เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา ประเทศไทยประกาศยกเลิกภาวะฉุกเฉินในกรุงเทพฯ ที่ดำเนินมาเป็นเวลา 2 สัปดาห์แล้ว วันเดียวกัน กลุ่มพันธมิตรประชาชาเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลประกาศว่า จะจัดการชุมนุมต่อไป นักสังเกตการณ์เห็นว่า ความปั่นป้วนการเมืองในประเทศไทยที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานยังไม่สิ้นสุดลง
วันเดียวกัน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปฏิบัติราชการนายกรัฐมนตรีและพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบตามพระราชกำหนดบริาหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และพลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวตแห่งชาติได้หารือกันกว่า 2 ชั่วโมงเกี่ยวกับการยกเลิกการใช้พระราชกำหนดภาวะฉุกเฉิน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์กล่าวภายหลังการประชุมว่า เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันมีแนวโน้มเป็นปกติ และไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นอีก จึงตัดสินใจที่จะยกเลิกภาวะฉุกเฉินในกรุงเทพฯตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ยังกล่าวว่า ความไม่สงบของสถานการณ์การเมืองได้สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศไทย วิกฤตการเมืองในปัจจุบันเกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางแนวคิด หวังว่าฝ่ายต่างๆจะจัดการพูดคุยเจรจาภายใต้กรอบของกฎหมายและประชาธิปไตย เพื่อแก้ไขวิกฤตการเมือง
นักวิเคราะห์เห็นว่า สาเหตุสำคัญของการยกเลิกประกาศภาวะฉุกเฉินมีดังต่อไปนี้
ตั้งแต่เริ่มใช้พระราชกำหนดภาวะฉุกเฉินเป็นต้นมา ไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ นายสมัคร สุนทรเวช ที่เพิ่งลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประกาศใช้พระราชกำหนดภาวะฉุกเฉินในเขตกรุงเทพฯ และแต่งตั้งพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดาผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดาเพียงสัญญาว่าจะป้องกันไม่ให้สองฝ่ายเกิดการปะทะกันหรือใช้ความรุนแรงอีก และไม่ได้ใช้ปฏิบัติการใดๆเพื่อขับไล่ผู้ประท้วง ส่วนพระราชกำหนดภาวะฉุกเฉินระบุ ห้ามจัดการชุมนุมทางการเมืองกว่า 5 คน พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดายังย้ำหลายครั้งว่า ฝ่ายทหารจะรักษาความเป็นกลาง ไม่ใช้กำลังอาวุธต่อผู้ประท้วง และไม่ก่อรัฐประหาร
การที่รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินได้ยังความเสียหายอย่างมากแก่เศรษฐกิจไทย ความมั่นใจการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศ ตลาดเงินทุนและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว คาดว่า ได้สร้างความเสียหายประมาณ 300 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ
นอกจากนี้ หลังประกาศภาวะฉุกเฉินแล้ว ผู้สนับสนุนรัฐบาลกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่ได้มีการปะทะกันอีก
การที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ประกาศยกเลิกภาวะฉุกเฉินได้รับความเห็นชอบและชื่นชมจากวงการต่างๆในสังคม บุคคลวงการเศรษฐกิจและการค้าสะท้อนว่า จะเป็นผลดีต่อการฟื้นฟูความมั่นใจของต่างประเทศและภายในประเทศที่มีต่อเศรษฐกิจไทย
แต่ผู้นำกลุ่มพันธมิตรฯกล่าวในวันเกียวกันว่า ถ้าพรรคพลังประชาชนเป็นพรรครัฐบาลต่อไป ไม่ว่าพรรคนี้เสนอใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ กลุ่มพันธมิตรฯ ก็จะไม่หยุดชุมนุมประท้วง
แต่พิจารณาจากสภาพปัจจุบันแล้ว ข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯ ยากที่จะเป็นจริงขึ้น เนื่องจากมีความเป็นไปได้มากที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่จะเลือกตั้งจากบุคคลในพรรคพลังประชาชน ซึ่งก็คือนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปฏิบัติราชการนายกรัฐมนตรี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน และนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน โดยพรรคร่วมรัฐบาลชุดปัจจุบันจะร่วมกันจัดตั้งคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง และจะเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคพลังประชาชนคนใหม่ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏรในวันที่ 17 กันยายนที่จะถึงนี้ตามกำหนด
กล่าวได้ว่า ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคมศกนี้เป็นต้นมา การประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ยืดเยื้อมากว่า 100 วันแล้วอาจจะดำเนินต่อไป สถานการณ์การเมืองของไทยยากที่จะเดินออกจากภาวะไม่มั่นคงในเร็ววัน
|