อุปสรรคและความท้าทายของอังกฤษในการออกจากสหภาพยุโรป

CRI2019-01-08 14:09:24

图片默认标题_fororder_u=3757967783,1126060259&fm=26&gp=0_副本

วันที่ 29 มีนาคม 2019  เป็นวันที่อังกฤษกำหนดจะออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งใกล้จะมาถึง  ความขัดแย้งภายในประเทศเริ่มเกิดขึ้น จากแนวโน้มการเปลี่ยนนโยบายหลังการออกจากสหภาพยุโรป มาเป็นเรื่องที่ว่าอังกฤษจะยังคงอยู่ในการตลาดร่วมของสหภาพยุโรปต่อไปหรือไม่  หากว่าอังกฤษยังคงอยู่ในตลาดร่วมของสหภาพยุโรป  คงต้องเสียค่าชดเชยที่มากพอสมควร

ย้อนไปเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2016  ที่ชาวอังกฤษลงประชามติเกี่ยวกับการออกจากสหภาพยุโรปหรือไม่ สาเหตุสำคัญที่ฝ่ายคัดค้านการออกจากสหภาพยุโรปคือ  หากว่าสูญเสียตลาดร่วมของสหภาพยุโรปแล้ว  เศรษฐกิจอังกฤษจะเสียผลประโยชน์อย่างร้ายแรง ส่วนฝ่ายที่สนับสนุนให้ออกจากสหภาพยุโรปนั้นให้ความเห็นว่า  อุตสาหกรรมการผลิตของอังกฤษมีความเหนือกว่า หากว่าสามารถทอดทิ้งสหภาพยุโรปซึ่งเป็นภาระหนักของอังกฤษได้  จะผลักดันให้เศรษฐกิจอังกฤษพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว  นอกจากนี้  การที่สหภาพยุโรปรณรงค์ให้มีเสรีภาพในการไปมาหาสู่กันด้านบุคลากรและเงินทุนนั้น  เป็นการคุกคามต่อความปลอดภัยของอังกฤษ เมื่อพิจารณาจากฝ่ายที่สนับสนุน และฝ่ายที่คัดค้านจะพบว่า ฝ่ายที่สนับสนุนให้อังกฤษออกจากสหภาพยุโรปนั้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพด้านอุตสาหกรรมการผลิตดั้งเดิม  ส่วนฝ่ายที่คัดค้านอังกฤษออกจากสหภาพยุโรปนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมการผลิตที่สาม  ส่วนคนในสกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือพิจารณาจากผลประโยชน์ของตน โดยส่วนใหญ่คัดค้านอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป แต่ฝ่ายคัดค้านกับฝ่ายสนับสนุนมีจำนวนประชากรไล่เลี่ยกัน  ในที่สุด  ฝ่ายที่สนับสนุนให้อังกฤษออกจากสหภาพยุโรปได้รับชัยชนะ

เมื่อเปรียบเทียบกับท่าทีของผู้มีสิทธิลงประชามติ  ท่าทีของพรรคการเมืองต่าง ๆ ของอังกฤษได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด  เพราะว่าทั้งพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคแรงงานต่างพิจารณาจากการเมืองเพื่อการเลือกตั้ง  จึงล้วนใช้นโยบายผ่อนปรน  เช่น  ตอนแรกที่นางเทเรซ่า เมย์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใหม่ ๆ   เธอใช้ท่าทีสนับสนุนให้อังกฤษออกจากสหภาพยุโรป  ต่อมา  เธอเป็นห่วงว่าการออกจากการตลาดร่วมของสหภาพยุโรปจะกระทบเศรษฐกิจอังกฤษ  ตลอดจนกระทบชีวิตทางการเมืองของเธอ  เธอจึงมีท่าทีอ่อนลง  กลับคำสนับสนุนไม่ให้อังกฤษออกจากการตลาดร่วมของสหภาพยุโรปอีก  ส่วนนายเจเรมี่ คอร์เบน  หัวหน้าพรรคแรงงานดูเหมือนว่า จะลืมท่าทีที่เคยคัดค้านการออกจากสหภาพยุโรป  กลับสนับสนุนให้อังกฤษอยู่ในการตลาดร่วมของสหภาพยุโรปต่อไป

นักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า  หากว่าอังกฤษออกจากการตลาดร่วมของสหภาพยุโรปแล้ว  เศรษฐกิจอังกฤษจะได้รับผลกระทบภายในระยะเวลาหนึ่งอย่างแน่นอน  แต่หากว่าการออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษจะเป็นไปตามที่นายกเมย์ กล่าวไว้ในคำอวยพรปีใหม่ว่า  เมื่อออกจากสหภาพยุโรปแล้ว  ชาวอังกฤษจะสร้างความเข้าใจกันใหม่  และจะมีวิสัยทัศน์ระดับโลก  บนพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันของอังกฤษ  เศรษฐกิจอังกฤษเมื่อผ่านความยากลำบากเป็นระยะสั้น ๆ  แล้ว จะมีโอกาสสูงขึ้นอีก  ทว่าสภาพความเป็นจริงคือ  การส่งออกของอังกฤษมีอยู่ครึ่งหนึ่งยังคงพึ่งพาอาศัยตลาดของสหภาพยุโรปอยู่  อังกฤษย่อมจะได้รับความเสียหายมหาศาล หากว่าการออกจากสหภาพยุโรปจะช่วยบรรเทาภาระหนักของอังกฤษได้อย่างแท้จริง  ก็มีความเป็นไปได้ที่อังกฤษจะสำแดงความได้เปรียบทางด้านอุตสาหกรรมการผลิต  และมีฐานะใหม่ในการตลาดโลกอีกครั้ง(Bo/Zhou/Zhou)

—  ข่าวที่เกี่ยวข้อง  —

Not Found!(404)