ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ: ครับ ในสายตาของท่าน อาเซี่ยนมีบทบาทอย่างไรบ้างในเวทีภูมิภาคและเวทีของโลกครับ
คุณนปฎล: อาเซี่ยนเรามีนโยบายอย่างหนึ่งก็คือ การมองไปสู่โลกภายนอกนะครับ เพราะว่า เราตระหนักดีว่า เราต้องมีความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกเพื่อให้มีความเจริญมากยิ่งขึ้น และไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเพียง 10 ประเทศในภูมิภาคนี้ได้ เราก็ต้องมีความสัมพันธ์กับประเทศที่อยู่ใกล้เคียง เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เลยไปถึงรัสเซีย ถึงอเมริกา ถึงแคนาดา ถึงสหภาพยุโรป แล้วก็มีสหประชาชาติด้วย ทั้งหมดนี้เราเรียกว่าเป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซี่ยน เราก็ทำงานร่วมกับเขาเพื่อเกิดการพัฒนาในภูมิภาค เมื่อก่อนหน้านี้ เมื่อระยะแรก ประเทศเหล่านี้ก็เคยมาช่วยเหลืออาเซี่ยนเยอะในการพัฒนาเศรษฐกิจ ในการพัฒนาสังคม ต่อมาก็มาร่วมในด้านการเมืองและความมั่นคง เพราะว่าประเทศเหล่านี้มีศักยภาพสูง ต่อมา สถานการณ์เปลี่ยนไป ประเทศเหล่านี้ก็มองเห็นว่า อาเซี่ยนมีประโยชน์กับเขาในการที่จะช่วยเขาในเรื่องต่างๆหลายเรื่อง เช่น การต่อต้านยาเสพติด การต่อต้านการก่อการร้าย และการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ แล้วก็ต่อมาก็มีการจัดตั้งการประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นี่ก็เป็นเวทีเดียวในเอเชีย-แปซิฟิกที่จะมาหารือกันในเรื่องของสถานการณ์ความมั่นคง ซึ่งก็มีการประชุมไปที่กรุงมานิลา ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมนี้เองครับ
ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ: ครับ การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศที่เพิ่งเสร็จสิ้นลงไปที่กรุงมานิลา ท่านสรุปผลสำเร็จที่สำคัญอย่างไรบ้างนะครับ
คุณนปฎล: ที่สำคัญอันแรกคือ รัฐมนตรีต่างประเทศต่างๆได้พิจารณาร่างของกฎบัตรอาเซี่ยนเป็นครั้งแรก เพราะว่าตั้งแต่ที่ท่านหัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซี่ยนมอบหมายให้คณะทำงานระดับสูงไปยกร่างขึ้นมา เขาใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 8 เดือนที่จะไปยกร่างนี้ขึ้นมา เป็นครั้งแรกที่รัฐมนตรีเขียนร่างทั้งหมดทั้งฉบับ แต่ก็เป็นร่างที่ยังมีสิ่งที่ต้องแก้ไขกันอีกมาก รัฐมนตรีก็ให้แนวทางว่า ในเรื่องสำคัญๆควรจะแก้ไขในลักษณะอย่างไร ตอนนี้ก็มอบหมายให้คณะทำงานไปปรับปรุงขึ้นมาใหม่ อีกเรื่องหนึ่งก็เป็นเรื่องของข้อเสนอของไทย พยายามให้มีความร่วมมือกันเกี่ยวกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์โดยสันติ ให้มีการร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซี่ยน ศึกษาและพัฒนาความสามารถในการรักษาความปลอดภัยของการใช้พลังงานนิวเคลียร์โดยสันติ แล้วก็ให้มีกฎระเบียบต่างๆสอดคล้องกัน เพื่อที่ว่าเมื่อถึงเวลาที่มาสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานปรมาณูก็จะได้สร้างหลายอย่างปลอดภัย มีการใช้อย่างปลอดภัย อีกเรื่องหนึ่งที่ไทยเราได้พยายามจัดการและเราคิดว่าเป็นความสำเร็จก็คือ การทำให้อาเซี่ยนให้ประโยชน์กับประชาชนมากขึ้น ถึงเวลานี้ เราก็มีการดูรายละเอียดกันว่าจะต้องทำอย่างไร หรือการที่ประเทศสมาชิกตกลงกันว่า จะช่วยเหลือคนของตนเองในประเทศที่สาม เช่น ถ้าเกิดเหตุการณ์คนไทยตกทุกข์ได้ยากในประเทศหนึ่งประเทศใดที่ไทยไม่มีสถานทูต แล้วอีกอันหนึ่งที่เราคิดว่ามีความคืบหน้ามากก็คือ การประชุมในกรอบที่เรียกว่า อาเซี่ยนบวก 3 อาเซี่ยนบวก 3 ก็มีจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี อันนี้เรากำลังดูว่า จีน ญี่ปุ่น เกาหลีมีความร่วมมือกัน 10 ปีมาแล้ว ตอนนั้นเกิดจากเรื่องปัญหาค่าเงินนะครับ วิกฤติทางเศรษฐกิจขึ้นมา เพราะว่าค่าเงินบาทถูกโจมตีและส่งผลไปยังเงินสกุลต่างๆทั่วโลก ตอนนี้ มันทำให้อาเซี่ยนกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีมีความร่วมมือกันมากขึ้น และเราก็ร่วมมือกันไม่เฉพาะในด้านเศรษฐกิจและด้านการเงิน แต่ก็มีด้านอื่นๆ เช่น ด้านสังคัม ด้านวัฒนธรรม ด้านความมั่นคง ด้านการเมือง แต่ในด้านสังคมวัฒนธรรมอย่างไทยกับจีน เราก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากขึ้น ในขณะนี้ เมื่อครบ 10 แล้ว เราก็จะมองดูทิศทางว่า ในอนาตค ความร่วมมือในกรอบอาเซี่ยนบวก 3 เราจะก้าวไปยังไง อันนี้ไทยเราก็เสนอท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศต่างๆไว้ว่า เราต้องมาดูเรื่องความร่วมมือด้านการเงินมาอีก เพราะขณะนี้ สถานการณ์มันตรงข้ามกับ 10 ปีที่แล้ว 10 ปีที่แล้วเงินทุนไหลออก ค่าเงินบาทถูกโจมตีจนต้องลดค่าเงินบาท ตอนนี้ เงินทุนไหลเข้าภูมิภาคของเรา จะทำยังไงที่จะให้ค่าเงินมีเสถียรภาพ ไม่ใช่ว่า ค่าเงินแข็งขึ้นแข็งขึ้นทำให้ผู้ส่งออกของเราในประเทศสมาชิกอาเซี่ยนสู้กับคนอื่นไม่ได้ และก็จะส่งผลไปยังทั้งภูมิภาคและญี่ปุ่น เกาหลีด้วย เพราะฉะนั้น เราจึงน่าจะให้ทางกระทรวงการคลังของทั้งประเทศ ทางธนาคารกลางทุกประเทศมาร่วมมือกันดูที่ว่า มีจุดอะไรบ้างที่เราจะช่วยเหลือกันได้เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกจิขึ้นมาอีก
|