นายโหยว ไอ่ฉอง นักวิจัย ผู้อํานวยการสํานักงานวิเทศสัมพันธ์แห่งสภาสังคมและวิทยาศาสตร์มณฑลกวางตุ้งกล่าวในการประชุมประสานงานการวิจัยศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของสภาสังคมและวิทยาศาสตร์ 9+2 ของเขตเศรษฐกิจแพนสามเหลี่ยมจูเจียงครั้งที่ 3 ว่า มณฑลกวางตุ้งกับอาเซี่ยนมีลักษณะเสริมซึ่งกันและกันแบบขั้นบันไดในสามด้าน อันได้แก่โครงสร้างทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ขั้นตอนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และโครงสร้างผลิตภัณฑ์เป็นต้น
นายโหยว ไอ่ฉองกล่าวว่า ประเทศต่างๆของอาเซี่ยนมีทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เช่นทรัพยากรป่าไม้ ประมง นํ้ามันและแก๊สธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์แร่ และพืชเศรษฐกิจเป็นต้น ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์มีแรงดึงดูดอย่างมากต่อมณฑลกวางตุ้ง ความร่วมมือในการบุกเบิกพัฒนาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับอาเซี่ยนจะไม่ได้กําหนดแค่การนําเข้าเท่านั้น ยังจะดําเนินไปโดยผ่านการลงทุนร่วมกันแปรรูปและร่วมกันบุกเบิกพัฒนา ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ลักษณะเสริมซึ่งกันและกันด้านทรัพยากรของมณฑลกวางตุ้งกับอาเซี่ยนจะเป็นไปอย่างยั่งยืนและเป็นเวลายาวนาน การค้าด้านทรัพยากรตลอดจนการร่วมกันบุกเบิกพัฒนาในด้านกิจการป่าไม้ ประมง และผลิตภัณฑ์แร่เป็นต้นก็กลายเป็นปริมณฑลสําคัญที่มีศักยภาพในด้านร่วมมือกัน
ลักษณะเสริมซึ่งกันและกันด้านที่สอง "รายงานว่าด้วยการพัฒนาโลกประจําปี 2004 "ของธนาคารโลกได้ประกาศมาตรฐานการแบ่งปันระดับรายได้ของประเทศต่างๆ สภาพพัฒนาทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ระดับลักษณะอุตสาหกรรมและรูปแบบการค้าตามยอดปริมาณการผลิตภายในประเทศเฉลี่ยต่อคนในปี 2002 ได้แบ่งระดับพัฒนาเศรษฐกิจของมณฑลกวางตุ้ง-อาเซี่ยนเป็น 4 ระดับ
นายโหยว ไอ่ฉองกล่าวว่า ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเหตุให้โครงสร้างอุตสาหกรรมของมณฑลกวางตุ้งกับอาเซี่ยนปรากฎแนวโน้มแบบขั้นบันได โครงสร้างอุตสาหกรรมของสิงคโปร์มีลักษณะระดับสูง อุตสาหกรรมประเภทที่ 3 ได้อยู่ในฐานะนําแล้ว และเริ่มมีแนวโน้มที่ถอนตัวจากการแบ่งงานของอุตสาหกรรมการผลิตที่มีมาช้านาน ส่วนสามเหลี่ยมแม่นํ้าจูเจียงมีอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างทันสมัย มีความสามารถทางอุตสาหกรรมการผลิตที่มีกําลังแข่งขันและอุตสาหกรรมประเภทที่ 3 ยังอยู่ในขั้นต้นของการพัฒนา อุตสาหกรรมประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 ของประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศของอาเซี่ยนอันได้แก่เวียดนาม ลาว กัมพูชาและพม่ามีระดับพัฒนาเท่าเทียมกัน และการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตอยู่ในฐานะสําคัญในเศรษฐกิจของประชาชน กิจการให้การบริการและอุตสาหกรรมประเทภที่ 3 ได้เปรียบกว่ามณฑลกวางตุ้ง การพัฒนาเศรษฐกิจที่มีหลายระดับที่แสดงออกอย่างรอบด้านในโครงสร้างอุตสาหกรรมเช่นนี้ ย่อมจะทําให้อุตสาหกรรมระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับอาเซี่ยนมีลักษณะเสริมซึ่งกันและกัน การพัฒนาเศรษฐกิจหลายระดับได้เสนอโอกาสแก่การร่วมมือแบบขั้นบันไดระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับอาเซี่ยน เป็นผลดีต่อการก่อรูปแบบพัฒนาที่เป็นแบบขั้นบันไดและหนุนเนื่องสลับกัน ใช้รูปแบบพัฒนาที่ไม่สมดุลกันเช่นนี้ มายกระดับประสิทธิภาพของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมปรับเปลี่ยนทิศทางและยกระดับสูงขึ้น
ความเสริมซึ่งกันและกันด้านที่สามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ทําด้วยทรัพยากรธรรมชาติ สําหรับด้านนี้ ประเทศอาเซี่ยนมีความได้เปรียบค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาไทย บรูไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ได้รักษาความได้เปรียบในด้านส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ทําด้วยทรัพยากรธรรมชาติในขั้นพื้นฐาน เช่นนํ้ามันและไขมันของสัตว์และพืช ผลิตภัณฑ์แร่ ผลิตภัณฑ์พลาสติค ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ผลไม้ และข้าวเป็นต้น ซึ่งคิดเป็นปริมาณ 50% ของยอดการนําเข้าจากอาเซี่ยนของมณฑลกวางตุ้ง ส่วนมณฑลกวางตุ้งมีความได้เปรียบกว่าประเทศอาเซี่ยนในการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงาน เช่นประเภทรองเท้า ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์โลหะ และผลิตภัณฑ์การผลิตประเภทต่างๆเป็นต้น สําหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์มีความได้เปรียบ มณฑลกวางตุ้งด้วยกว่าไทย สิงคโปร์ มาเลเซียและฟิลิปปินส์
นายโหยว ไอ่ฉองเห็นว่า ถึงแม้ว่ามณฑลกวางตุ้งกับอาเซียนมีการแข่งขันกันในด้านพัฒนาทางอุตสาหกรรม พัฒนาการค้าต่างประเทศ และดึงดูดทุนต่างชาติก็ตาม แต่ระดับพัฒนาเศรษฐกิจตลอดจนสภาพแบบขั้นบันไดของโครงสร้างอุตสาหกรรมของทั้งสองฝ่ายก็เป็นเหตุที่จะทําให้สองฝ่ายมีความหลากหลายและมีลักษณะร่วมกันได้ในด้านความได้เปรียบซึ่งกันและกัน สภาพเช่นนี้จะเป็นตัวกําหนดให้ทั้งสองฝ่ายต้องเสริมซึ่งกันและกันในด้านอุตสาหกรรมและมีอนาคตร่วมมือกันอย่างกว้างขวาง
|