|
(GMT+08:00)
2007-09-07 19:45:12
|
|
ความพยายามส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับจีน
cri
ท่านผู้ฟังครับ ปีหลัง ๆ นี้ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยได้พัฒนาไปอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจและการค้า ได้เติบโตนั้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเร็ว ๆ นี้ นางนางอรนุช โอสถานนท์ รัฐมนตรีข่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทยได้กล่าวถึงพื้นฐานของการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับจีนขณะให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอภาคภาษาไทยว่า "ตัวดิฉันเองก็เคยเป็นข้าราชาการอยู่ในกระทรวงพาณิชย์มาก่อนหน้านี้ ได้ทํางานในด้านความร่วมมือระหว่างไทยกับจีน เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศยังมีจํานวนน้อย เมื่อกลับเข้ามาในตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดิัฉันสังเกตว่า มูลค่าการค้าของเราได้ขยายตัวไปมาก และความร่วมมือทางด้านต่างๆได้มีการลงนามระหว่างกันมากขึ้น เนื่องจากเราเป็นกระทรวงการค้า คิดว่าน่าที่จะมีการพัฒนาทางด้านความร่วมมือ ด้านเศรษฐกิจ การลงทุนระหว่างกัน และมีการแลกเปลี่ยนทั้งทางด้านวัฒนธรรมระหว่างกันด้วย เพราะว่าคนไทยกับคนจีนมีความใกล้ชิดกันมาก มีความรู้สึกที่ดีต่อกัน เรามีคําพูดเสมอว่าคนไทยกับคนจีนไม่ใช่อื่นใครเป็นพี่น้องกัน เพราะฉะนั้น โดยพื้นฐานแล้ว ความรู้สึกของคนไทยต่อคนจีนเป็นความรู้สึกที่เป็นมิตร คนไทยส่วนใหญ่จะมีเชื้อสายจีนผสมอยู่ คิดว่าพื้นฐานของความเป็นมิตรระหว่างกัน การมีอุปนิสัยใจคอใกล้เคียงกัน เราน่าจะมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจร่วมมือกันได้เป็นอย่างดี " ปัจจุบันไทยกับจีนได้เปิดตลาดเสรีขึ้น สิ้นค้าของสองฝ่ายมีการแข่งกันในหลายๆด้าน สำหรับเรื่องนี้ นางอรนุช กล่าวว่า "เป็นที่ทราบกันดีว่า ยิ่งมีการเปิดเสรีทางการค้ามากขึ้น ทางจีนเองก็ได้เป็นภาคีของ WTO สินค้าอุตสาหกรรมของไทยหรือของประเทศอื่นๆในอาเซียนมักจะไม่สามารถแข่งขันกับของจีนได้ เพราะว่าต้นทุนสินค้าของไทยจะเป็นสินค้าที่มีราคาสูง ดังนั้น ในเรื่องนี้ทางฝ่ายไทยจึงเห็นว่า จะต้องมีตัวแทนฝ่ายไทยไปลงทุนที่เมืองจีน หรือทางฝ่ายจีนเองมาร่วมลงทุนกับเรา ซึ่งเป็นการร่วมทุนด้วยกัน เพราะว่าอุตสาหกรรมบางแขนงทางจีนก็มีเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทางฝ่ายไทยด้วย ซึ่งแทนที่จะแข่งขันกันก็จะกลายเป็นหุ้นส่วนของกันและกัน และช่วยกันบุกเบิกตลาด บางอย่างไทยอาจจะผลิตได้ดีกว่า หรือว่าบางอย่างจีนผลิตได้ดีกว่า ก็แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระหว่างกันได้ ทางฝ่ายจีนนอกจากมีแรงงานที่มีต้นทุนตํ่ากว่าแรงงานในประเทศไทยแล้ว ยังมี ทรัพยากรซึ่งมีวัตถุดิบมาก เพราะฉะนั้น ความได้เปรียบของประเทศจีนจึงมีเยอะ อีกประการหนึ่งในการเปิดสัมปทานโครงการใหญ่ๆของเรา ฝ่ายจีนสามารถเข้ามาแข่งขันได้ แล้วได้รับชัยชนะในการประมูลหลายๆเรื่อง ขณะนี้กําลังเจรจากันอยู่ในเรื่องเกี่ยวกับนําหัวรถจักรของจีนมาแลกกับสินค้าเกษตรของไทย ไม่ใช่ว่าเรามองว่าจีนจะเป็นคู่แข่งอย่างเดียว เรามองว่าจีนเป็นตลาดที่สามารถรองรับสินค้าไทยได้ด้วย อะไรที่ไม่สามารถแข่งกันได้ เราก็พยายามเข้าไปเป็นหุ้นส่วนโดยมีการลงทุนระหว่างกัน" ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมปี 2003 ที่ผ่านมา จีนกับไทยเริ่มปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วยการเก็บภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ต่อผลไม้และผัก จนถึงขณะนี้ สภาพการนำเข้าและส่งออกผลไม้และผักระหว่างสองประเทศเป็นอย่างไร ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกล่าวว่า "ตั้งแต่มีข้อตกลงกันในเรื่องภาษีผักและผลไม้ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 30% ในตอนแรกเมื่อมีการตกลงกัน ทางเกษตรกรก็เป็นห่วงมากว่าผลไม้่จากจีนจะเข้ามาทุ่มตลาดในประเทศไทย แต่เมื่อดูจากสถิติแล้ว การส่งออกก็เป็นไปอย่างราบรื่น เราส่งผลไม้่ เช่นลําไย ทุเรียน และมังคุดส่งออกไปจีน ส่วนจีนสามารถส่งแอปเปิ้ลเข้ามาได้จํานวนมาก แล้วก็ยังมีผักอย่างแดรอตเข้ามา นอกจากนั้นแล้ว ก็ยังเห็นว่าผลไม้หน้าหนาวและดอกไม้่ เมื่อก่อนนี้เราต้องสั่งมาจากฮอลแลนด์ แต่เดี๋ยวนี้สามารถนํามาจากเมืองจีนได้หมด ช่วงหน้าหนาว ปีใหม่ ดอกไม้่จากยุโรปจะลดลงมาก จะสั่งเข้ามาจากเมืองจีน ก็เป็นการขยายการส่งออกและการนําเข้าของทั้งสองฝ่าย ถ้าดูสถิติโดยละเอียดแล้ว ดิฉินคิดว่าการขยายการส่งออกและนําเข้าผักและผลไม้ระหว่างไทยและจีนนับตั้งแต่มีข้อตกลงก็ได้ขยายตัวในลักษณะที่เป็นไปด้วยดีตลอดมา"
|
|
|