ท่านผู้ฟังครับ การประชุมสุดยอดแห่งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนครั้งล่าสุดได้จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายนที่ผ่านมา เมื่อเร็วๆนี้ ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอประจำกรุงเทพฯได้ขอสัมภาษณ์อาจารย์พัชราวลัย วงศ์บุญสิน ผู้่เชี่ยวชาญด้านอาเซียนจากสถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับประเด็นผลสำเร็จของการประชุมสุดยอดอาเซียนและอื่นๆ ต่อไปขอเชิญท่านฟังคำให้สัมภาษณ์ของอาจารย์พัชราวลัย วงศ์บุญสินครับ
ผู้สื่อข่าว?สวัสดีครับ การประชุมสุดยอดแห่งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนครั้งล่าสุดได้จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายนที่ผ่านมา อาจารย์ประเมินกฎบัตรอาเซียนและผลสําเร็จอื่นๆของการประชุมสุดยอดแห่งสมาคมอาเซียนครั้งนี้อย่างไรครับ
อาจารย์พัชราวลัย?ความสําเร็จของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้มาจากการที่สามารถที่จะดึงประเทศสมาชิกเข้ามาประชุมกันได้พร้อมทั้งหมด แล้วสามารถทําให้ผลการประชุมครั้งนี้มีความสําคัญโดยนัยยะแล้วสามประการด้วยกัน คือประการแรก เป็นการประชุมสุดยอดอาเซียนในลักษณะที่ผลักดันให้อาเซียนก้าวต่อไปในอนาคตอย่างเข้มแข็งมากขึ้น การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้จัดขึ้นในช่วงเมื่ออาเซียนจัดขึ้นครบรอบ 40 ปี ในขณะเดียวกันก็เป็นการครบรอบความสัมพันธ์อาเซียน+3 สิบปีเหมือนกัน แล้วในความสัมพันธ์อาเซียนกับสหภาพยุโรป 30 ปี เพราะฉะนั้นมีนัยยะสําคัญมาก พยายามให้ความสัมพันธ์ระหว่างภายในอาเซียนและกับนอกอาเซียนทั้งหลายที่เป็นพันธมิตรด้วยกันเดินทางไปด้วยกัน อันนี้คือความสําเร็จในภาพกว้างๆของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ิ อีกส่วนหนึ่งที่เป็นความสําเร็จของการประชุมครั้งนี้คือสามารถที่จะบรรลุการยอมรับการลงนามในกฎบัตรอาเซียน เพราะฉะนั้นก็เป็นสิ่งที่ปรับคําถามใหม่ว่าพอเริ่มมาจากที่ว่าความสําเร็จของการประชุมสุดยอดก่อนมาที่ความสําเร็จของกฎบัตร เพราะว่าแต่เดิมนั้นประเทศสมาชิกหรือมีเสียงห่วงใยว่ากฎบัตรอาเซียนนี้จะผ่านไม่ได้ แล้วสิ่งที่สําคัญของกฎบัตรอาเซียนครั้งนี้คือว่าจะทําให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ก้าวต่อไปอย่างมั่นคงและเชื่อถือได้ เพราะว่าเท่าที่ผ่านมา อาเซียนบอกว่าเป็นกลุ่มประเทศที่ร่วมมือกันแบบภาครัฐอย่างเดียว เป็นความร่วมมือแบบหลวมๆ อาศัยความพร้อมใจ อาศัยความสมัครใจเป็นหลัก มีความยืดหยุ่นมาก แต่อย่างไรก็ตาม การที่มีกฎบัติอาเซียนเหล่านี้ทําให้อาเซียนมีนัยยะสองกรณีด้วยกัน คือหนึ่ง เป็นองค์กรที่ผูกพันกันในเชิงกฎหมายภายในอาเซียนเอง ประเด็นที่สองคืออาเซียนมีฐานะเป็นองค์กรนิติบุคคลในเวทีระหว่างประเทศ มีสิทธิมีเสียงที่จะเข้าไปแสดงทัศนะในความเป็นอาเซียนเองในเวทีระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหประชาชาติ อันนี้เป็นประเด็นก้าวเด่นสําคัญอย่างยิ่ง แล้วตัวที่จะเป็นตัวรองรับต่อมาก็คือได้เพิ่มบทบาทของผู้นําอาเซียน ให้มีอํานาจมากขึ้นในการที่ตัดสินใจกับปัญหาต่างๆ อีกอันหนึ่งคือว่าให้บทบาทของตัวเลขาธิการอาเซียนที่จะเป็นตัวแทนของอาเซียนในเวทีต่างๆ เพราะฉะนั้นจะเป็นเสียงอีกหนึ่งเสียงที่เพิ่มเติมจากประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นสมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศเหล่านั้นอยู่แล้ว เสียงของอาเซียนจะหนักแน่นมากขึ้น 10 เสียงของอาเซียนจะบวกอีกหนึ่งเสียงของตัวเลขาธิการอาเซียนเป็น 11 เสียง
1 2
|