China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2005-05-11 19:40:47    
จีนไทยใช่ใครอื่น (5)

cri

สวัสดีค่ะ ท่านผู้ฟัง รายการ "จีนไทยใช่ใครอื่น" วันนี้ เรามีความยินดีจะขอแนะนำเพื่อนชาวไทยที่น่ารักมากคนหนึ่ง เขาเดินทางมาปักกิ่งคนเดียว ตั้งแต่เดือนเมษายน เช่าห้องพักราคาถูก ขนาดเตียงนอนตัวเดียวอยู่ในชั้นใต้ดิน ทุกวันเขาจะเดินไปตามตลาดเพื่อฟังพ่อค้าแม่ขายพูดคุยกัน ขึ้นรถใต้ดินไปดูพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ยืนสเก็ตภาพที่เห็นตามท้องถนน หรือในสวนสาธารณะ กินข้าวมือละ 4-5 หยวน เพื่อจะอยู่ปักกิ่งให้ได้สัก 1 เดือน ด้วยเงินงบประมาณจำกัดจำเขี่ยที่ตั้งไว้ไม่ให้เกิน 50.000 บาท

วันหนึ่ง เขาก็เดินทางมาถึงสถานีวิทยุซีอาร์ไอ ในฐานะผู้ฟังเก่าแก่ของวิทยุซีอาร์ไอ ภาคภาษาไทย และแน่นอนที่สุด เราย่อมไม่ยอมพลาดที่จะเชิญเขามาพูดคุยกับท่านผู้ฟังโดยเด็ดขาด

บุรุษลึกลับของเราผู้นี้เป็นใคร ไปรู้จักกับเขาเลยดีกว่า

ว – สวัสดีค่ะ ช่วยแนะนำตัวให้ผู้ฟังทางบ้านรู้จักหน่อยซิคะ

ช - ครับ ผมชื่อชาตรี วารีชัย อาจารย์ 2 ระดับ 7 โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษาของกทม.ครับ ปกติผมเป็นอาจารย์ประจำชั้นป.2 ต้องสอนหลายวิชา แต่เมื่อ 2 ปีก่อน สำนักการศึกษา กทม. ก็มีนโยบายให้โรงเรียนกทม. ซึ่งมีมากกว่า 420 กว่าโรง สอนภาษาจีนเป็นภาษาที่ 3 ที่โรงเรียนของผม บังเอิญผมมีความรู้ภาษาจีน หน้าที่นี้จึงตกเป็นของผมครับ

ว – อาจารย์ต้องสอนคนเดียวหรือคะ

ช – ครับ ผมสอนคนเดียวตั้งแต่ชั้น ป 1 ถึง ป 3 สอนสัปดาห์ละชั่วโมงเดียว เวลาสอนไม่ได้ใช้ตัวอักษรจีน แต่เน้นให้พูดและฟังเป็นโดยใช้พินอิน คือให้รู้จักการประสมสระ พยัญชนะทุกตัว เช่น มา หมา หม่า ม่า ปา ป๋า ปา ป้า แล้วก็สอนให้สนทนากันเป็นภาษาจีน ผมรู้ว่าเรียนสัปดาห์ละชั่วโมงเดียวถือว่าน้อยมาก เวลาพบนักเรียนผมจีงพยายามชวนนักเรียนพูด เช่น พอเจอกัน ก็ให้นักเรียนพูดว่า เซียนเซิงเฮา ผมก็ตอบว่า ถงเสวียเฮา เซียนซิงไจ่เจี้ยน ต้าเจียไจ้เจี้ยน เป็นต้น

ว – ทำไมสำนักศึกษา กทม. จึงหันมาเน้นการสอนภาษาจีนในโรงเรียนระดับประถมละคะ

ช – เพราะภาษาจีนจะกลายเป็นภาษาสำคัญในศตวรรษที่ 21 ทางกทม.จึงอยากให้นักเรียนทุกคนมีความรู้ภาษาจีนไว้เป็นพื้นฐาน ใครสนใจและมีความสามารถเป็นพิเศษ จะได้เรียนต่อในชั้นสูงขึ้นไป และพัฒนาให้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพในภายภาคหน้าได้

ว – แล้วเด็ก ๆ ตั้งใจเรียนดีไหมคะ อาจารย์เองละคะ รู้สึกว่าสอนภาษาจีนยากไหมคะ

ช – เด็ก ๆ ก็มีความกระตือรือร้นดีนะครับ แต่ถ้าเทียบกับภาษาอื่น เช่นภาษาอังกฤษ ผมรู้สึกว่าลำบากหน่อย เพราะสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยการเรียนรู้ของเด็กไม่มี เด็กของผมส่วนใหญ่เป็นเด็กภาคอีสานเสียด้วยซ้ำ

ว – แล้วที่อาจารย์อุตส่าห์มาปักกิ่งครั้งนี้ ตั้งใจจะเอาอะไรไปฝากเด็ก ๆ หรือคะ

ช – ครับ ผมอยากมาเก็บวัตถุดิบต่าง ๆ เช่นหนังสือการ์ตูน ภาพโปสเตอร์ อะไรต่าง ๆ ไปใช้ในชมรมภาษาจีนของโรงเรียน ผมเองจบเพาะช่าง ไปไหนเห็นอะไรก็จะสเก็ตเป็นภาพเก็บไว้ แล้วนำกลับไปวาดใหม่ให้ดี ๆ ใส่ตัวหนังสือกำกับนำไปติดให้เด็ก ๆ อ่าน เวลาไปตลาดก็ไปฟังดูว่าชาวบ้านเขาพูดกันอย่างไร มีอยู่วันหนึ่ง ผมเห็นคนขายของพูดกันเสียงดังมากเหมือนกับทะเลาะกัน แต่เพื่อนผมบอกว่า คนจีนต้องพูดเสียงดัง ๆ อย่างนี้ พูดเบา ๆ ถือว่าเป็นคนไม่เปิดเผย ผมกลับไปก็จะได้เอาไปเล่าให้นักเรียนของผมฟังว่า นี่คือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

ว – อาจารย์รู้ภาษาจีน ก็สอนได้ทันทีเมื่อกทม.มีนโยบายลงมา แล้วโรงเรียนอื่น ๆ อีกเป็นร้อยล่ะคะ เขามีครูที่พร้อมสอนอย่างอาจารย์หรือคะ

ช – เรื่องนี้ทางสำนักการศึกษากทม. มีการจัดอบรมให้กับครูที่สมัครใจเข้ารับการอบรม เวลานี้อบรมไปแล้ว 3 รุ่น ๆ ละ 40-50 คน รวมแล้วมีอาจารย์ที่ผ่านการอบรมแล้วประมาณกว่าร้อยคน โรงเรียนไหนที่ยังไม่พร้อม ก็จัดเป็นชมรมภาษาจีนไปก่อน เวลานี้เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เปิดสอนเป็นตารางสอนได้อย่างที่โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ แต่สำนักการศึกษากทม.ก็ช่วยจ้างครูจีนมาสอนให้บางโรงเรียนด้วยนะครับ

ว – ได้ยินว่าเวลานี้ภาคเอกชนบางแห่งก็เข้ามาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาจีนในเมืองไทยด้วยใช่ไหมคะ

ช – ครับ บริษัทซีพี ให้ความร่วมมือกับกรมสามัญศึกษา และสำนักการศึกษาของกทม. จัดอบรมครูเป็นรุ่น ๆ จบแล้วมอบวุฒิบัตรให้ด้วยครับ ผมเองก็ไปอบรมมา 3 สัปดาห์ แต่ต้องเดินทางมาปักกิ่งเสียก่อน เมื่อไม่ครบ 10 สัปดาห์ ก็เลยอดได้รับวุฒิบัตรกับเขา (หัวเราะ)

ว – ท่านผู้ฟังเห็นด้วยกับดิฉันไหมคะว่า วุฒิบัตรยังน้อยเกินไปสำหรับครูที่เร่าร้อนหาใครเปรียบไม่ได้อย่างอาจารย์ชาตรี พวกเราตกลงใจมอบ "เกียรติบัตรครูดีเด่น" ให้กับอาจารย์ชาตรี วารีชัย กันเลยดีกว่าไหมคะ แต่เสียดายเหลือเกินที่จำต้องลาอาจารย์ชาตรีเพราะเวลาหมดลงเสียแล้ว ขอให้อาจารย์ชาตรีโชคดีในปักกิ่ง และได้รับผลสำเร็จทุกอย่างตามความมุ่งมาดปรารถนาของอาจารย์นะคะ

ช – ขอบคุณมากครับ

ว - ขอบคุณค่ะ