เส้นทางสู่งานกีฬาพาราลิมปิก

วัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมการแข่งขันของงานกีฬาพาราลิมปิกของบรรดานักกีฬาผู้พิการจีนไม่เพียงแต่เพื่อได้รับเหรียญรางวัลเท่านั้น แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือ เพื่อพิชิตตนเองและพัฒนาก้าวหน้า

เส้นทางสู่งานกีฬาพาราลิมปิก

เป็นครั้งที่ 5 ที่นายจาง เหยียน นักกีฬาปิงปองวัย 54 ปี เข้าร่วมกีฬาพาราลิมปิก ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ปิงปองประเภททีมชาย เขากับเพื่อนร่วมทีมเอาชนะทีมเกาหลีใต้คว้าเหรียญทองมาครองได้สำเร็จ หลังการแข่งขัน เขาระบุว่า “ตอนวัยหนุ่ม ผมคิดแต่เรื่องเดียว นั่นก็คือคว้าเหรียญทองมาครอง แต่ปัจจุบันผมให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอนตลอดการแข่งขันมากกว่า เพลิดเพลินกับความมั่นใจและความสุขที่ได้มาจากการแข่งขันปิงปองมากกว่า”

นางสาวหลี่ ลู่ วัย 27 ปี จากครอบครัวเกษตรกรมณฑลเหอหนัน ครั้งหนึ่งในวัย 4 ขวบ เธอเล่นกับเพื่อน ๆ แต่เผลอไปโดนหม้อแปลงไฟฟ้าในโรงงานเผาเครื่องเคลือบของหมู่บ้าน เป็นเหตุให้เธอต้องสูญเสียแขนซ้ายและกลายเป็นเด็กพิการ อย่างไรก็ตาม หลี่ ลู่ชอบวิ่ง ถึงแม้แขนมีความพิการ แต่เธอก็วิ่งเร็วกว่าเด็กคนอื่น ๆ ขณะเรียนชั้น ป.6 เธอได้รับคัดเลือกเป็นนักกีฬาวิ่งระยะสั้น นับแต่นั้นมาการวิ่งช่วยให้เด็กหญิงชนบทคนนี้มีโอกาสสัมผัสโลกภายนอก เธอเป็นแชมป์เอเชียและแชมป์โลก ทั้งยังได้เหรียญทองจากกีฬาพาราลิมปิกริโอเดอจาเนโร ปี 2016 ในการแข่งขันวิ่งพลัด 400 เมตรหญิง ระดับ T47 ของงานกีฬาพาราลิมปิกครั้งนี้ เธอได้อันดับ 4

เส้นทางสู่งานกีฬาพาราลิมปิก

นายเหลียง กุ้ยหวา นักกีฬาปั่นจักรยาน วัย 37 ปี เจ้าของเหรียญทองแดงพาราลิมปิกโตเกียวครั้งนี้ ถือเป็นเหรียญรางวัลที่ 5 จากพาราลิมปิก 3 ครั้งที่ผ่านมา อุบัติเหตุครั้งหนึ่งในวัยเด็กทำให้นายเหลียง กุ้ยหวาสูญเสียขาข้างหนึ่ง แต่เขาก็ไม่ยอมจำนนต่อชะตากรรม โดยมุ่งมั่นอยู่ร่วมกับร่างกายที่พิการ เขาเลือกฝึกปั่นจักรยานด้วยขาข้างเดียว และสร้างผลงานด้วยความเร็วในการปั่นจักรยาน เพื่อให้ผู้คนทั้งหลายเปลี่ยนมุมมองต่อผู้พิการ เขากล่าวว่า แม้ผมมีขาเพียงข้างเดียว แต่ผมเหมือนกับคนสมบูรณ์ที่สามารถยืนขึ้นอย่างมั่นคงและเข้มแข็ง

สำหรับบรรดานักกีฬาผู้พิการ การเล่นกีฬาไม่เพียงแต่เสริมกำลังใจในการมีชีวิตเท่านั้น หากยังช่วยให้พวกเขามีความมั่นใจและศักดิ์ศรีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face

Not Found!(404)