สวัสดีค่ะท่านผู้ฟัง สัปดาห์ที่แล้ว นาวาเอก รณัชย์ เทพวัลย์ ท่านเล่าให้เราฟังเรื่องการแลกเปลี่ยนเยี่ยมเยือนกันระหว่างเรือรบไทยกับเรือรบจีน โดยท่านเริ่มเล่าทางฝ่ายไทยไปจีนก่อน ท่านบอกว่าเรือรบไทยเยือนจีนครั้งแรกปี 2537 เดือนมีนาคมปีที่แล้ว เพื่อฉลองความสัมพันธ์ไทยจีนครบรอบ 30 ปี ฝ่ายไทยจัดมามากเป็นพิเศษ เรือรบถึง 3 ลำ กำลังพลมากที่สุดเช่นกัน 872 คน และครั้งสุดท้ายเดือนธันวาคมที่เพิ่งผ่านไป เรือรบหลวงปัตตานีก็ไปที่เมืองกว่างโจวค่ะ
ท่านเล่าถึงว่า เรือรบไทยมาถึงประเทศจีนแต่ละครั้ง ก็ให้ทหารลงไปรู้จักคลุกคลีกับประชาชน ใช้เวลาแวะเยี่ยมจีนประมาณ 2-3 วัน ระหว่างนั้นมีการแสดงบนเรือให้ประชาชนดูด้วย ทางจีนจะประชาสัมพันธ์แล้วแจกบัตรให้ประชาชนขึ้นชมเรือรบของไทยด้วย เราจบกันที่ตรงนี้ค่ะครั้งที่แล้ว วันนี้เราคุยกับท่านต่อนะคะ
ดิฉันถามท่านว่า ประชาชนขึ้นชมเรือรบไทย แล้วบนเรือมีอะไรให้เขาดู ฟังคำตอบท่านค่ะ
"เราก็เปิดให้ดูเรือโดยทั่วไป ในส่วนที่เราเปิดให้ดูได้นะครับ ส่วนใหญ่จะให้ดูในบริเวณสะพานเดินเรือ แล้วก็ตัวเรือโดยทั่วไป แต่ในส่วนที่เป็นความลับเราก็ไม่ได้เปิด"
"ที่เซี่ยงไอ้ ผมมาอยู่ที่นี่สองปี ได้รับสองครั้งโดยเฉลี่ย เราจะเปิดให้ชมวันเดียว มีผู้มาชมเรือครั้งละประมาณ 3000 คนเศษ แล้วทางจีนก็จะทำซองจดหมายที่ระลึก จำหน่ายให้กับประชาชนที่มาชมเรือด้วย ในนั้นก็จะมีรูปภาพเรือรบไทย มีการระบุว่าเป็นการมาเยือนครั้งที่เท่าไหร่ของกองทัพเรือไทย ครั้งล่าสุด วันระลึก 30 ปี เขาก็ระบุว่าเป็นการมาเยือนเนื่องในวันความสัมพันธ์ 30 ปีไทยจีน"
ดิฉันขอให้ท่านเล่าทางฝ่ายจีนบ้าง ว่ากองทัพเรือจีนไปไทยเมื่อไหร่อย่างไร ท่านก็เล่าให้ฟังว่า
"ส่วนเรือของกองทัพเรือจีน ไปแวะเยี่ยมกรุงเทพฯครั้งแรก ประมาณปี 2533 ครั้งล่าสุดที่ผ่านมาก็คือ ระหว่าง 9-13 ธันวาคม 2548 ผ่านมาเมื่อไม่กี่วันนี้เอง ในอากาศฉลองความสัมพันธ์ 30 ปีเช่นกัน"
9. (ม้วนที่ 1 ตอนที่ 20 12.50) "ครั้งที่ผ่านมา เราก็ให้การต้อนรับในลักษณะที่ทัดเทียมกันนะครับ ของจีนที่แวะเยี่ยมเมืองไทยสามารถเข้าจอดเทียบที่กรุงเทพฯได้ ก็คือคลองเตยครับ จะมีท่าอยู่ท่าหนึ่งที่จัดให้เรือรบต่างประเทศจอดได้ เขาเรียกท่าเรือกรุงเทพฯครับ แยกออกมาจากท่าขนส่งสินค้า เป็นท่าเรือเฉพาะ ปกติก็มีเรือสินค้าจอดเช่นกัน แต่ถ้ามีเรือรบจะเข้ามาจอด เขาก็จะจัดพื้นที่ให้กับเรือรบโดยเฉพาะ"
"เรือจีนทุกครั้งจะไปจอดที่ท่าเรือกรุงเทพฯนะคะ"
"เป็นที่หนึ่ง ส่วนถ้าจะจอดที่สัตหีบ ก็จะจอดที่ท่าเรือจุกเสม็ด ซึ่งครั้งที่ผ่านมา เรือสองลำก็จอดที่ท่าเรือจุกเสม็ด แล้วเราก็ให้การต้อนรับเขาเช่นเดียวกัน ให้ประชาชนของเราขึ้นไปเที่ยวบนเรือได้ด้วย ครั้งนี้เขาไปประมาณ 500 คนได้ครับ ครั้งสุดท้าย เรือสองลำนี้ครับ แล้วค่าใช้จ่ายระหว่างที่มาจอดที่ประเทศเขา เขาก็รับผิดชอบให้บางส่วน และเราใช้จ่ายเองบางส่วน เช่นเดียวกัน เวลาเขาไปเมืองไทย เราก็ออกค่าใช้จ่ายให้บางส่วน เขาก็จ่ายเองบางส่วน"
"แล้วตามนโนบายเราต้องมีการแลกเปลี่ยนกันทุกปีไหมคะ"
"ไม่ทุกปีครับ เป็นไปตามแผนการแลกเปลี่ยนร่วมกันประจำปี ซึ่งตกลงร่วมกันระหว่างกลาโหมของทั้งสองฝ่าย"
"การไปเยือนกันของเรือรบ เป็นการเยือนเพื่อสันถวไมตรีล้วน ๆ ไม่มีนัยยะทางการทหารเลยหรือคะ"
"ที่เราทำกับจีนไม่มีครับ แต่ในบางประเทศ เรือรบก็อาจะเป็นการแสดงออกทางนัยยะการทหารก็ได้ เช่นส่งไปเพื่อให้เห็นถึงแสนยานุภาพ การป้องปรามก็ได้ ของเราไม่ได้ทำกับจีนในลักษณะนั้น"
"ก็เปรียบเสมือนการเยือนกันของพลเรือน เพียงแต่แต่งชุดทหาร ทุก ๆ อย่างก็เพื่อสันถวไมตรี เพื่อความเข้าใจและเพื่อการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมด้วย แล้วเวลาเขาไปเขาแสดงไหมคะ"
"ไปแสดงครับ อย่างครั้งนี้ เขาก็จัดวงดุริยางค์ไปแสดงที่พัทยา จากท่าเรือจุกเสม็ดที่สัตหีบ"
เขามีทหารเรือหญิงไปไหมคะ"
"ไม่มีครับ"
"เท่าที่เห็นในโทรทัศน์ ทหารจีนทั้งหญิงทั้งชายเก่งในด้านเต้นรำ ร้องรำทำเพลงเก่ง ๆ ทั้งนั้นเลย ถ้ามีผู้หญิงไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย ดิฉันว่าคงสนุกมาเลยนะคะ"
"อันนี้ เราเรียกด้วยคำรวม ๆ ว่า "การแวะเยี่ยมเมืองท่า" ระหว่างกองทัพเรือทั้งสองประเทศ"
สนุกไหมคะท่านผู้ฟัง ดิฉันเรียนผู้การรณัชย์ว่า ถ้าเรือรบไทยมาครั้งหน้า และไม่ไกลเกินไป พอที่ดิฉันจะไปได้ ขออนุญาตไปเยี่ยมชมเรือรบไทยด้วย ท่านบอกว่ายินดีค่ะ แหม ดิฉันก็ไม่เคยคิดเลยนะคะ ว่าเรือรบก็กลายเป็นเรือสันถวไมตรีได้ ขอให้เรือรบในโลกนี้ทุกลำทำหน้าที่เป็นเรือสันถวไมตรีเถอะนะคะท่านผู้ฟัง โลกของเราคงจะสงบสุข เป็นมิตรกัน แทนที่จะรบพุ่งกัน แล้วก็ดูซิคะ ทหารที่จับอาวุธ พอเป็นทหารสันถวไมตรี ก็หันมาเต้นมารำ มาเล่นดุริยางให้ประชาชนฟัง น่ารักมากเลยค่ะ อาทิตย์หน้าเราไปฟังกันอีกนะคะ ยังมีเรื่องสนุก ๆ อีกหลายเรื่องคะ วันนี้ขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ
|