เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ การประชุมประสานงานด้านทิเบตศาสตร์ของจีนได้เปิดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ผู้สื่อข่าวได้ข่าวจากที่ประชุมดังกล่าวว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ งานวิจัยด้านทิเบตศาสตร์มิเพียงแต่ได้แสดงบทบาทสําคัญต่อการอนุรักษ์และการสืบทอดวัฒนธรรมอันเก่าแก่โบราณที่ดีของชนชาติทิเ่บตเท่านั้น หากยังได้เสนอหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แก่การพัฒนาเขตทิเบตให้มีความทันสมัยอีกด้วย
ชนชาติทิเบตของจีนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่เขตปกครองตนเองทิเบตซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ทิเบตศาสตร์เป็นสาขาวิชาแบบองค์รวมที่ดําเนินการวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และสังคมเป็นต้นของชนชาติทิเบต
ศูนย์วิจัยทิเบตศาสตร์แห่งประเทศจีนเป็นองค์กรวิชาการระดับชาติองค์กรหนึ่ง นายลาบาผิงโช่ว ผู้อํานวยการศูนย์ดังกล่าวให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า ในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ นักวิชาการจีนได้ดําเนินการวิจัยเกี่ยวกับชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมของชนชาติทิเบตในทั่วทุกด้านอย่างเป็นระบบโดยใช้องค์ความรู้และวิธีการของสาขาวิชามนุษยศาสตร์ร่วมสมัยต่างๆ เช่น ชนชาติศาสตร์ มนุษยวิทยา ศาสนศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เป็นต้น ทั้งได้ประสบผลมากมาย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบัน จีนมีนักวิชากา่รที่ดําเนินการวิจัยเกี่ยวกับทิเบตศาสตร์เป็นการเฉพาะประมาณ 2?000 คน ซึ่งในจํานวนดังกล่าว มีทั้งนักวิชาการชาวชนชาติทิเบต และมีชาวชนชาติฮั่น ชนชาติหุย เป็นต้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ นักวิชาการดังกล่าวได้จัดพิมพ์จําหน่ายหนังสือเกี่ยวกับทิเบตศาสตร์ต่างๆ กว่า 3?000 ชนิด และวิทยานิพนจ์อีกกว่า 30?000 บท โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงทิเบตศาสตร์ทุกสาขา ซึ่งมีอยู่ไม่น้อยเป็นผลงานชิ้นเอกที่ไม่เคยมีการวิจัยมาก่อน
นายชื่อวางจุ้นเหม่ย นักวิชาการชาวชนชาติทิเบตผู้ซึ่งเป็นประธานสภาวิทยาศาสตร์ทางสังคมแ่ห่งเขตปกครองตนเองทิเบตของจีนกล่าวว่า งานวิจัยด้านทิเบตศาสตร์นอกจากมีส่วนช่วยต่อการเชิดชูวัฒนธรรมอันเก่าแก่โบราณที่ดีของชนชาติทิเบตแล้ว ยังมีส่วนช่วยต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นให้พัฒนาคืบหน้าไปด้วย โดยได้มีส่วนช่วยทําการวางนโยบายบางประการตามสภาพที่เป็นจริงด้านระดับการพัฒนาของเขตทิเบต
นายชื่อวางจุ้นเหม่ยยกตัวอย่างว่า เพื่อลกความเหลื่อมลํ้าระหว่างเขตเมืองกับเขตชนบทให้น้อยลง สภาวิทยาศาสตร์ด้านสังคมแ่ห่งเขตปกครองตนเองทิเบตของจีนเคยดําเนินงานวิจัยในหัวข้อเฉพาะ โดยได้เสนอแนวคิดในการพัฒนาเมืองขนาดย่อม ซึ่งฝ่ายบริหารของเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตได้รับผลงานวิจัยดังกล่าวไปประกอบการพิจารณา ปัจจุบัน การพัฒนาเมืองขนาดย่อมกําลังดําเนินไปอย่างคึกคักในพื้นที่ต่างๆ ของเขตทิเบต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วงการทิเบตศาสตร์ของจีนได้ก่อตั้งกลไกการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านงานวิจัยกับวงการทิเบตศาสตร์ของกว่า 10 ประเทศและเขตแคว้นอย่างเป็นประจํา แล้ว ศาสตราจารย์หวาง ฉิหลง จากมหาวิทยาลัยชิงหัว ผู้ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทิเบตศาสตร์ที่เคยไปร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนด้านทิเบตศาสตร์ระหว่างประเทศมาบ่อยครั้งกล่าวว่า งานวิจัยด้านทิเบตศาสตร์ของจีนมีพลังเข้มแข็ง ควรแสดงความได้เปรียบด้านสถาบันวิจัยต่างๆ ผนึกกําลังดําเนินงานวิจัยเกี่ยวกับหัวข้อด้านทิเบตศาสตร์บางหัวข้อ
การประชุมประสานงานด้านทิเบตศาสตร์ของจีนซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 4 วันในครั้งนี้ มีผู้แทนจากสถาบันวิจัยทิเบตศาสตร์ต่างๆ ทั่วประเทศจีนกว่า 50 คนเข้าร่วม โดยจะดําเนินการปรึกษาหารือเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและทิศทางการพัฒนาในอนาคตของงานวิจัยด้านทิเบตศาสตร์
|