China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2008-10-09 19:11:16    
เหตุการณ์นองเลือดในกรุงเทพฯ ทำให้สถานการณ์การเมืองของไทยทวีความตึงเครียด

cri

เมื่อค่ำวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา สถานนีโทรทัศน์ TPBS ของไทยรายงานว่า เหตุการณ์ปะทะกัน และนองเลือดในกรุึงเทพฯ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันก่อน ยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บ 455 คน ซึ่งรวมถึงตำรวจ 29 คน เหตุึการณ์ครั้งนี้ทำให้ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มพันธมิตรฯ ทวีความรุนแรงขึ้นอีก ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสังคมต่างเรียกร้องให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีไทยรับผิดชอบเหตุการณ์นองเลือดนี้ นักวิเคราะห์เห็นว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีท่ามกลางการปะทะกันทางการเมืองนั้น กำลังเผชิญกับแรงกดดันอันใหญ่หลวง สถานการณ์การเมืองของไทยอยู่ในภาวะตึงเครียดอีกครั้ง

ประการแรก เหตุการณ์ปะทะกันครั้งนี้ทำลายบรรยากาศการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มพันธมิตรฯ ก่อนหน้านี้ หลังการเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่มีนิสัยสุภาพอ่อนโยน และเน้นการแก้ข้อขัดแย้งด้วยการเจรจาอย่างสันติ ได้รับเสียงสะท้อนอันดีจากสังคม ความตึงเครียดทางการเมืองในระยะก่อนผ่อนคลายอย่างมาก การที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีไทยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงแห่งชาตินั้น ก็ได้เพิ่มความมั่นใจของสังคมที่มีต่อรัฐบาลใหม่ เป็นการสร้างสะพานที่หาได้ยากระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะว่า พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ มีความสนิทใกล้ชิดเป็นส่วนตัวกับพลตรีจำลอง ศรีเมือง อดีตผู้ว่ากรุงเทพฯ และนายสนธิ ลิ้มทองกุล "เจ้าพ่อสื่อมวลชน" สองบุคคลที่เป็นแกนนำของกลุ่มพันธมิตรฯ พลเอกชวลิต และพลตรีจำลองเคยยืนยันว่า สองฝ่ายได้เริ่มการเจรจาแล้ว แต่เมื่อเกิดการปะทะกันขึ้น พลเอกชวลิต ยงใจยุทรก็ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในวันเดียวกัน เพื่อเป็นการรับผิดชอบเหตุการนองเลือด

ประการที่สอง แม้ว่าเริ่มแต่เที่ยงคืนวันที่ 7 ตุลาคมนี้ สถานการณ์ในกรุงเทพฯ ค่อนข้างสงบ ผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ ส่วนใหญ่ถอนออกจากทำเนียบรัฐบาล แต่ทว่า สองวันมานี้ ผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ จากต่างจังหวัดกำลังหลั่งไหลเข้ามายังกรุงเทพฯ ไม่ขาดสาย แหล่งข่าวแจ้งว่า กลุ่มพันธมิตรฯ กำลังเพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลอีก สหภาพแรงงานของรัฐวิสาหกิจบางแห่งประกาศว่า จะสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ ด้วยการนัดหยุดงานอีก จริงๆ แล้ว รัฐวิสาหกิจที่สำคัญด้านประปา ไฟฟ้า เป็นต้น ได้ใช้ปฏิบัติการแล้ว เช้าตรู่วันที่ 7 ตุลาคมนี้ หลังจากตำรวจเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมแสดงพลังแล้ว กระแสไฟฟ้าในอาคารรัฐสภาก็ถูกตัด เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา สมาชิก 3 คนของพรรคพลังประชาชน พรรครัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดของไทยถูกการบินไทยปฏิเสธไม่ให้ขึ้นเครื่องบิน

ประการที่สาม เสียงเรียกร้องจากสังคมที่ให้นายสมชาย วงค์สวัสดิ์รับผิดชอบเหตุการณ์ปะทะกันครั้งนี้ และให้เขาลาออกจากตำแหน่งมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดของไทยประกาศว่า จะไม่เข้าร่วมการประชุมร่วมของวุฒิสภาและสภาล่างเพื่อฟังการแถลงนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จัดขึ้นในวันเดียวกัน เพราะเห็นว่ามีการใช้กำลังเกินความจำเป็นต่อผู้ชุมนุม ซึ่งขัดต่อหลักสากลประชาธิปไตยที่ปฏิบัติกัน ขณะเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้นายสมชาย วงค์สวัสดิ์รับผิดชอบเหตุการณ์ปะทะกันครั้งนี้

เบื้องหน้าแรงกดดันจากฝ่ายต่างๆ สองวันมานี้ นายกรัฐมนตรีไทยกล่าวหลายครั้งว่า แม้จะมีความยากลำบาก เขาก็จะดำรงดำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป เขากล่าวว่า รัฐบาลจะใช้ความพยายามเพื่อฟื้นฟูสถานการณ์ทางการเมืองให้เป็นปกติ ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรใช้ความพยายามร่วมกัน

(Ldan)