การค้าจีน–อาเซียนผลักดันการเติบโตเศรษฐกิจโลก

CRI2019-05-27 10:17:07

图片默认标题_fororder_201900527zd-1

ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การค้าการลงทุนทวิภาคีเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการค้าจีน –อาเซียนโตขึ้นแบบก้าวกระโดด ปี 2008 ยอดการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนคิดเป็น 192,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จนถึงปี 2018 กลายมาเป็น 515,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้นเกือบเป็น 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สาเหตุที่ทำให้การค้าระหว่างจีนกับอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก คงมีปัจจัยสำคัญหลายประการ

เศรษฐกิจจีนและอาเซียนโตขึ้นอย่างรวดเร็ว GDP ของจีนครองสัดส่วน GDP โลกจาก 4% ของปี 2000 มาเป็น 15 % ของปี 2017 และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต คาดว่าปี 2018 จะขึ้นเป็น 21% ส่วน GDP ของอาเซียนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีคิดเป็น 5% จนถึงปี 2017 GDP ของทุกประเทศอาเซียนรวมเป็น 2.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ

หลังจากปี 2010 ที่ได้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีจีน – อาเซียนแล้ว กำแพงการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนก็ลดลง

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตลาดการอุปโภคบริโภคของจีนและอาเซียนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีความต้องการต่อสินค้านำเข้าและการบริการชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมาก

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา GDP เฉลี่ยต่อคนของจีนเพิ่มขึ้นจาก 2,650 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2007 มาเป็น 8,670 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2017 ซึ่งเป็นการผลักดันให้จีนเข้าบัญชีรายชื่อประเทศที่ประชากรมีรายได้ระดับปานกลาง กลุ่มชนชั้นที่มีรายได้ระดับปานกลางเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการชนิดต่างๆ เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยต่อคน ในเมืองใหญ่ของจีนอาจจะสูงกว่าเมืองอื่นๆ อย่างเช่นปี 2017 GDP เฉลี่ยต่อคนของกรุงปักกิ่งมีประมาณ 20,000 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ จีนเป็นตลาดส่งออกสินค้าที่นับวันสำคัญมากยิ่งขึ้น ประเทศอาเซียนได้ส่งออกสินค้าและบริการจำนวนมาก รวมถึงผลิตภัณฑ์การเกษตร พลังงานและการท่องเที่ยว เป็นต้น

(ตามสถิติของสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ปี 2018 ไทยรับนักท่องเที่ยวจีนจำนวนกว่า 10 ล้านคน สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยประมาณ 590,000 ล้านบาท)

图片默认标题_fororder_201900527zd-2

แต่อาเซียนก็เป็นตลาดบริโภคที่ใหญ่มากเช่นกัน มีประชากรรวมประมาณ 658 ล้านคน การบริโภคของครอบครัวประเทศอาเซียนที่มีประชากรจำนวนมากเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างเช่น ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และเวียดนาม ดังนั้น อาเซียนก็เป็นตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญของจีน ปี 2017 ยอดการส่งออกของจีนต่อประเทศสมาชิกอาเซียนคิดเป็น 279,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบกับปีก่อน และเป็นสัดส่วน 12.3% ของยอดการส่งออกในปี 2017 ของจีน

นอกจากนั้น จีนยังเป็นแหล่งที่มาสำคัญด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน ระหว่างปี 2013 – 2016 การลงทุนโดยตรงของจีนต่อประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นประมาณ 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

ปัจจุบัน รายได้ของแรงงานด้านอุตสาหกรรมการผลิตของเมืองริมฝั่งทะเลของจีนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ นักธุรกิจจีนจำนวนหนึ่งจึงหันไปลงทุนสร้างโรงงานในประเทศอาเซียน เพื่อที่จะคงไว้ซึ่งกำลังแข่งขันด้านการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มค่อนข้างต่ำ อย่างเช่นเสื้อผ้าและรองเท้า เป็นต้น   

ปีหลังๆ มานี้ ข้อริเริ่ม   “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กลายเป็นจุดเด่นใหม่ของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับอาเซียน ได้นำมาซึ่งเงินทุนมหาศาลมาให้กับโครงการก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานของประเทศกำลังพัฒนาหลายๆประเทศ ประเทศอาเซียนก็เป็นหนึ่งของส่วนประกอบที่สำคัญ ภายใต้สภาพที่การค้าทวิภาคีเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว มีความจำเป็นต้องเชื่อมต่อทางหลวง ทางรถไฟและท่าเรือระหว่างอาเซียนกับจีน เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง ผลักดันการเติบโตทางการค้าให้ก้าวหน้าต่อไป

จีนได้พยายามหาเงินทุนมาให้กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอาเซียน รวมถึงไทย ลาว กัมพูชาและอินโดนีเซีย โดยเฉพาะการก่อสร้างเครือข่ายทางรถไฟแพนเอเชียที่เริ่มตั้งแต่เมืองคุนหมิงทางภาคใต้ของจีน ผ่านประเทศลาว เวียดนาม ไทย กัมพูชาและมาเลเซีย สิ้นสุดที่สิงคโปร์  

 

图片默认标题_fororder_201900527zd-3

เมื่อปี 2011 จีนเริ่มก่อสร้างเส้นทางรถไฟดังกล่าว ที่ออกจากเมืองคุนหมิงไปถึงชายแดนจีน – ลาว จนถึงปี 2016 ก็เริ่มก่อสร้างเครือข่ายทางรถไฟแพนเอเชียตอนล่าง ที่ไปถึงกรุงเวียนจันทน์ของลาว ทางรถไฟตอนนี้มีระยะทางยาว 400 กิโลเมตร ต้องสร้างอุโมงค์และสะพานจำนวนมาก ใช้เงินประมาณ 40,000 ล้านหยวน (200,000 ล้านบาท )นับเป็นโครงการก่อสร้างที่มีการลงทุนขนาดใหญ่ที่สุดของลาว เงินก้อนนี้ 70% เสนอโดยฝ่ายจีน การก่อสร้างทางรถไฟจะใช้เทคโนโลยีจีน และมาตรฐานของจีน เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟของจีน

ความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนก็มีความสำคัญมากเช่นกัน เดือนธันวาคมปี 2016  นายหวัง อี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนได้พบกับนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย ทั้งสองได้หารือโครงการก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย และเห็นว่านี่เป็นส่วนประกอบสำคัญของความร่วมมือระหว่างจีนกับไทย มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับโครงการ “ 1 แถบ 1 เส้นทาง” และการพัฒนาของเศรษฐกิจไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ “IHS Markit” บริษัทผู้เสนอบริการด้านข้อมูลการพาณิชย์รอบโลกที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอนประกาศรายงานคาดว่า จนถึงปี 2028 จีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ กลายเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 1 ของโลก

ขณะเดียวกัน ปี 2019 GDP เฉลี่ยต่อคนของจีนจะมีถึง 10,000 เหรียญสหรัฐฯ จนถึงปี 2028 จะโตขึ้นเป็น 22,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ตลาดบริโภคของจีนกลายเป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการส่งออกสินค้าและการบริการของประเทศอาเซียน แต่ขณะเดียวกัน อาเซียนก็จะกลายเป็นหนึ่งในตลาดบริโภคที่สำคัญที่สุดของโลกเช่นกัน

จีนกับอาเซียนล้วนเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันการค้าเสรีของภูมิ ภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมๆ กับการค้าการลงทุนที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จีนและอาเซียนจะกลายเป็นกำลังขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก

(Bo/Lin)

 

 

 

—  ข่าวที่เกี่ยวข้อง  —

Not Found!(404)