ท่านผู้ฟังคะ งานมหกรรมจีน-อาเซียนครั้งที่ 4 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-31 ตุลาคมนี้ที่เมืองหนานหนิงเมืองเอกของเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสีของจีน
งานมหกรรมจีน-อาเซียนได้มีขึ้นตามการริเริ่มของนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีน เป็นงานแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศระดับชาติที่ร่วมกันจัดขึ้นโดยหน่วยงานบริหารทางเศรษฐกิจและการค้าของจีนกับ 10 ประเทศอาเซียนรวมทั้งสํานักเลขาธิการอาเซียนที่เมืองหนานหนิงของกวางสีในทุกปี งานมหกรรมจีน-อาเซียนมีวัตถุประสงค์เพื่อ"ส่งเสริมการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ร่วมกันใช้โอกาสการพัฒนาและความร่วมมือ" ครอบคลุมการค้าสินค้า ความร่วมมือด้านการลงทุนและการค้าบริการ เป็นเวทีใหม่ที่ขยายการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางการค้าระหว่างจีนกับอาเซียน
นับตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา งานมหกรรมจีน-อาเซียนได้จัดขึ้นสามครั้งด้วยความสําเร็จ ได้ประสบผลสําเร็จทั้งในด้านการค้าเกี่ยวกับสินค้าและความร่วมมือด้านการลงทุนด้วย ท่านผู้ฟังคงอยากจะทราบว่างานมหกรรมจีน-อาเซียนครั้งที่ 4 ที่จะเปิดขึ้นในไม่ช้านี้จะมีจุดเด่นใหม่อะไรไบ้าง? นายหวาง เหลย รองเลขาธิการสํานักเลขาธิการงานมหกรรมจีน-อาเซียนกล่าวว่า
"จุดเด่นประการแรกคือ เริ่มตั้งแต่งานมหกรรมจีน-อาเซียนครั้งนี้ เราจะใช้กลไกประเทศหลักเป็นครั้งรแรก ประการที่สองคือส่งเสริมความร่วมมือที่มุ่งให้ได้ผลที่ปฏิบัติได้ ปีนี้มีประเด็นใหม่คือความร่วมมือระหว่างท่าเรือของจีนกับอาเซียน จะจัดการประชุมฟอรั่มว่าด้วยความร่วมมือและการพัฒนาเกี่ยวกับท่าเรือจีน-อาเซียน ประการที่สามคืองานมหกรรมจีน-อาเซียนครั้งนี้จะเน้นการเพิ่มประสิทธิผลทางเศรษฐกิจและการค้าของงานมหกรรม ยกระดับของงานมหกรรมให้สูงขึ้น"
ตามความเข้าใจร่วมกันของฝ่ายต่างๆที่เข้าร่วมงานมหกรรมจีน-อาเซียนครั้งที่ 4 เริ่มจากปีนี้เป็นต้นไป ทุกครั้งจะเชิญประเทศอาเซียนหนึ่งถึงสองประเทศเป็นประเทศหัวใจสําคัญ" บรูไนเป็นประเทศหลักในปีนี้
นอกจากนี้ นิทรรศการเกี่ยวกับ"เมืองที่มีเสน่ห์"ได้กลายเป็นจุดเด่นที่สุดของงานมหกรรมจีน-อาเซียนครั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างท่าเรือ "เมืองที่มีเสน่ห์"ในงานมหกรรมจีน-อาเซียนครั้งนี้ล้วนเป็นเมืองท่า 11"เมืองที่มีเสน่ห์"อันได้แก่เทียนสินของจีน กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน(Bandar Seri Begawan)ของบรูไน เมืองสีหนุ(Sihanoukville)ของกัมพูชา เมืองปาเลมบาง(Palembang)ของอินโดนีเซีย เมืองซาวานนาท์(Savannakhet)ของลาว เมืองกลัง(Klang)ของมาเลเซีย กรุงย่างกุ้งของพม่า อ่าวซูบิก(Subic bay)ของฟิลิปปินส์ กรุงสิงคโปร์ของสิงคโปร์ จังหวัดชลบุรีของไทยและอ่าวฮาลอง(Ha Long bay)ของเวียดนาม
ปีหลังๆมานี้ จีนกับประเทศอาเซียนดําเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงุทนเพิ่มมากขึ้น เพื่อสอดคล้องกับความต้องการใหม่ในกระบวนการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน เร่งแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายทั้งในด้านนโยบาย กฎข้อบังคับ และกลไกเป็นต้น งานมหกรรมจีน-อาเซียนได้ปรับปรุงทั้งเนื้อหา รูปแบบและกลไกให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกครั้งก็ได้รับความชื่นชมจากเจ้าหน้าที่และนักธุรกิจของจีนและประเทศต่างๆในอาเซียน งานมหกรรมจีน-อาเซียนได้กลายเป็นเวทีสําคัญที่ดําเนินความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียน
รองเลขาธิการหวาง เหลย ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า งานมหกรรมจีน-อาเซียนประสบผลสําเร็จมีปัจจัยสองประการ เขากล่าวว่า "ประการแรกคือผู้นําของจีนและประเทต่างๆในอาเซียนต่างให้ความสําคัญมาก เป็นผลงานที่ได้รับจากความพยายามร่วมกันของหน่วยงานจัดงานมหกรรมทั้งของจีนและอาเซียน ประการที่สอง งานมหกรรมจีน-อาเซียนมีขึ้นและประสบผลสําเร็จเป็นผลที่ได้มาจากความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างจีนกับอาเซียนพัฒนาไปด้วยดี โดยเฉพาะกระบวนการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน"
ท่านผู้ฟังคะ ที่จบลงคือ บทรายงานข่าวเรื่อง งานมหกรรมจีน-อาเซียนครั้งที่ 4 ใกล้จะเปิดขึ้น ในรายการพรุ่งนี้ เราจะแนะนําสภาพเปิดงานมหกรรมจีนอาเซียนครั้งที่ 4 และการประุชุมสุดยอดเกี่ยวกับการลงทุนและการค้าจีน-อาเซียน สวัสดีค่ะ
|