จากคบเพลิงเมฆมงคลถึงพิธีเปิดที่ยิ่งใหญ่อลังการ จากเครื่องหมายรูปตราประทับจีนถึงหมู่บ้านโอลิมปิกที่สมบูรณ์เต็มรูปแบบ งานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์จีน แต่สิ่งที่ทำให้นักกีฬาตื่นตาตื่นใจและเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมจีนมากที่สุดคือ เหรียญรางวัลที่ใช้ทองคำห่อหุ้มหยกนั่นเองค่ะ รายการวันนี้ ขอเชิญท่านฟังบทสัมภาษณ์?ศาสตรจารย์หวังซินเผิงผู้ออกแบบเหรียญรางวัลของงานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่งค่ะ
ศ.หวังซินเผิงปีนี้อายุ 50 เมื่อ 7 ปีก่อนที่จีนได้เป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกเกมส์ ศ.หวังได้ไปร่วมเฉลิมฉลองที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ตั้งแต่นั้นมา ศ.หวังได้ผูกพันกับงานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่งอย่างแนบแน่น ศ.หวังบอกว่า เป็นการบังเอิญ ทีแรก ไม่ได้นึกว่าจะมีโอกาสผูกพันกับงานกีฬาโอลิมปิก ยิ่งเป็นการประมูลนานาชาติแล้ว ยิ่งนึกไม่ถึง เพราะว่า การประมูลนานาชาติไม่ใช่เรื่องง่าย แรก ๆ ผมมีแต่ความกระตือรือร้น อยากจะมีส่วนร่วมและอยากจะชนะการประมูล แต่ทีหลัง ความรู้สึกของผมเกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะว่าลงมือทำจริง ๆ แล้วต้องใช้เวลานานมาก จากขั้นตอนการออกแบบ จนถึงการเข้าร่วมการประมูลและถึงการทำเสร็จลุล่วงต้องใช้เวลานานถึงสองปีครึ่ง สุดท้าย ผมรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของผม ในฐานะผู้รับผิดชอบ ไม่ว่าเกิดเรื่องอะไร ผมต้องรับผิดชอบให้ถึงที่สุด และต้องทำให้ดีด้วย
ศ.หวังเป็นรองผู้อำนวยวิทยาลัยการออกแบบของสถาบันวิจิตรศิลป์ส่วนกลาง มีประสบการณ์ในการออกแบบมากมาย เกี่ยวกับการออกแบบเหรียญรางวัล ศ.หวังถือเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมจีนเป็นที่ตั้งมาโดยตลอด ออกแบบมาหลายชุดซึ่งรวมแนวคิดยินหยาง กำแพงเมืองจีน ผ้าไหม หน้ากากงิ้วปักกิ่งตลอดจน 5 ธาตุเป็นต้น เนื่องจากยินหยางคล้าย ๆ กับธงชาติของประเทศเกาหลีใต้ ส่วนกำแพงเมืองจีนเน้นบทบาทป้องกันศัตรูเป็นสำคัญ ผมคิดว่าไม่เหมาะกับเจตนารมณ์ของโอลิมปิก ศ.หวังอธิบายว่า วัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนมีสามประการได้แก่ วัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาที่เน้นสรรพคุณการใช้งานเป็นสำคัญ ส่วนวัฒนธรรมทองสัมฤทธ์ไม่สามารถครอบคลุมประวัติศาสตร์นับ 5 พันปีของจีน มีแต่วัฒนธรรมหยกเท่านั้นสามารถสะท้อนค่านิยมและอุดมคติของจีนเป็นอย่างดี แต่ไหนแต่ไรมา ชาวจีนก็ส่งเสริมเชิดชูให้ผู้คนมีคุณธรรมเหมือนหยก หยกเป็นสัญลักษณ์แห่งความสูงศักดิ์ โดยเฉพาะเมื่ออยู่คู่กับทองคำแล้ว ยิ่งมีความหมายเป็นพิเศษ
1 2
|