เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายพอล ดูบรูล(Paul Dubrule) ผู้จัดตั้งกลุ่มบริษัทแอคคอร์ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทโรงแรมใหญ่อันดับ 4 ของโลก อดีตสมาชิกวุฒิสภาฝรั่งเศสกล่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า จากประสบการณ์ในทิเบตของเขาเอง เขา้เห็นว่า การสร้างสรรค์และการบริหารในเขตปกครองตนเองทิเบตของรัฐบาลจีนถูกต้อง ทะไลลามะไม่ควรคัดค้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทิเบต
นายพอล ดูบรูลกล่าวขณะให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า เมื่อ 6 ปีก่อน เขาขี่จักรยานเดินทางจากฝรั่งเศสไปยังกัมพูชาเป็นระยะทางยาวถึง 1.5 หมื่นกิโลเมตรโดยใช้เวลานานถึง 8 เดือน ซึ่งมีเวลาประมาณ 3 เดือนเป็นการขี่จักรยานในทิเบต เขากล่าวว่า ก่อนจะไปทิเบต เขาก็เหมือนชาวตะวันตกมากมายที่ไม่เคยไปทิเบต คิดว่าทิเบตเป็นสถานที่ที่ยากจนและล้าหลัง ข้อมูลที่เขาได้จากสื่อมวลชนตะวันตกคือ "ชาวทิเบตผู้น่าสงสารกำลังถูกรัฐบาลส่วนกลางของจีนข่มเหงรังแก" แต่การเดินทางเป็นเวลา 3 เดือนในทิเบตทำให้เขามองเห็นทิิเบตที่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิงจากที่เคยได้ยินได้ฟังมา
"เมื่อ 6 ปีก่อน ผมมีโอกาสขี่จักรยานมาเที่ยวจีน และได้อยู่ที่ทิเบตเป็นเวลา 3 เดือน ผมคิดว่า ในหมู่ชาวฝรั่งเศสแล้ว ผมควรนับได้ว่าเป็นคนที่ค่อนข้างรู้จักทิเบต"
นายพอล ดูบรูลกล่าวว่า เขามีความรู้สึกอย่างชัดแจ้งว่า ประชาชนทิเบตได้รับความสุขจากผลพวงที่ความก้าวหน้าทางสังคมนำมาให้ เขากล่าวว่า
"ภายหลังการท่องเที่ยวครั้งนั้น ผมได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่ง เล่าถึงว่า ผมเห็นด้วยกับนโยบายที่รัฐบาลจีนดำเนินต่อทิเบต"
นายพอล ดูบรูลเริ่มอ่านหนังสือเกี่ยวกับทิเบตตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 ในสายตาของเขา สังคมตะวันตกดื้อรั้นยืนหยัดคุยโวและยกย่องทะไลลามะองค์ที่ 14 เป็นปรัชญาเมธี ว่าเขามีคุณธรรมอันดีงามเพียบพร้อม เป็น"ผู้ถูกไส่ร้าย"ตามที่ว่า แต่สภาพความเป็นจริงของทิเบตภายใต้การปกครองของทะไลลามาะคือ อัตราการตายของทารกสูงอย่างน่าตกใจ ทั่วทั้งทิเบตไม่มีโรงเรียนทันสมัยแม้แต่แห่งเดียว
ต่อคำพูดของทะไลลามะที่ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจทิเบตจะส่งผลให้วัฒนธรรมดั้งเดิมท้องถิ่น"สูญสิ้น"นั้น นายพอล ดูบรูลเน้นว่า หากวัฒนธรรมไม่สามารถก้าวไปพร้อมกับการพัฒนาของสังคม ผลสุดท้ายก็ได้แต่เข้าสู่พิพิธภัณฑ์ท่านั้น ซึ่งไม่อาจนำความผาสุกมาให้แก่ประชาชน เขากล่าวว่า
"ความคิดเห็นที่ทะไลลามะปฎิบัติอยู่ในปัจจุบันเป็นการถอยหลังเข้าคลองอย่างหนึ่ง เนื่องเพราะผมได้เห็นกับตาว่า รัฐบาลจีนได้สร้างทางหลวง สนามบิน โรงเรียนและโรงพยาบาลที่ทิเบต ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจ"
นายพอล ดูบรูลยังกล่าวถึงทางรถไฟสายชิงไห่-ทิเบตเป็นพิเศษ เขาเห็นว่า การสร้างทางรถไฟสายนี้ได้ขยายช่องทางการติดต่อกับโลกภายนอกของประชาชนทิเบต และได้ปูพื้นฐานสำคัญแก่การพัฒนาเศรษฐกิจทิเบต เขากล่าวว่า ตัวเขาเองได้อ่านพบในข่าวเรื่องทะไลลามะคัดค้านการสร้างทางรถไฟสายชิงไห่-ทิเบตนั้นเท่ากับการมองข้ามความผาสุกของประชาชนทิเบต แสดงให้เห็นว่า ทะไลลามะคัดค้านการพัฒนาเศรษฐกิจทิเบต
(Qiu/cici)
|