การประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออกครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นที่จังหวัดเชบู(Cebu)ทางภาคกลางของฟิลิปปินส์ระหว่างวันที่ 8-13 มกราคมปีหน้า ซึ่งเหมือนกับการประชุมสุดยอดครั้งแรก ประเทศที่เข้าร่วมได้แก่ 10 ประเทศอาเซี่ยน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินเดียและนิวซีแลนด์
ปัจจุบันประชากรของ 16 ประเทศที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออกรวมกันแล้วมากกว่า 3,000 ล้านคน นับเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ภายใต้สภาพโลกาภิวัฒน์ทางเศรษฐกิจ การจัดการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออกกลายเป็นสัญลักษณ์สําคัญอย่างหนึ่งที่แสดงถึงการพัฒนาของเอเซีย เป็นการประชุมสําคัญที่เกี่ยวพันถึงด้านการค้า เศรษฐกิจและความมั่นคงของเขตเอเซียตะวันออก
เมื่อเดือนธันวาคมปี 1990 หลังจากการเจรจารอุรุกวัย(Uruguay)เกี่ยวกับข้อตกลงการค้าศุลกากร(Gatt)ล้มเหลวลง นายมหาธีร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซียในสมัยนั้นได้ริเริ่มจัดตั้ง"กลุ่มเศรษฐกิจของเอเซียตะวันออก"ขึ้น แต่ได้รับการคัดค้านจากสหรัฐฯ ข้อริเริ่มดังกล่าวนี้จึงเปลี่ยนเป็น"การประชุมวางแผนเศรษฐกิจร่วมกันของเอเซียตะวันออก"แบบไม่เป็นทางการในปี 1991 แต่ในที่สุดก็ล้มเหลว หลังจากเกิดวิกฤตการเงินของเอเซียในปี 1997 ได้เกิดการประชุมผู้นําอาเซี่ยนกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สร้างกลไกเจรจาและความร่วมมือที่ประกอบด้วยการประชุมผู้นํา การพบปะระดับรัฐมนตรีตลอดจนการปรึกษาหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูง เดือนพฤศจิกายนปี 2004 ที่ประชุมสุดยอด"10+3"ที่จัดขึ้นที่กรุงเวียงจันทน์เมืองหลวงของลาว ประเทศที่เข้าร่วมประชุมได้ตกลงว่าจะจัดการประชุมสุดยอดของเอเซียตะวันออกเป็นครั้งแรกขึ้น
หลังจากได้ตั้งแนวคิดเกี่ยวกับการประุชุมสุดยอดเอเซียตะวันออกแล้ว ก็ได้ดึงดูดความสนใจจากประเทศจํานวนมากจากนอกภูมิภาค และพากันแสดงความปรารถนาที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอด เท่าที่ทราบ รัสเซียและสหรัฐฯแสดงความสนใจเป็นอย่างมากต่อการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออกครั้งแรก แต่ในที่สุดก็ถูกปฏิเสธไม่ได้เข้าร่วมประชุม เพราะว่าก่อนหน้านี้อาเซี่ยนได้เสนอเงื่อนไขจํากัดสามข้อต่อประเทศที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอด ก็คือหนึ่งต้องมีความสัมพันธ์เชิงเนื้อแท้กับอาเซี่ยน สอง เป็นหุ้นส่วนแบบเจรจากับอาเซี่ยน สาม ได้เข้าร่วม"สนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือฉันมิตรของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้"แล้ว สนธิสัญญาฉบับนี้ประเทศสมาชิกอาเซี่ยนได้ลงนามในการประชุมผู้นําครั้งแรกของอาเซี่ยนที่จัดขึ้นที่อินโดนีเซียเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1976 ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ห้ามประเทศที่ได้ลงนามแล้วใช้กําลังอาวุธแก้ไขข้อพิพาท
การประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออกครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เมืองหลวงของมาเลเซียเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมปี 2005 การประชุมครั้งนี้ได้ลงนามและผ่าน"แถลงการณ์กัวลาลัมเปอร์" แถลงการณ์ฉบับนี้ได้กําหนดคุณสมบัตและวัตถุประสงค์ของการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออก การประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออกจะเป็นการประชุมฟอรั่มที่เปิดเผย ใจกว้าง โปร่งใสและหันออกสู่ภายนอก ประเทศต่างๆที่เข้าร่วมประชุมจะเสริมการเจรจาและความร่วมมือทางยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการเมืองและปัญหาความมั่นคง และส่งเสริมกระบวนการขยายและเป็นแบบเสรีในด้านการค้าและการลงทุนให้มากยิ่งขึ้น เสริมการติดต่อภาคเอกชน เพิ่มความไว้วางใจซึ่งกันและกันและความสามัคคีกัน ส่งเสริมความร่วมมือในด้านอนุรักษ์ภาวะแวดล้อม ป้องกันโรคติดต่อและบรรเทาภัย แถลงการณ์ฉบับนี้ได้กําหนดบทบาทที่เป็นแกนนําของอาเซี่ยน และยังได้กําหนดว่าการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออกจะให้ประเทศประธานหมุนเวียนอาเซี่ยนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม จัดขึ้นในเวเลาเดียวกันกับการประชุมผู้นําประจําปีของอาเซี่ยน และรูปแบบการประชุมสุดยอดจะให้ประเทศที่เข้าร่วมร่วมกันพิจารณา
จีนในฐานะเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในเขตเอเซียตะวันออก เสนอให้อาเซี่ยนแสดงบทบาทสําคัญในความร่วมมือระหว่างเอเซียตะวันออก ยืนหยัดการใช้กรอบ"10+3"พัฒนาความร่วมมือของเอเซียตะวันออก และเห็นว่าการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออกควรเป็นผลดีต่อความสามัคคีระหว่างประเทศเอเซียตะวันออก นายเวิน เจียเป่านายกรัฐมนตรีจีนกล่าวคําปราศรัยในการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออกครั้งแรกว่า จีนคัดค้านความร่วมมือระหว่างเอเซียตะัวันออกที่ปิดตัวเอง กีดกันผู้อื่นและเจาะจงต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จีนจะไม่แสวงหาฐานะควบคุมในภูมิภาคอย่างเด็ดขาด
|