปประเทศจีนมากกว่า 15 ครั้ง ได้เห็นด้วยตาของผมเองว่า จีนได้ใช้วิธีการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างไร ถือเป็นความร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วน จริงๆ ผมซาบซึ้งกับปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นกับประชาชนจีน”.

พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง ยังกล่าวว่า จีนเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประชากรคิดเป็นประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรโลก ความสำเร็จของจีนในการแก้ไขปัญหาความยากจนจึงมีคุณค่าที่สำคัญต่อภารกิจการบรรเทาความยากจนของโลก

“ภารกิจขจัดความยากจนจะขาดความเป็นมืออาชีพไม่ได้ ประสบการณ์การแก้ไขความยากจนของจีนจึงควรจะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประเทศกำลังพัฒนาทุกประเทศทั่วโลก. .รวมทั้งประเทศไทยด้วย ต่อไปประเทศไทยและประเทศจีนนอกจากจะดำเนินความร่วมมือทางภาครัฐในการแก้ไขปัญหาความยากจนแล้ว. ยังต้องเพิ่มความร่วมมือภาคเอกชน ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีนจะร่วมมือกับสถาบันคลังปัญญา มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ ของจีนให้มากขึ้น เราจะพยายามผลักดันภารกิจแก้ปัญหาความยากจนของทั้งสองประเทศ”

(bo/cai)

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face
404 Not Found

404 Not Found


nginx/1.26.1