China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2008-05-07 17:26:45    
องค์กรสังกัดสหประชาชาติยื่นมือช่วยเหลือเขตประสบภัยในพม่า

cri

เมื่อวันที่ 2 และ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา พม่าถูกพายุไซโคลน "นาร์กีส" ซึ่งเป็นพายุลูกใหญ่พิเศษซัดกระหน่ำอย่างหนัก เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมหาศาล ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุกเข้ามาอย่างไม่ทันตั้งตัวนี้ องค์กรหลายองค์กรที่อยู่ภายใต้สังกัดสหประชาชาติได้ใช้ปฏิบัติการต่างๆ อย่างจริงจังและยื่นมือช่วยเหลือเขตประสบภัยในพม่า

วังนานาชาติ ณ กรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่สหประชาชาติประจำยุโรป ซึ่งมีองค์กรภายใต้สังกัดต่างๆ กว่า 10 องค์กร เมื่อเช้าวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในที่ประชุมแถลงข่าวซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำที่วังนานาชาติ ตัวแทนขององค์กรเหล่านี้ล้วนแถลงถึงมาตรการกู้ภัยและบรรเทาภัยในพม่า อีกทั้งเรียกร้องให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแก่พม่า

นางอลิซาเบธ ไบร์ส์ โฆษกสำนักประสานงานกิจการมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลกิจการกู้ภัยและบรรเทาภัยของสหประชาชาติแถลงในที่ประชุมดังกล่าวว่า

"หลังเกิดภัยพิบัติแล้ว สหประชาชาติคงการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลพม่ามาโดยตลอด ร่วมหารือว่า สหประชาชาติจะแสดงบทบาทในการกู้ภัยบรรเทาภัยให้มากกว่านี้ได้อย่างไร รัฐบาลพม่าระบุว่า จะรับความช่วยเหลือจากประชาคมโลก เช่น เต๊นท์ มุ้งกันยุง น้ำดื่มและอาหาร เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งของที่ต้องการด่วนในเขตประสบภัย"

มีรายงานว่า หลังจากพม่าประสบภัยพิบัติแล้ว องค์กรต่างๆ ที่อยู่ภายใต้สังกัดสหประชาชาติเปิดการหารืออย่างเร่งด่วน มีการแบ่งหน้าที่ที่ชัดเจนในการกู้ภัยและบรรเทาภัยในเบื้องต้นแล้ว คือ กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติจะดูแลเรื่องการจัดหาแหล่งที่พักและอาหารการกินให้กับเด็กและสตรีเป็นสำคัญ องค์การอนามัยโลกจะดูแลเรื่องการจัดส่งเวชภัณฑ์ให้แก่ผู้ประสบภัยและการป้องกันโรคระบาดในเขตประสบภัย ส่วนสำนักงานกิจการผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติจะดูแลเรื่องการจัดส่งเต๊นท์ เป็นต้น

นางเวโรนิค ทาเวียอู โฆษกกองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติแถลงในที่ประชุมฯ ว่า

"ถึงแม้เป็นการยากที่จะทราบได้ว่าที่เขตประสบภัยมีสตรีและเด็กมากน้อยแค่ไหนก็ตาม แต่ประเมินได้ว่า น่าจะมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 60 ของยอดจำนวนผู้ประสบภัยทั้งหมด สิ่งที่น่าเสียใจคือ เวลานี้ ตัวเลขของผู้เสียชีวิตยังจะปรับเพิ่มอีก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราวิตกกังวลมาก"

ส่วนนางฟาเดลา ชาอิบ โฆษกองค์การอนามัยโลกแถลงว่า การป้องกันโรคระบาดหลังเกิดภัยพิบัติในเขตประสบภัยของพม่าก็นับว่าเป็นหน้าที่อันหนักหน่วง เธอกล่าวว่า

"ในสภาพทั่วไป หลังเกิดภัยน้ำหลากแล้ว จะเกิดการระบาดโรคท้องร่วงได้ง่ายที่สุด อันเนื่องจากดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ฉะนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำดื่มของผู้ประสบภัยด้วย"

เนื่องจากสาเหตุทางประวัติศาสตร์และปัจจัยทางเทคนิคเป็นต้น ขณะนี้ องค์กรต่างๆ ของสหประชาชาติต้องแวะผ่านประเทศเพื่อนบ้านของพม่าจึงจะจัดส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยและสิ่งของบรรเทาทุกข์เข้าสู่พม่าได้ เมื่องานช่วยเหลือต่างๆ ดำเนินไปในระดับลึกและผลการประเมินความเสียหายจากภัยพิบัติออกมาแล้ว องค์กรที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของสหประชาชาติยังจะร่างโครงการช่วยเหลือพม่าในปริมาณที่มากกว่านี้อีก

(Dai/Ho)