China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2008-02-13 14:27:33    
ความเป็นมาและสภาพการดำเนินงานของสถาบันขงจื๊อในเทศบาลเบตงในจังหวัดยะลา

cri

ท่านผู้ฟังครับ ปัจจุบัน ในทั่วราชอาณาจักร์ไทย สถาบันขงจื๊อ สถาบันเผยแพร่ภาษาจีนกลาง ที่ไทยกับจีนร่วมกันจัดตั้งขึ้นนั้น มี 12 แห่ง สถาบันขงจื๊อในเทศบาล เบตงในจังหวัดยะลาก็เป็นหนึ่งในนั้น เมื่อเร็วๆนี้ นางอัจฉราภรณ์ ยังอภัย ผู้อำนวยการกองการศึกษาเทศบาลเมืองเบตงและผู้อำนวยการฝ่ายไทยของสถาบันขงจื๊อเทศบาลเมืองเบตงได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอประจำประเทศไทย เกี่ยวกับความเป็นมาและสภาพการดำเนินงานของสถาบันขงจื๊อแห่งนี้ ต่อไปขอเชิญท่านฟุงคำให้สัมภาษณ์

อยากให้ผ.อ.ช่วยบรรยายสรุปความเป็นมาของสถาบันขงจื๊อเทศบาลเมืองเบตงนะครั้ง

"ค่ะ สวัสดีค่ะ ในเรื่องความเป็นมาของสถาบันขงจื๊อก็คงจะพูดก่อนว่า ในพื้นที่อำเภอเบตงมีพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนหลากหลายภาษา นอกจะเป็นภาษาฮกเกี้ยน กวางตุ้ง ไหหลำ หรือภาษาแต้จิ๋ว แต่จริงๆแล้ว มันมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน จะต้องเรียนรู้ภาษาจีนกลางซึ่งเป็นภาษาแม่บทของประเทศ และก็ภาษาจีนกลางเรามองว่า ในความกว้างหน้าต่อไปนี้ เราคาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการค้า เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง จริงๆแล้ว ทุกวันนี้เราต้องยอมรับว่า ภาษาจีนมีอิทธิพลต่อคนทั่วโลก และก็การค้า ซึ่งถ้าสมมติว่าเราได้พัฒนาประชาชนของเรา ให้มีพื้นฐานความรู้ด้านภาษาจีนกลางที่ถูกต้อง และก็นำไปใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันได้ ดิฉันคิดว่า เมืองเบตงเป็นเมืองความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่สามารถจะสร้างอาชีพให้กับคนไทย หรือคนที่มาอยู่ในเบตง ได้เรียนรู้ นอกจากนี้ ก็ยังใช้ภาษาจีนกลางต่อย่อในการศึกษาต่อได้ด้วย เพราะฉะนั้น ความเป็นมาของสถาบันขงจื๊อ ท่านนายกฯก็ได้เล็งเห็นว่า อันนี้ เราต้องทำความร่วมมือกับสถาบันขงจื๊อโดยมีสถาบันฮั่นป้าน ที่เราเรียกว่า สำนักงานการศึกษาภาษาจีนเพื่อชาวต่างชาติ ได้ให้การสนับสนุนและมีคู่partner ในฉงชิ่ง ซึ่งจะเป็นคู่partnerในเรื่องจัดการหลักสูตร สำหรับการศึกษาจากสถาบันขงจื๊อ เทศบาลเมืองเบตงอาจจะแปลกจากที่อื่น เนื่องจากว่า เราเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะฉะนั้นจัดการศึกษาเราต้องนึกถึงสามระบบคือ ในโรงเรียน นอกโรงเรียนและตามอัธยาศัย ส่วนใหญ่ตอนนี้เราจะเน้นในเรื่องการศึกษาตามอัธยาศัย ก็หมายความว่าเราเล็งไปกลุ่มเป้าหมายที่ไม่รู้ภาษาจีนเลย ให้มาเรียนภาษาจีนกลาง และกลุ่มที่สองคือรู้ภาษาจีนบ้างแล้ว แต่เขียนไม่ได้ อ่านไม่ได้ ก็ต้องมาต่อย่อในชุดที่สอง กลุ่มที่สามคือ เรียนรู้ได้หมดแล้วแต่เพิ่มทักษะในเรื่องภาษาแบบสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพราะฉะนั้นเราจึงมองว่า ที่เราทำข้อตกลงจะเป็นประโยชน์มหาศาล ที่จะทำให้สถาบันขงจื๊อเป็นศูนย์กลาง เป็นที่พึ่งพิงของการเรียนภาษาจันที่ถูกต้อง เพราะได้ต้องยอมรับว่าในเมืองเบตง คนรู้ภาษาจีน อ่านได้เขียนได้แต่ไม่รู้เทคนิคในการเรียนการสอนที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น สถาบันขงจื๊อจึงเป็นศูนย์กลางชาวไทยเชื้อสายจีนทั้งหมดและก็ชาวไทยที่ต้องการพัฒนา นอกจากนั้น สิ่งที่แปลกก็คือ ยังมีชาวไทยมุสลิมซึ่งสนใจและเห็นประโยชน์ในเรื่องของภาษาจีนกลาง สำหรับการดำเนินงานของขงจื๊อ ก็จะมีสองฝ่าย คือ ฝ่ายไทยและฝ่ายจีน ส่วนฝ่ายไทย เราจะดำเนินงานในการประสานงาน ติดต่อบริการและก็มีเข้าประชุมร่วมกันในเรื่องของการใช้ภาษาและวัฒนธรรมควบคุมกับการจัดกิจกรรมบ้านเมืองด้วย อันนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการจัดตั้งสถาบันขงจื๊อ"

1 2