เมื่อเร็ว ๆ นี้ ความปั่นป่วนทางการเงินของเวียดนามได้รับความสนใจจากฝ่ายต่าง ๆ ตลาดหลักทรัพย์ปรับลดอย่างรุนแรง อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นกว่า 25% การค้าขาดดุลอย่างต่อเนื่อง และแรงกดดันจากเงินด่องเวียดนามลดค่าลง สภาพดังกล่าวคล้ายกับวิกฤติเศรษฐกิจไทยปี 1997 ก่อนที่วิกฤติการเงินอาเซียนในปี 1998 ผู้คนมากมายวิตกว่า วิกฤติการเงินอาเซียนครั้งที่สองอาจเกิดขึ้นเพราะเหตุการณ์เวียดนาม ทว่า นักวิเคราะห์ระบุว่า วันนี้แตกต่างจากเมื่อปี 1998 อาเซียนไม่ยอมให้นักเก็งกำไรทำการชอร์ตเซลล์ที่เวียดนาม
ภายหลังวิกฤติการเงินอาเซียนปี 1998 เกิดขึ้น ประเทศอาเซียนต่างก็เรียนรู้ว่า การอาศัยกำลังของประเทศเดียวไม่อาจป้องกันและรับมือกับวิกฤติได้ มีแต่ร่วมมือกันและช่วยเหลือกันจึงจะสามารถป้ิองกันวิกฤติการเงินได้ และป้ิองกันไม่ให้เกิดวิกฤติซ้ำ เดือนพฤษภาคม ปี 2000 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้หรือ"10+3" ได้ลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่เมืองเชียงใหม่ซึ่งก็คือ"ข้อตกลงเชียงใหม่" เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ปี 2008 ที่ผ่านมา การประชุมรัฐมนตรีคลังระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ครั้งที่ 11 ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเชียงใหม่ คือ 10ประเทศอาเซียน จีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเห็นด้วยที่จะลงทุน 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯเพื่อสร้างกองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศร่วมกัน และจัดตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศเอเชีย เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกป้ิองกันวิกฤติการเงินที่อาจเกิดขึ้น
นักวิเคราะห์ระบุว่า แม้ว่ากองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศร่วมกัน10+3 ยังไม่้ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ ทว่าปริมาณการสำรองเงินตราต่างประเทศที่มีจำนวน 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯนั้นพอเพียงที่จะช่วยเวียดนามรักษาค่าเงินด่องให้อยู่ในระดับมั่นคง และทำให้รายรับรายจ่ายระหว่างประเทศของเวียดนามมีความสมดุล
หลังจากวิกฤติการเงินอาเซียน ประเทศอาเซียนต่างก็เพิ่มการควบคุมและการป้องกันด้านการเิงิน และมีการปรับปรุงระบบการเงินและระบบการควบคุมทางมหภาคที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แม้ว่าประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนต่างเผชิญกับแรงกดดันจากสภาวะเงินเฟ้อ แต่เมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อนแล้ว ประเทศเหล่านี้มีจิตสำนึกในด้านการป้องกันและควบคุมทางเศรษฐกิจที่ดียิ่งขึ้น และมีวิธีการที่สมบูรณ์ขึ้นด้วย ในด้านหนึ่ง ประเทศเหล่านี้จะใช้มาตรการที่แข็งขันเพื่อขจัดผลกระทบด้านลบต่อภูมิภาคนี้อันสืบเนื่องจากความปั่นป่วนทางการเงินของเวียดนาม อีกด้านหนึ่ง เวียดนามก็สามารถที่จะนำประสบการณ์และวิธีการต่าง ๆ ในด้านการป้ิองกันวิกฤติและควบคุมทางการเงินของประเทศอาเซียนมาประยุกต์ใช้
นักวิเคราะห์เห็นว่า ในช่วง 40 ปีนับแต่อาเซียนสถาปนาขึ้น ประเทศอาเซียนก็พยายามที่จะผลักดันกระบวนการการรวมภูมิภาคนี้ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน หลายปีมานี้ ความร่วมมือภายในอาเซียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การสร้างเขตการค้าเสรีอาเซียน และการลงนามกฎบัตรอาเซียนล้วนเป็นความพยายามที่ผลักดันเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาคนี้ให้รวมเป็นหนึ่งเดียว ข้อตกลงเชียงใหม่เป็นความพยายามที่เป็นรูปธรรมที่จะผลักดันให้สกุลเงินในภูมิภาคนี้รวมเป็นหนึ่งเดีัยวกัน ฉะนั้น ถึงแม้ว่าเวลานี้ เวียดนามเกิดสภาวะเงินเฟ้อที่ค่อนข้างรุนแรง และนักเก็งกำไรเห็นว่าโอกาสที่จะทำการช็อตเซลล์เงินด่ิองเวียดนามมาแล้วเหมือนกับการทำการช็อตเซลล์เงินบาทไทยเมื่อปี 1997 แต่ประเทศอาเซียนซึ่งเคยประสบวิกฤติการเงินอาเซียนเมื่อปี 1998 นั้นจะไม่นิ่งเฉยดูดายปล่อยให้การเงินเวียดนามปั่นป่วนเช่นนั้น
(Qiu/cici)
|