เช่น ในหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิกได้ใช้เครื่องทำน้ำร้อนพลังแสงอาทิตย์แบบใหม่ ที่หอกีฬามหาวิทยาลัยปักกิ่งได้ใช้เครื่องปั๊มความร้อนจากดิน (GROUND-SOURCE HEAT PUMP) ที่ศูนย์เรือใบงานกีฬาโอลิมปิกชิงเต่าได้ใช้เครื่องปั๊มความร้อนจากน้ำทะเล (sea water SOURCE HEAT PUMP) เป็นต้น อันที่จริง ในสิ่งก่อสร้างงานกีฬาโอลิมปิกกรุงปักกิ่งครั้งนี้ต่างได้ใช้พลังงานใหม่ไม่มากก็น้อย
อย่างเช่น หลังคาและกำแพงบางแถบที่อยู่ทางใต้ของหอกีฬาแห่งชาติจีนทำด้วยกระจกทั้งสิ้น ข้างในได้ติดตั้งระบบกำเนิดไฟฟ้าโดยใช้แสงอาทิตย์ 100 กิโลวัตต์ ในช่วงจัดงานกีฬาโอลิมปิก จะใช้พลังไฟฟ้าดังกล่าวมาให้แสงสว่างในโรงรถบ้างใต้สิ่งก่อสร้าง หลังจากงานกีฬาโอลิมปิกสิ้นสุดลงแล้ว พลังไฟฟ้าที่กำเนิดที่นี่จะส่งเข้าเครือข่ายไฟฟ้าธรรมดา ซึ่งไม่เพียงแต่จะจ่ายไฟฟ้าแก่หอกีฬาเท่านั้น หากยังสามารถจ่ายไฟฟ้าให้กับชาวบ้านธรรดาด้วย
ที่หอกีฬามหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่แห่งกรุงปักกิ่ง ได้ใช้ระบบท่อส่งแสงสว่างที่พัฒนาเป็นจำนวน 148 ชุด และกลายเป็นสิ่งก่อสร้างงานกีฬาโอลิมปิกที่ได้ใช้ระบบดังกล่าวมากที่สุด แหล่งข่าวกล่าวว่า ระบบดังกล่าวสามารถส่งแสงอาทิตย์กว่า 80% สู่ข้างในของหอกีฬา ในวันที่มีแสงแดด ขณะมีผู้ออกกำลังกายหรือผู้ฝึกซ้อมในหอกีฬานั้นจะไม่ต้องเปิดไฟ ซึ่งสามารถจะลดการสิ้นเปลืองพลังงานของหอกีฬาน้อยลง และเมื่อถึงเวลามืดยังสามารถส่งแสงไฟจากข้างในสู่ภายนอก และทำให้วิวของสิ่งก่อสร้างมีความสวยงามใน ยามมืด
ในหอยิงปืนกรุงปักกิ่ง ขณะผู้ชมเดินเข้าไปหอยิงปืนจะรู้สึกว่าเย็นสบาย แต่ความเย็นดังกล่าวไม่ใช่มาจากเครื่องปรับอากาศ เพราะในสิ่งก่อสร้างแห่งนี้ได้ติดตั้งกำแพงบังแสงที่สามารถปรับความร้อนได้โดยอัตโนมัติ และทำให้ผู้คนรู้สึกว่ามีความอุ่นในฤดูหนาว และเย็นสบายในช่วงฤดูร้อน เทคนิกนี้จะสามารถลดการสิ้นเปลืองพลังงานลงอย่างมาก
ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องของคณะกรรมการจัดงานกีฬาโอลิมปิกกรุงปักกิ่งกล่าวว่า สนามและหอกีฬาโอลิมปิกจะเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่มีค่าสูง ขณะเดียวกัน ยังเป็นสัญลักษณ์และตัวอย่างของการลดการสิ้นเปลืองพลังงานและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ 1 2
|