สำนักข่าวแห่งประเทศจีนรายงานว่า เมื่อวันที่ ๓ เมษายนที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีไทยผ่านข้อตกลงเพื่อความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ระหว่างไทยและญี่ปุ่นแล้ว
แหล่งข่าวรายงานว่า ไทยเริ่มดำเนินการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงนี้อย่างเป็นทางการกับญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี๒๐๐๔ และสามารถบรรลุข้อตกลงเชิงหลักการได้เมื่อเดือนกันยายนปี ๒๐๐๕ หลังจากนั้น การเจรจาหยุดชะงักลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์การเมืองไทย แหล่งข่าวคาดว่า ข้อตกลงนี้จะมีผลบังคับใช้ในครึ่งหลังของปีนี้
ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ข้อตกลงเพื่อความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่นจะนำทั้งผลประโยชน์และผลกระทบทางลบแก่ประชาชนทั้งไทยและญี่ปุ่น
ทางด้านผลประโยชน์ ข้อตกลงนี้จะเพิ่มการส่งออกของไทยไปยังญี่ปุ่น เพราะ ญี่ปุ่นจะลดภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย และผู้บริโภคชาวไทยจะได้ซื้อผลิตภัณฑ์และผลิตผลของญี่ปุ่นในราคา ถูก เช่นผลไม้เมืองหนาวเป็นต้น
อนึ่ง ปัจจุบัน การส่งออกและการดึงดูดทุนต่างชาติของไทยกำลังเผชิญกับการท้าทาย ต่าง ๆ การส่งออกสินค้าของไทยลดลงเนื่องจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบ กับเงินดอลล่าสหรัฐ สภาวะการลงทุนภายในประเทศก็ถูกกระทบกระเทือนจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น สถานการณ์การเมืองที่ร้อนแรง สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการทำธุรกิจของชาว ต่างชาติและกฎหมายว่าด้วยการขายปลีกปี ๑๙๙๙
ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ข้อตกลงเพื่อความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่นจะ ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีต่อการลงทุนในประเทศไทย ดึงดูดให้นักธุรกิจญี่ปุ่นไปลงทุนในไทยมากขึ้น เนื่องจาก ไทยผ่อนปรนการลงทุนจากญี่ปุ่น และลดภาษีศุลกากร จึงทำให้บริษัทญี่ปุ่นที่มีฐานการผลิตในประเทศไทยสามารถนำเข้า วัตถุดิบจากญี่ปุ่นในราคาถูกกว่า
นอกจากนี้ ไทยยังจะรับผลประโยชน์ด้านการส่งออกแรงงานไปยังญี่ปุ่น เโดยญี่ปุ่นลดมาตรฐานระดับการศึกษาของพ่อครัวไทยเพื่อเปิดโอกาส ให้พ่อครัวไทยไปทำงานใน ญี่ปุ่นมากขึ้น
สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ข้อตกลงเพื่อความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่นจะ ช่วยเสริมการแข่งขันของไทยให้เข้มแข็งขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถแข่งกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่ทำความตกลงการค้าเสรีกับญี่ปุ่นแล้ว เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศสมาชิกอาเซียนที่กำลังเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีกับญี่ปุ่น เช่น อินโดนีเซีย บรูไนและเวียดนาม
ผู้เชี่ยวชาญยังกล่าวถึงผลเสียที่จะตามมาด้วยว่า เหล็ก เหล็กกล้า และอะไหล่รถยนต์ที่ไทยผลิตจะต้องแข่งขันกับสินค้ากลุ่มเดียวกัน ที่นำเข้าจากญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญเสนอว่า รัฐบาลไทยจะต้องตั้งกองทุนสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อพัฒนาให้การ ประกอบการและการบริหารภายในดีขึ้น เพื่อรับมือกับการท้าทายที่เกิดจากการทำข้อตกลงการค้าเสรี นอกจากนี้ รัฐบาลไทยต้องเร่งแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องและให้กฎหมายดังกล่าวมีผลในทางปฎอบัติ เพื่อรับมือกับข้อตกลงเพื่อความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทย และญี่ปุ่นที่จะมีผลบังคับใช้ใน อีก๖ เดือนข้างหน้า
(cai)
|