เมื่อบ่ายวันที่ 12 กันยายนนี้ สภาผู้แทนราษฎรไทยต้องเลื่อนเวลาการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยในวันเดียวกันนี้ออกไป สาเหตุสำคัญคือ สมาชิกสภาส่วนใหญ่ไม่เข้าร่วมการประชุมเพื่อคว่ำบาตรให้นายสมัคร สุนทรเวชเป็นนายกรัฐมนตรีไทยอีกครั้ง
ประการแรก ภายในพรรคพลังประชาชนมีข้อขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในการเสนอชื่อนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีอีก สมาชิกกว่า 70 คนของพรรคพลังประชาชนประกาศอย่างชัดเจนว่า คัดค้านนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง สมาชิกจำนวนนี้ไม่เข้าร่วมการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในบ่ายวันที่ 12 กันยายน ซึ่งแสดงว่า ถ้าหากอิทธิพลอื่นๆ ภายในพรรคสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชเป็นนายกรัฐมนตรีอีก ก็อาจทำให้เกิดการแตกแยกในพรรคพลังประชาชน
ประการที่สอง ท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาลมีความสำคัญอย่างยิ่ง แม้ว่าเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา พรรคชาติไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาประชาธิปไตย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และพรรคประชาราชที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล ได้ร่วมกันประกาศกับพรรคพลังประชาชนว่า จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และสนับสนุนพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำ แต่ขณะเดียวกันก็กล่าวครั้งแล้วครั้งเล่าว่า หวังว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่ีคงจะไม่มีท่าทีแข็งกร้าวเกินไป สามารถผ่อนคลายวิกฤติการเมืองในปัจจุบัน วันที่ 12 กันยายนนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเหล่านี้จึงไม่ปรากฏตัวในการประชุม ซึ่งได้แสดงอย่างชัดเจนว่า พวกเขาไม่สนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีก ถ้าไม่มีการสนับสนุนจากพรรคการเมืองเหล่านี้ พรรคพลังประชาชนก็ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้
ประการที่สาม เสียงเรียกร้องจากสังคมจำนวนมากที่ไม่ต้องการให้นายสมัคร สุนทรเวชเป็นนายกรัฐมนตรีอีก เมื่อวันที่ 9 กันยายนนี้ ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญไทยตัดสินว่า นายสมัคร สุนทรเวชฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญแล้ว บุคคลวงการต่างๆ ของไทย รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการได้แสดงความคิดเห็นต่อผู้สื่อข่าวว่า แม้กล่าวในมุมด้านกฎหมาย นายสมัครสามารถเข้ารับการคัดเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่มองในแง่คุณธรรมจริยธรรม ความสมเหตุสมผล และการเคารพศาลทางกฎหมาย นายสมัครเองไม่ควรรับการเสนอชื่ออีก เมื่อข่าวที่นายสมัคร สุนทรเวชตอบรับการเสนอชื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งได้แพร่ออกมา สมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่ง กลุ่มคณะต่างๆ และผู้แทนนักศึกษาบางคนต่างแสดงความไม่พอใจต่อเรื่องนี้ เห็นว่า นายสมัคร สุนทรเวชมีท่าทีแข็งกร้าว ถ้าเขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีก จะทำใ้ห้วิกฤติการเมืองทวีความรุนแรงขึ้นอีก
นอกจากนี้ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกไทยที่มีอำนาจแท้จริงทางทหารกล่าวเมื่อวันที่ 11 กันยายนนี้ว่า แม้มีความเป็นไปได้น้อย แต่ฝ่ายทหารสนับสนุึนข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านว่า ให้จัดตั้งรัฐบาลประชาชาติหรือรัฐบาลพิเศษ เพื่อสิ้นสุดวิกฤติการเมือง ขณะเดียวกันเขาหวังว่า นายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นคนที่ฝ่ายต่างๆ ยอมรับได้ ฝ่ายทหารมีท่าทีที่ชัีดเจนว่า ไม่ปรารถนาให้นายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีอีก
มองจากสภาพปัจจุบัน แม้ว่ามีข้อขัดแย้งในปัญหาตัวบุคคลนายกรัฐมนตรีคนใหม่ กลุ่มพันธมิตรพรรคร่วมรัฐบาลยังไม่มีร่องรอยการแบ่งแยก แต่การที่พรรคพลังประชาชนเปลี่ยนตัวบุคคลนายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้กลายเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนที่ว่าพรรคนี้จะสามารถรักษาฐานเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลต่อไปหรือไม่ นายสมัคร สุนทรเวชมีความเป็นไปได้น้อยที่จะได้รับการเสนอชื่ออีก ถ้าพรรคพลังประชาชนไม่สามารถประสานข้อขัดแย้งภายในพรรค และความสัมพันธ์กับพรรคร่วมรัฐบาลในที่สุด ก็อาจเป็นไปได้ว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีรักษาการของไทย จะประกาศยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไปใหม่
(Qiu/Ldan)
|