ศูนย์ทิเบตวิทยา เป็นองค์กรวิจัยประวัติศาสตร์ สถานภาพในปัจจุบันและการพัฒนาในอนาคตของทิเบตและเขตพื้นที่อื่น ๆ ที่มีชาวทิเบตพักอาศัยอยู่ จัดตั้งขึ้นที่กรุงปักกิ่งเมื่อปี ๑๙๘๖ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทิเบตวิทยา รุ่นหนึ่ง วันที่ ๒๖ มีนาคม ผู้เชี่ยวชาญ ๔ คนจากศูนย์ทิเบตวิทยา ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวทั้งจีนและต่างประเทศ ขณะกล่าวถึงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ใช้กำลังรุนแรง ๑๔ มีนาคม ที่เมืองลาซา นาย ลาปาผิงโช่ ผู้อำนวยการศูนย์ทิเบตวิทยา กล่าวว่า เหตุการณ์ใช้กำลังรุนแรงที่เมืองลาซา มีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่ลึกซึ้ง เขากล่าวว่า
การเกิดเหตุการณ์ก่อความไม่สงบเช่นนี้เป็นเพราะว่า พวกเขาหมายจะรื้อฟื้นระบบการเมืองที่รวมการเมืองกับศาสนาเป็นหนึ่งเดียว พวกลัทธิแบ่งแยกดินแดนในสมัยนี้ไม่พอใจที่ทิเบตไม่มีระบบการเมืองศักดินาที่รวมการเมืองกับศาสนาเป็นหนึ่งเดียว ยุคสมัยที่ใช้ระบบทาสศักดินาในอดีตของทิเบต ซึ่งประชากร 95%เป็นทาสกสิกรนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว พวกเขาไม่พอใจ สถานภาพทางสังคมทิเบตที่เคยด้อยพัฒนาอย่างมาก และถูกปิดล้อมจากภายนอกนั้นหมดสิ้นไปแล้ว พวกเขาไม่พอใจ พวกเขาหมายจะเปลี่ยนแปลงสถานภาพเช่นนี้ กล่าวในที่สุดแล้ว สิ่งที่เรียกว่า เอกราชของทิเบตก็คือ กลุมทะไล ลามะต้องการฟื้นฟูระบบที่รวมการเมืองกับศาสนาเป็นหนึ่งเดียวกัน รื้อฟื้นระบบทาสกสิกรศักดินาในอดีต
เมื่อทศวรรษปี ๑๙๕๐ ทิเบตที่อยู่ภายใต้การปกครองของกลุมทะไลลามะ เป็นสังคมทาสกสิกรศักดินา ทาสกสิกรและทาสจำนวน95% ของประชากรทั้งหมดไม่มีปัจจัยการผลิตและความอิสระเสรีทางร่างกาย มีชีวิตที่ โศกเศร้าน่าเวทนา พวกขุนนาง ผู้ดี และพระสงฆ์ระดับสูงประกอบเป็นชนชั้นปกครองของทิเบต จำนวนคนกลุ่มนี้รวมแล้วยังไม่ถึง 5%ของประชากรทั้งหมดของทิเบต แต่กลับได้ครองปัจจัยการผลิตและทาสกสิกรทั้งหมด ปี ๑๙๕๑ รัฐบาลส่วนกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นทิเบตได้ลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการปลดแอกทิเบตด้วยสันติวิธี ทิเบตได้ปลดแอกอย่างสันติ เนื่องจากพิจารณาถึงสภาพความเป็นจริงของทิเบต ข้อตกลงฉบับนี้ระบุว่า กิจการเกี่ยวกับการปฏิรูปต่าง ๆ ของทิเบต รัฐบาลท้องถิ่นของทิเบตควรดำเนินการปฏิรูปเอง เมื่อประชาชนเรียกร้องให้ดำเนินการปฏิรูป ต้องได้รับการแก้ไขโดยผ่านการปรึกษาหารือกับผู้นำทิเบต
ต่อหน้าการเรียกร้องให้มีการปฎิรูปประชาธิปไตยที่นับวันสูงขึ้นของประชาชนทิเบต เมื่อวันที่ 10 เดือนมีนาคม ปี 1959 กลุ่มทะไลลามะได้ก่อการกบฎอย่างรอบด้านเพื่อคุ้มครองระบบทาสกสิกรศักดินา เมื่อก่อกบฎพ่ายแพ้ ทะไลลามะองค์ที่ 14 หนีไปยังต่างประเทศพร้อมผู้ติดตามบางคน นายลาปาผิงโช่กล่าวว่า เหตุการณ์ใช้กำลังรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมืองลาซาในปีนี้ซึ่งกลุ่มทะไลลามะเป็นผู้วางแผนและปลุกปั่นนั้นก็เพื่อรำลึกการก่อกบฎเมื่อปี 1959 นั่นเอง โดยมีวัตถุประสงค์หลักว่าจะแบ่งแยกทิเบตออกจากจีน นาย รามดุล นักวิชาการศูนย์วิจัยทิเบตวิทยากล่าวว่า เหตุการณ์ใช้กำลังรุนแรงในเมืองลาซาเป็นลูกไม้ของกลุมทะไลลามะ ที่หมายจะใช้ปัญหาชนชาติเป็นข้ออ้างมาบรรลุเป้าหมายทางการเมืองของตน เขากล่าวว่า
"ในเหตุการณ์ใช้กำลังรุนแรงครั้งนี้ ผู้ที่ประสบความเสียหายมีชาวชนชาติฮั่น ชนชาติหุยและชนชาติชาวทิเบต ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์ใช้กำลังรุนแรงในเมืองลาซาครั้งนี้ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างชนชาติ และก็ไม่ใช่ปัญหาศาสนา แต่เป็นปัญหาการเมือง"
สถิติที่เกี่ยวข้องพบว่า เศรษฐกิจทิเบตเติบโตในอัตรากว่า 12% ต่อเนื่องกัน 7 ปี รายได้ของเกษตรกรและชาวผู้เลี้ยงสัตว์ของทิเบตก็คงไว้ซึ่งอัตราการเติบโตด้วยตัวเลขสองหลักติดต่อกัน 5 ปี นายทันเจิน ลุนดรอพ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยการพัฒนาเศรษกิจทิเบตของศูนย์การวิจัยทิเบตวิทยากล่าวว่า
"ช่วง 30 ปีที่จีนดำเนินนโยบายการปฎิรูปและเปิดประเทศมานี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณูปโภคในทิเบต หรือระดับชีวิตความเป็นอยู่ ปัจจัยด้านการรักษาพยาบาลหรือการศึกษาของชาวทิเบตล้วนมีการพัฒนาอย่างแท้จริง ท่านทั้งหลายสามารถไปดูได้ที่ทิเบต เรามีตัวอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ชาวทิเบตได้รับผลประโยชน์จากการปฎิรูปและเปิดประเทศอย่างเต็มที่ในทุกด้าน"
(cai,han)
|