อ่าวเป่ยปู้เป็นอ่าวที่ล้อมรอบโดยแผ่นดินจีนและเวียดนามรวมทั้งเกาะไหหลําของจีน เมื่อปี 2002 เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสีของจีนที่อยู่ทางภาคเหนือของอ่าวเป่ยปู้วางแผนจะสร้าง"เขตพัฒนาเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้"ที่ประกอบด้วยเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสี มณฑลกวางตุ้ง มณฑลไหหลําและบางมณฑลของเวียดนาม ในการประชุมความร่วมมืออ่าวเป่ยปู้ครั้งแรกที่จัดขึ้นเมื่อปี 2006 กวางสีเสนอแนวคิด"ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเขตอ่าวเป่ยปู้" เพิ่มพื้นที่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอ่าวเป่ยปู้ไปจนถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และบรูไน
ในการประชุมฟอรั่มเกี่ยวกับเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้ประจําปี 2007 ที่จัดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นางมาฮานี ไจนาล์ อาบิดิน(Mahani Zainal Abidin)เห็นว่า การจัดประชุมครั้งนี้มีความสําคัญ เมื่อผ่านการประชุมครั้งนี้แล้ว แนวคิดเกี่ยวกับความร่วมมือในเขตอ่าวเป่ยปู้กําลังปฏิบัติที่จะเป็นรูปธรรมขึ้น เธอกล่าวว่า
"ดิฉันเห็นว่าการประชุมครั้งนี้สําคัญมาก ประการแรก ได้อรรถาธิบายถึงความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและเนื้อหาที่เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นของความร่วมมือในเขตอ่าวเป่ยปู้แก่ประเทศต่างๆของอาเซียน ความร่วมมือเช่นนี้ไม่ได้จํากัดแค่ความร่วมมือทางการค้าและการผลิตเท่านั้น หากยังรวมถึงความร่วมมือทางทะเลที่สําคัญยิ่งอีกด้วย การเชื่อมประเทศต่างๆในภูมิภาคอ่าวเป่ยปู้ให้เข้าด้วยกัน ดิฉันในฐานะเป็นตัวแทนของมาเลเซียถือว่าเป็นโอกาสดีต่อประเทศตน ดิฉันเห็นว่าความร่วมมือเช่นนี้มีความหมายในการเร่งสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน"
การวางแผนและการปฏิบัติความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเขตอ่าวเป่ยปู้เกี่ยวพันกับกระบวนการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนอย่างใกล้ชิด เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2005 จีน-อาเซียนเปิดตลาดการค้าสินค้าขึ้น และในปี 2007 ได้เปิดการค้าบริการขึ้นอีก จีนกับอาเซียนมีโอกาสร่วมมือกันมากยิ่งขึ้นในด้านการขนส่งการสื่อสาร การเงินและการท่องเที่ยว ความร่วมมือเกี่ยวกับโลจิสติกส์ในท่าเรืออ่าวเป่ยปู้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ การค้าและการบริการระหว่างประเทศในเขตอ่าวเป่ยปู้ก็มีลักษณะในการส่งเสริม โดยแหล่งข่าวแจ้งว่า กลุ่มยุ่นเต๋อของกวางสีได้ไปทํากิจการขนส่งในเวียดนามแล้ว ส่วนวิสาหกิจของประเทศในเขตอ่าวเป่ยปู้เช่นไทย มาเลเซียเป็นต้นก็พากันมาลงทุนและเซ็นสัญญากับกิจการโลจิสติกส์ของกวางสี
ปัจจุบัน กลไกและเวทีความร่วมมือในเขตอ่าวเป่ยปู้ได้ก่อตั้งขึ้นในขั้นต้น ประเทศอาเซียนต่างก็เห็นด้วยว่าการจัดตั้งหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญข้ามประเทศที่เกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเขตอ่าวเป่ยปู้ ร่วมกันอภิปรายกลไกความร่วมมือและมาตรการที่เกี่ยวกับความร่วมมือต่างๆ
นายอันนูร์ โรฟิค ฮาตี(Annur Rofiq Hadi)รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสังคมอินโดนีเซียกล่าวว่า
1 2
|