ไบเดนเตรียมตั้ง "นิโคลัส เบิร์นส" เป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำจีน

ไบเดนเตรียมตั้ง "นิโคลัส เบิร์นส" เป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำจีน_fororder_美国大使_副本

หลังจากนายเทอร์รี่ แบรนสตัด (Terry Branstad) อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำจีนลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ปี 2020 เป็นต้นมา ตำแหน่งนี้ว่างอยู่กว่า 10 เดือนแล้ว

จนถึงวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เสนอชื่อนายนิโคลัส เบิร์นส์ (Nicholas Burns) เป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำจีนอย่างเป็นทางการ

นายนิโคลัส เบิร์นส์ อายุ 65 ปี ปัจจุบันเป็นศาสตรจารย์ด้านการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สถาบันรัฐบาลเคนเนดี้ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก่อนหน้านี้ เขาเป็นเจ้าหน้าที่ทางการทูตเป็นเวลา 27 ปี เริ่มตั้งแต่รัฐบาลเรแกนถึงรัฐบาลจอร์จดับเบิ้ลยูบุช ทั้งหมด 4 สมัย ฝากรอยเท้าไปทั่วแอฟริกา ตะวันออกกลาง และยุโรป เมื่อมองจากอดีตที่ผ่านมาของนายนิโคลัส เบิร์นส์จะเห็นได้ชัดว่า การเข้าร่วมการเจรจาทางการทูตอย่างลึกซึ้งเป็นงานประจำของเขา อย่างเช่น การลดกำลังรบทางนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐฯกับอดีตโซเวียต การเจรจานิวเคลียร์ทางพลเรือนระหว่างสหรัฐฯกับอินเดีย ตลอดจนการเจรจาปัญหานิวเคลียร์อิหร่าน เป็นต้น วิทยุ"เสียงของอเมริกา"มีคำประเมินว่า ประสบการณ์การเจรจาเหล่านี้ทำให้นายนิโคลัส เบิร์นส์ ชินกับความยากลำบากด้านกิจการการทูต ทั้งฝึกให้เขามีเจตจำนงที่แข็งแกร่ง

ถ้าหากการเสนอชื่อนายนิโคลัส เบิร์นส์ จากนายโจ ไบเดนได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาสหรัฐฯ สิ่งที่น่าจับตาต่อไป คือ นโยบายและจุดยืนต่อจีนของนายนิโคลัส เบิร์นส์

ก่อนหน้านี้ นายนิโคลัส เบิร์นส์ ก็เคยแสดงท่าทีที่เกี่ยวข้องกับจีน ขณะที่เน้นการแข่งขันในความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เขาก็ได้แสดงท่าทีที่ยินดีดำเนินความร่วมมือกับจีนด้วย เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เขาได้ให้สัมภาษณ์ซีเอ็นเอ็นว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เป็นเรื่องท้าทายที่สำคัญที่สุดสำหรับสหรัฐฯ ปัจจุบัน สองฝ่ายกำลังอยู่ในสภาพการแข่งขันอย่างรุนแรง” เขาเสนอให้จัดตั้งกลุ่มพันธมิตรที่รวมญี่ปุ่น นาโต้ ออสเตรเลีย แคนาดา เกาหลีใต้และสหภาพยุโรป เพื่อบีบจีนในปัญหากฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ  

นายนิโคลัส เบิร์นส์เห็นว่า การแข่งขันแบบนี้จะดำเนินการอย่างจำกัด โดยเดือนมกราคมที่ผ่านมา เขาได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์รายวัน Handelsblatt ของเยอรมนีว่า สำหรับสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่นและอินเดีย การตัดความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจจีนนั้น คงไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง เขาเห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกับจีนในบางอย่าง อาทิ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการต้านโควิด-19 เป็นต้น

สิ่งที่น่าสังเกตคือ เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ นายนิโคลัส เบิร์นส์ เคยให้สัมภาษณ์ The World สื่อสหรัฐฯ โดยมีการบรรยายเนื้อหาสำคัญของนโยบายต่อจีนของสหรัฐฯ ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆกับจุดยืนที่เคยกล่าวขณะให้สัมภาษณ์ซีเอ็นเอ็น โดยนายนิโคลัส เบิร์นส์เห็นว่า ก่อนอื่น สหรัฐฯ ควรบีบจีนทางการค้า ขณะเดียวกัน เขายังเน้นว่า ควรคุ้มครองพันธมิตรในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก รักษาระบบเปิดเสรีในเขตเหล่านี้ นอกจากนั้น เขายังได้เห็นถึงความแตกต่างกันและการแข่งขันกันด้านระบอบการเมืองและค่านิยมระหว่างจีนกับสหรัฐฯ แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐจะมีความท้าทายยิ่งก็ตาม แต่ควรดำเนินความร่วมมือกับจีนที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐ

(Yim/Lin/Lei)

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face
404 Not Found

404 Not Found


nginx