เมื่อวันที่ 27-28 สิงหาคมที่ผ่านมานี้ การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 40 และการประชุมที่เกี่ยวข้องจัดขึ้นที่สิงคโปร์ รัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาได้ดําเนินการหารือกัน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือให้มากยิ่งขึ้นและกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาึค
ในที่ประชุมของรัฐมนตรีเศรษฐกิจระหว่างจีนกับอาเซี่ยนครั้งที่ 7 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายได้ปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับปัญหาทั่วโลกและปัญหาส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะข้อตกลงสามฉบับที่เกี่ยวข้องกับ"กรอบข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางระหว่างจีนกับอาเซียน" เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2002 ผู้นําจีนกับอาเซียนได้ลงนามใน"กรอบข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางระหว่างจีนกับอาเซียน" เริ่มกระบวนการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2004 ได้บรรลุ"ข้อตกลงการค้าสินค้า"ในเขตการค้าเสรี เมื่อปี 2006 ได้บรรลุ"ข้อตกลงการค้าบริการ" ปัจจุบัน เหลือเพียง"ข้อตกลงการลงทุนจีน-อาเซียน"อยู่ในขั้นตอนการเจรจา บรรดารัฐมนตรีเศรษฐกิจกล่าวว่า จะส่งเสริมการเจรจาเกี่ยวกับ"ข้อตกลงการลงทุนจีน-อาเซียน"ต่อไป พยายามให้เสร็จสิ้นภายในปีนี้ เพื่อให้สามารถสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนได้ทันในปี 2010
บรรดารัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยความเป็นไปได้ในการบุกเบิกพัฒนารอบอ่าวเป่ยปู้รวมทั้งดําเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ด้วย ตั้งแต่ปี 2006 ได้เสนอแนวคิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้เป็นต้นมา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าในเขตรอบอ่าวเป่ยปู้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ยอดมูลค่าการค้าของจีนกับ 6 ประเทศรอบอ่าวเป่ยปู้ปี 2007 มีจํานวน 164,650 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตขึ้น 26% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันเมื่อปี 2006 คิดเป็น 81.3% ของยอดการค้าระหว่างจีนกับอาเซียน กําลังกลายเป็นตลาดอันใหญ่หลวง เนื่องจากมีการลงทุนซึ่งกันและกันและการขจัดกําแพงทางการค้า โครงการลงทุนซึ่งและกันและขนาดการค้าขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งความร่วมมือก็ขยายกว้างยิ่งขึ้น ความร่วมมือเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้จะกลายเป็นความร่วมมือส่วนอนุภูมิภาคที่มีแรงดึงดูดมากยิ่งขึ้น กลายเป็นเสาหลักเร่งการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน
ในที่ประชุมปรึกษาหารือระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ครั้งที่ 11 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีของประเทศต่างๆต่างก็เชื่อมั่นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับการค้าเสรีระหว่าง 10 ประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาจะมีส่วนช่วยให้บรรลุเป้าหมายเป็นหนึ่งเดียวกันทางเศรษฐกิจระหว่างเอเซียตะวันออกเฉียงใต้กับเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ บรรดารัฐมนตรีที่เข้าร่วมการประชุมเห็นว่า กระบวนการความร่วมมือ"10+3"ที่"แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเซียตะวันออก"ฉบับที่สองได้ยํ้าจะมีส่วนช่วยต่อเป้าหมายมองการณ์ไกลที่ว่าสร้าง"ประชาคมเอเชียตะวันออก"
ในที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ บรรดารัฐมนตรีได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออก บรรดารัฐมนตรียังแสดงความยินดีต่อการก่อตั้งสถาบันวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนและเศรษฐกิจเอเซียตะวันออกขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนปีนี้ พร้อมทั้งหวังว่าผลการศึกษาวิจัยของสถาบันวิจัยดังกล่าวนี้จะสามารถนํามาพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจให้ลุ่มลึกยิ่งขึ้น ลดช่องว่างจากการพัฒนา และรักษาการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืน บรรดารัฐมนตรียังชื่นชมเป็นพิเศษต่อโครงการจัดเขตพื้นที่อุตสาหกรรมในเอเซียตะวันออกที่สถาบันวิจัยดังกล่าวได้เสนอไว้ ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้ภูมิภาคพัฒนาอย่างรอบด้าน และยืนยันความสําคัญของการเชื่อมโยงการพัฒนาสิ่ิงอํานวยความสะดวกขั้นพื้นฐานและการพัฒนาอุตสาหกรรมเข้าไว้ด้วยกัน
(dai/zheng)
|