ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการเมืองระดับรองสถานที่จัดงานกีฬาโอลิมปิกกรุงปักกิ่งปี 2008 วันนี้เรายังคงแนะนำเมืองเสิ่นหยางต่อไป
ท่านผู้ฟังครับ เมืองเสิ่นหยางจะจัดการแข่งขันฟุตบอลส่วนหนึ่งของงานกีฬาโอลิมปิกกรุงปักกิ่ง การแข่งขันเหล่านี้ ล้วนจัดขึ้นในศูนย์กีฬาโอลิมปิกเสิ่นหยางที่สร้างใหม่ เริ่มงานก่อสร้างเมื่อเดือนมีนาคมปี 2006 สร้างเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2007 ศูนย์กีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่เขตเมืองใหม่ของเมืองเสิ่นหยาง การคมนาคมสะดวกมาก ทางใต้ของศูนย์กีฬาเป็นสะพานข้ามแม่น้ำ 2 สะพาน ยืนบนสะพานจะสามารถมองเห็นความใหญ่โตของศูนย์กีฬา
นายหลู่โป๋ผู้จัดการใหญ่ของศูนย์กีฬาโอลิมปิกเสิ่นหยางกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ดูจากภายนอกแล้ว รูปร่างของศูนย์กีฬาโอลิมปิกคล้าย ๆ กับโรงละครกรุงซิดนีย์ กล่าวถึงงานก่อส้รางของอาคารกีฬา นายหลู่โป๋กล่าวว่า
"การก่อสร้างศูนย์กีฬาแห่งนี้ได้รับความสนใจและการสนับสนุนจากแฟนบอลส่วนมาก ซึ่งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกก็ได้ให้ข้อมูลที่มีคุณค่ามากมาย การสนับสนุนและความช่วยเหลือจากฝ่ายต่าง ๆ ทำให้อาคารกีฬาสามารถสร้างเสร็จภายในเวลา 15 เดือน "
ศูนย์กีฬาโอลิมปิกเสิ่นหยางประกอบด้วยสนามกีฬาหลักที่บรรจุผู้ชม 6หมื่นคนและหอกีฬาในร่มอีก 3 แห่ง มองดูจากจุดยืนที่ห่างไกลแล้ว รูปร่างของสนามกีฬาหลักเหมือนกับมงกุฎแก้วผลึกในมือของเทพธิดาแห่งชัยชนะ ส่วนหอกีฬาในร่มสองแห่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกดูเหมือนกับปีกทั้งสองข้างของเทพธิดาแห่งชัยชนะนั้น ชาวเมืองเสิ่นหยางตั้งชื่อให้กับศูนย์กีฬาโอลิมปิกว่าเป็นสนามกีฬา "มงกุฎแก้วผลึก" นายหลู่โป๋ผู้จัดการใหญ่กล่าวว่า
"ความหมายของสิ่งก่อสร้างแห่งนี้ก็คือ 'มงกุฎแก้วผลึก' เราได้ออกแบบหลังคาสองชั้นเป็นรูปโค้งตามความหมายของ'มงกุฎแก้วผลึก' ซึ่งหลังคาชั้นบนสร้างด้วยแก้วกระจก ชั้นล่างสร้างด้วยกระดานสะท้อนแสง ทำให้สนามกีฬา'มงกุฎแก้วผลึก'สวยงามและสว่างมาก"
ท่านผู้ฟังครับ ผู้ออกแบบและดำเนินการก่อสร้างศูนย์กีฬาโอลิมปิกเสิ่นหยางใช้ความพยายามในทุกขั้นตอนเพื่อให้เห็นถึงแนวคิดหลัก 3 ประการของงานกีฬาโอลิมปิกกรุงปักกิ่ง นั่นคือ โอลิมปิกนิวไฮเทค โอลิมปิกสีเขียวและโอลิมปิกเพื่อมนุษยชาติ
ในด้านการออกแบบสนามกีฬา ผู้ออกแบบพยายามให้ความสะดวกแก่ผู้ชม โดยปกติแล้ว สนามกีฬาส่วนมากจะแบ่งเป็นชั้นล่าง ชั้นกลางและชั้นบน ผู้ชมการแข่งขันที่นั่งอยู่ชั้นบนจะรู้สึกไม่ค่อยสบายเพราะที่นั่งสูงชัน ดังนั้น การออกแบบที่นั่งของศูนย์กีฬาเสิ่นหยางได้มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นที่นั่งสองชั้นเท่านั้น ทำให้ผู้ชมที่นั่งอยู่ชั้นที่สองสามารถดูการแข่งขันได้อย่างสบาย ขณะเดียวกัน ที่นั่งชั้นที่หนึ่งหรือชั้นล่างใกล้กับพื้นหญ้าและลู่วิ่ง จะลดระยะห่างระหว่างนักกีฬาและผู้ชมอีกด้วย นอกจากนี้ การออกแบบของศูนย์กีฬายังคำนึงถึงความต้องการของผู้ชมซึ่งเป็นผู้พิการ ได้สร้างทางผ่านและที่นั่งสำหรับคนพิการ ทั้งนี่ทำให้เราเห็นถึงแนวคิดที่ว่าโอลิมปิกเพื่อมนุษยชาติ
1 2
|