ศาสนาอิสลามเผยแผ่เข้าสู่ปักกิ่งของจีนมีประวัติมากว่าพันปีแล้ว ปัจจุบันปักกิ่งมีมัสยิด ๗๐ แห่ง ในรายการวันนี้จะพาท่านไปสัมผัสวัฒนธรรมมัสยิดของกรุงปักกิ่ง.
เมื่้อท่านเดินไปถึงปากทางเหนือของถนนหนิวเจียเขตเซวียนอู่ซึ่งอยู่ทางใต้ของกรุงปักกิ่ง ก็จะเห็นหอหกเหลี่ยมหลังคากระเบื้องเคลือบหลังหนึ่ง ซึ่งก็คือหอวั่งเย่ว์หรือหอมองจันทร์สถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของเขตถนนหนิวเจีย เป็นมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดของปักกิ่ง นายอิ่นกว๋อฟางโต๊ะอีหม่ามของมัสยิดนี้กล่าวว่า "มัสยิดนี้เริ่มสร้างเมื่อปีค.ศ ๙๙๖ ผู้อาวุโสสองท่านจากประเทศอาหรับเป็นผู้สร้างขึ้น มีประวัติมาพันกว่าปีแล้ว ท่วงทำนองการก่อสร้างของมัสยิดที่ถนนหนิวเจียใช้รูปแบบการก่อสร้างแบบพระราชวังโบราณของจีน ดูจากด้านภายในแล้วยังรับเอาลักษณะพิเศษของการก่อสร้างอาหรับไว้ด้วย อย่างเช่นในหอใช้รูปแบบประตูโค้ง ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของศาสนาอิสลาม.
ที่ท่านได้ฟังเมื่อสักครู่เป็นเสียงประกอบพิธีศาสนาของโต๊ะอีหม่ามในมัสยิดหนิวเจีย หอประกอบพิธีทางศาสนาเป็นสิ่งก่อสร้างสำคัญของมัสยิด มีพื้นที่ ๖๐๐ กว่าตารางเมตร สามารถบรรจุผู้มาประกอบพิธีทางศาสนาพร้อมกันได้หนึ่งพันคน ในช่วงจัดงานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่ง ที่นี่มีหน้าที่รับรองด้านการต่างประเทศเกี่ยวกับทางศาสนา ได้จัดให้มีโต๊ะอีหม่ามที่รู้ภาษาอาหรับมาเป็นเจ้าหน้าที่รับรองเป็นพิเศษ ได้มีการจัดตั้งทีมงานรับรองด้านการต่างประเทศโดยด้านหนึ่งรับรองแขกต่างประทเศที่มาท่องเที่ยว อีกด้านหนึ่งรับรองชาวมุสลิมของต่างประเทศมาประกอบพิธีทางศาสนาที่มัสยิดถนนหนิวเจีย
อักษรศิลป์อาหรับมีประวัติมาช้านาน มีชื่อเสียงมากในวงการอักษรศิลป์ อักษรศิลป์อาหรับได้เผยแผ่เข้าสู่จีนพร้อมๆกับศาสนาอิสลาม แล้วค่อยๆก่อตัวเป็นอักษรศิลป์อาหรับที่มีลักษณะพิเศษของจีนขึ้น เราจะพบเห็นป้ายภาษาอาหรับแบบต่างๆได้ตามมัสยิดในเขตกรุงปักกิ่ง ที่มัสยิดตงซื่อทางตะวันออกของกรุงปักกิ่ง เราจะได้เห็นอักษรศิลป์อาหรับ มัสยิดตงซื่อนี้เป็นมัสยิดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงของศาสนาอิสลามในจีน สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ ๑๔๔๗ ในสมัยราชวงศ์หมิง จักรพรรดิ์ราชวงศ์หมิงทรงประทานป้ายแก่มัสยิดนี้ จึงได้ชื่อว่า"มัสยิดหลวง" ในมัสยิดนี้มีห้องสมุดฝูเต๊อะ ในห้องสมุดเก็บรักษาคัมภีร์ศาสนาอิสลามและโบราณวัตถุ ในจำนวนนี้มี"คัมภีร์โกหร่าน"ฉบับคัดลายมือของนายโมฮัมเหม็ด เบน อาหะเหม็ด ซาลาฮ์ เมื่อปี ๑๓๑๘ ชุดหนึ่ง ตัวอักษรประณีตบรรจง นักวิชาการเห็นว่าเป็นสิ่งล้ำค่าที่หายากในโลก ปัจจุบันเป็นโบราณวัตถุที่ได้รับการอนุรักษ์ระดับหนึ่งของประเทศ. ที่มัสยิดตงซื่อนี้ยังมีของล้ำค่าอีกอย่างคือ"คัมภีร์โกหร่าน"แกะสลักหินลายมือของนายเฉินกว่างหยวนหัวหน้าโต๊ะอีหม่าม โดยแกะสลักคัมภีร์โกหร่านทั้งหมดไว้บนหินอ่อนสีดำที่สูงหนึ่งเมตร กว้าง ๐.๕ เมตร หนา ๓ เซ็นติเมตร
1 2
|