China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2006-12-19 17:55:03    
ประธานาธิบดีบุชลงนามในญัตติว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์สหรัฐฯ-อินเดีย

cri

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคมนี้ที่ทำเนียบขาว นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาได้ลงนามในญัตติว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอินเดีย เท่ากับเป็นการอนุมัติอย่างเป็นทางการว่า จะส่งออกเชื้อเพลิงนิวเคลียร์และเทคโนโลยีทางนิวเคลียร์ที่ใช้ในด้านพลเรือนไปยังอินเดีย ญัตติฉบับนี้ได้รับการยกย่องจากประธานาธิบดีบุชว่า จะมีส่วนช่วยต่อสหรัฐฯ และอินเดียในการรับมือกับการท้าทายด้านพลังงานและความมั่นคงที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 แต่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า การลงนามในญัตติฉบับดังกล่าวเป็นความผิดพลาดเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งจะสร้างอุปสรรคให้แก่ประชาคมโลกในการป้องกันการแพร่กระจายนิวเคลียร์

เนื้อหาสำคัญของญัตติฉบับดังกล่าวมีขึ้นบนพื้นฐานของข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอินเดียที่สองประเทศลงนามกันก่อนหน้านี้ ตามข้อตกลงฉบับดังกล่าว สหรัฐฯ จะจำหน่ายเทคโนโลยีทางนิวเคลียร์ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์และเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ในทางพลเรือนให้แก่อินเดีย ในข้อแลกเปลี่ยนกันนั้น อินเดียจะต้องแยกอุปกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ในทางพลเรือนกับอุปกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ในทางการทหารออกจากกัน ขณะเดียวกัน อุปกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ในทางพลเรือน 14 แห่งของอินเดียก็ต้องให้องค์กรพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศเข้าไปตรวจสอบเช่นกัน นอกจากนี้ ญัตติฉบับนี้ยังระบุว่า หากอินเดียดำเนินการทดลองทางนิวเคลียร์อีก สหรัฐฯ ก็จะหยุดการส่งออกวัสดุนิวเคลียร์ให้แก่อินเดียอีก

ในพิธีลงนาม ประธานาธิบดีบุชได้กล่าวยกย่องญัตติฉบับนี้ว่า เป็นการปูทางให้อินเดียใช้ความพยายามเพื่อมีส่วนร่วมในการป้องกันการแพร่กระจายนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ เพราะว่าอินเดียเห็นชอบที่จะเปิดอุปกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ในทางพลเรือน 14 แห่งของประเทศตนเพื่อรับการตรวจสอบจากประชาคมโลก นายบุชยังกล่าวว่า ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-อินเดียไม่เคยมีความสำคัญเช่นปัจจุบัน การลงนามในญัตติฉบับนี้จะมีส่วนช่วยให้สองฝ่ายร่วมรับมือกับการท้าทายด้านพลังงานและความมั่นคงที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 นี้

แม้ว่าประธานาธิบดีบุชเป่าประกาศด้วยเสียงอันดังว่า ญัตติฉบับนี้จะนำมาซึ่งผลประโยชน์แก่สหรัฐฯ กับอินเดียมากมายก็ตาม แต่นักวิจารณ์มีข้อโต้แย้งว่า การลงนามในญัตติฉบับดังกล่าวเท่ากับเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการห้ามส่งออกนิวเคลียร์ที่สหรัฐฯ เคยบังคับใช้มาตลอด กล่าวคือ ตามข้อบัญญัติใน "ญัตติว่าด้วยพลังงานปรมาณู" ของสหรัฐฯ รัฐบาลสหรัฐฯ จะถ่ายโอนเทคโนโลยีนิวเคลียร์แก่ประเทศใดๆ ที่ไม่ได้ลงนามใน "สนธิสัญญาว่าด้วยการไม่แพร่กระจายนิวเคลียร์" ไม่ได้ ส่วนอินเดียนั้นแม้กระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญาฉบับดังกล่าว

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธนิวเคลียร์บางคนก็กล่าววิจารณ์ว่า เวลานี้อินเดียมีอาวุธนิวเคลียร์ 50 ลูกในครอบครอง อีกทั้งวางแผนไว้ว่า จะเพิ่มจำนวนอาวุธนิวเคลียร์ให้มากขึ้นถึง 400 ลูกภายในระยะเวลา 10 ปี ตามญัตติฉบับนี้ สหรัฐฯ จะส่งออกเชื้อเพลิงนิวเคลียร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์แก่อินเดีย เมื่อเป็นเช่นนี้ อินเดียก็สามารถนำวัสดุนิวเคลียร์ของประเทศตนไปไว้ใช้ในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์เป็นการเฉพาะได้ ฉะนั้น บรรดาผู้เชี่ยวชาญจึงมีความวิตกกันว่า มีแนวโน้มสูงที่ญัตติฉบับนี้จะก่อให้เกิดการประลองกำลังทางนิวเคลียร์ครั้งใหม่ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในย่านเอเชียใต้ และจะทำลายความมั่นคงของภูมิภาค

ขณะนี้ ประธานาธิบดีบุชได้ลงนามในญัตติดังกล่าว เป็นการปูทางให้สหรัฐฯ กับอินเดียดำเนินความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือนี้ยังต้องรอการพิจารณาอนุมัติจากองค์การระหว่างประเทศต่างๆ เช่น กลุ่มประเทศผู้สนองนิวเคลียร์และองค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ เป็นต้น จึงจะดำเนินกันได้