RCEP จะมีอิทธิพลอย่างไรกับชีวิตคุณ

RCEP จะมีอิทธิพลอย่างไรกับชีวิตคุณ

วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว ความตกลง RCEP นับเป็นความตกลงการค้าเสรี (FTA) ฉบับที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 10 ประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีประชากรรวมกัน 2,300 ล้านคน (30.2% ของประชากรโลก) GDP รวมมูลค่า 28.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (33.6% ของ GDP โลก) และมูลค่าการค้ารวม 10.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.3% ของมูลค่าการค้าของโลก) ซึ่ง RCEP จะนำมาซึ่งผลประโยชน์กับหลายวงการทีเดียว เช่น ผลิตผลการเกษตร ผลิตผลชลประทาน ผลิตผลอุตสาหกรรม การบริการ การรักษาพยาบาลและการก่อสร้างต่างๆ สำหรับประเทศไทยแล้ว การลงนาม RCEP นั้น จะมีความหมายอย่างไร เรามาติดตามกันค่ะ

1.ขยายตลาดให้กว้างขึ้น

ช่วง 30ปีมาแล้ว ไทยแสดงบทบาทศูนย์กลางอุตสาหกรรมการแปรรูปของอาเซียนมาโดยตลอด อุตสาหกรรมภาคการผลิตของไทย โดยเฉพาะด้านการผลิตรถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์เคมีเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีข้อได้เปรียบ ในบรรดาสมาชิกผู้ลงนาม RCEP ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของไทยค่อนข้างต่ำ และไทยมีความได้เปรียบด้านห่วงโซ่อุปทาน การร่วม RCEP จึงมีส่วนช่วยต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปของไทย นักวิจัยบางคนเห็นว่า ภายใต้กรอบอาเซียน ประเทศต่าง ๆ ผลิตสินค้าคล้ายกัน มีทรัพยากรธรรมชาติและโครงสร้างการบริการที่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น นอกจากอาเซียนแล้ว ไทยต้องการตลาดที่กว้างขึ้น RCEP จึงเป็นโอกาสให้ไทยและประเทศอาเซียนอื่นๆ ขยายตลาดให้กว้างขึ้นอีก ปี 2019 ยอดมูลค่าการค้าระหว่างประเทศผู้ลงนาม RCEP เป็น 56.9% ของยอดการส่งออกของไทย ฉะนั้น RCEP จะช่วยให้การค้าของไทยเติบโตอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการค้าด้านรถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์เคมี

2.ดึงดูดทุนต่างชาติ

กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่ไทยบังคับใช้อยู่นั้น มีข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวกับการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจในไทย เมื่อลงนาม RCEP แล้ว ไทยได้ใช้มาตรการพิเศษหลายอย่างเพื่อสร้างความสะดวกให้คนต่างชาติลงทุนในไทย นอกจากนี้ การนำเข้าส่งออกวัตถุดิบการผลิต ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปและสำเร็จรูปนั้น มีความอิสระมากขึ้น โดยไม่ต้องห่วงเรื่องภาษีเลย ทุนต่างชาติที่ประกอบธุรกิจด้านการผลิตในไทยจะลดต้นทุนอย่างมาก นอกจากนี้ สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานของไทยค่อนข้างสมบูรณ์ เครือข่ายขนส่งทางน้ำ บกและอากาศมีความพร้อม เนื่องด้วยนโยบายส่งเสริมการลงทุน ห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่ครบครัน และวัตถุดิบที่หลากหลาย ดัชนีการประกอบธุรกิจของไทยจัดอยู่อันดับ 21 ของโลก เป็นสถานีสำคัญยิ่งสำหรับทุนต่างชาติที่เข้ามาในตลาดอาเซียน

3.ประกันให้ธุรกิจขนาดกลางและย่อมของไทยพัฒนาอย่างมั่นคง

สถิติพบว่า จนถึงปี 2020 ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมเกิน 3 ล้านแห่ง เป็น 99.8% ของวิสาหกิจไทย และมูลค่าเศรษฐกิจที่วิสาหกิจขนาดกลางและย่อมสร้างขึ้นนั้นเป็นสัดส่วนมากกว่า 45% ของจีดีพีไทย ซึ่งแสดงบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย

สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ กฎกติกาเกี่ยวกับการค้าสินค้าของ RCEP มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ซึ่งจะช่วยให้วิสาหกิจขนาดกลางและย่อมสามารถลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ได้

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ความตกลง RCEP ได้ครอบคลุมถึงอีคอมเมิร์ชกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมีความหมายสำคัญสำหรับการพัฒนาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย

RCEP จะมีอิทธิพลอย่างไรกับชีวิตคุณ

สำหรับชาวบ้านทั่วไปก็จะได้รับประโยชน์จาก RCEP ด้วย หลายปีมานี้ คนไทยในจีนพยายามนำครัวไทยสู่จีน ทุกวันนี้มีการเปิดร้านอาหารไทยที่จีนจำนวนไม่น้อยทีเดียว และเครื่องเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากไทย เมื่อ RCEP มีผลบังคับใช้แล้ว หมายถึงว่า ต้นทุนการประกอบร้านจะต่ำลง และการสั่งซื้อเครื่องเทศจากไทยก็จะสะดวกยิ่งขึ้นด้วย ผลไม้ ดอกไม้ และเฟอร์นิเจอร์ไทยก็เป็นที่นิยมของคนจีนอย่างมาก ต่อไปจีนจะนำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้น และเวลาที่ใช้ในการทำขั้นตอนการส่งออกก็จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด  ภาษีนำเข้าจะลดลงอย่างชัดเจน และการทำขั้นตอนผ่านด่านศุลกากรก็จะสะดวกยิ่งขึ้นด้วย คนไทยบางคนที่ทำไลฟ์ขายของที่จีนนั้น ก็รู้สึกตื่นเต้นกับความตกลง RCEP ด้วย เพราะจะทำให้ของที่ไลฟ์ขายนั้นมีความหลากหลายขึ้น และต้นทุนจะลดลงด้วย ผู้บริโภคจีนและไทยจะได้ของดีราคาถูกกว่าเดิม

RCEP มีผลบังคับใช้ไม่ถึงเดือน อิทธิพลต่างๆ อาจจะยังมองเห็นไม่ชัด อย่างที่เมื่อ 21 ปีก่อน จีนได้ร่วมองค์การการค้าโลก ซึ่งเวลานั้นเรายังคาดไม่ถึงว่า การร่วมองค์การการค้าโลกจะนำมาซึ่งการพัฒนาแบบพลิกโฉมใหม่เช่นนี้ให้กับจีน ดังนั้น 10 ปีให้หลัง เราย้อนมาดูการลงนาม RCEP ในครั้งนี้ ก็อาจจะเกิดผลที่เกินการคาดคิดของเราด้วย เรามาติดตามกันดูค่ะ

(Yim/cici)

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face
404 Not Found

404 Not Found


nginx/1.26.1