ภาษา--เครื่องมือสื่อสารที่สำคัญ สามารถทำให้คนที่ทั่วโลกเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เข้าใจกันได้อย่างท่องแท้ เกิดความเชื่อถือไว้วางใจ ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือสนับสนุน เป็นสะพานเชื่อมโยงธุรกรรมและการพัฒนาให้ผู้คนต่างชาติต่างภาษาได้แลกเปลี่ยนการพัฒนาร่วมกัน เมื่อกอปเข้ากับโลกยุคโลกาภิวัตรที่เทคโนโลยีการสื่อสารทันสมัยย่อโลกให้เล็กลง ย่อมทำให้มนุษย์ได้รับความสุขความสำเร็จจากการสื่อสารมากยิ่งขึ้น
ในท่ามกลางโลกเทคโนโลยี มีภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสารกันที่อาจเรียกได้ว่า ภาษาสากลนั้น มีเพียงไม่กี่ภาษา ทำให้หลายประเทศที่มีภาษาที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของตนเอง เกรงว่า ภาษาประจำชาติจะถูกกลืนสูญหายไปกับยุคสมัย ความกังวลใจเช่นนี้คงผ่อนคลายได้บ้าง เป็นที่น่ายินดีว่า ประเทศจีนที่มีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลเป็นอันดับที่สามของโลกและมีความหลากหลายของชนชาติถึง56ชนชาติ ซึ่งนับวันยิ่งเป็นที่จับตามองของชาวโลกมากขึ้น จากการสามารถปรับและพัฒนาตนเอง จนก้าวสู่การเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจประเทศหนึ่งของโลกภาย หลังการเปิดประเทศไม่ถึง30ปี แม้ในช่วงที่จีนปิดประเทศ แต่ไม่ปิดการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของจีนได้มีการวัดการเรียนการสอนภาษา ต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาสากล หรืออาจจะเรียกได้ว่า เป็นภาษากลุ่มน้อยในระดับปริญญาตรีและสูงกว่า สื่อของรัฐบาลจีน อย่างสถานีวิทยุ CRI(China Radio International)ได้รายงานเรื่องออกอากาศเป็นภาษาต่างประเทศถึง38ภาษาในช่วงกว่า60ปีที่ผ่านมา นี่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการใช้ภาษาเป็นสะพานเชื่อมโยงให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เชื่อถือศรัทธา แลกเปลี่ยนร่วมมือ ร่วมกันพัฒนา จึงไม่น่าแปลกใจที่ในทวีปเอเซีย จีนเป็นหนึ่งในจำนวน 2 ประเทศที่เปิดการเรียนการสอนของภาษากลุ่มน้อยถึงระดับปริญญาตรี
เมื่อไม่นานมานี้ มีการเปิดการสัมมนาวิชาการ "การเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ"และก่อตั้งสมาคมและเลือกตั้งนายกสมาคมการเรียนการสอนภาษาไทยแห่งประเทศจีนที่มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศกวางตุ้ง โดยมีคณาจารย์จากประเทศไทยจำนวน 15 คน และอาจารย์ชาวจีนที่สอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยและสถาบันชั้นสูงทั่วประเทศจีนอีก 24 คน นับเป็นการชุมนุมคณาจารย์ชาวจีนที่สอนภาษาไทยในระดับปริญญามากที่สุดที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์การสอนภาษาไทยในประเทศจีนกว่า 60 ปีที่ผ่านมา รศ.ดรสมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ จากภาควิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็เป็นแขกรับเชิญเข้ารวมงามสัมมนาครั้งนี้และกล่าวในงานด้วย
"ในเอเซียยกเว้นประเทศจีนและญี่ปุ่นแล้ว ไม่มีที่ไหนเลยที่จะสอนภาษาไทยถึงระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและก็ปริญญาเอกเหมือนกับที่ประเทศจีน ในประเทศตะวันตกทั้งหมดที่สนใจภาษาไทยอย่างมากมีศูนย์การศึกษาหลายๆประเทศ ก็ไม่เคยมีการเรียนการสอนถึงระดับปริญญาตรี"
1 2
|