เมื่อบ่ายวันที่ ๒๗ กันยายนที่ผ่านมาตามเวลาปักกิ่ง นาย ไจ๋จื้อกัง นักบินอวกาศจีนออกนอกห้องโดยสารของยานอวกาศ "เสินโจว-7" และท่องห้วงอวกาศด้วยความสำเร็จซึ่งเป็นการย่างออกไปก้าวแรกของชาวจีนในห้วงอวกาศ ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่ ๓ ที่สามารถสร้างเทคโนโลยีให้นักบินอวกาศออกนอกยานได้
โครงการการบินอวกาศพร้อมนักบินประกอบด้วย ๗ ระบบ เช่น จรวจ ตัวยานและการสื่อสารเพื่อควบคุมการวัดเป็นต้น โครงการการบินอวกาศพร้อมนักบินเป็นโครงการที่สลับซับซ้อนที่สุด มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีความเสี่ยงมากที่สุดในโลก ต้องอาศัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดจำนวนมาก นายจางเจี้ยนฉี รองผู้บัญชาการโครงการการบินอวกาศพร้อมนักบินของจีนบอกผู้สื่อข่าวว่า ถ้าขาดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ทันสมัยและทักษะการวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี จะไม่สามารถบรรลุภารกิจในการออกไปนอกยานของนักบิน เขายังบอกว่า
"เราต้องควบคุมเทคโนโลยีลดและเพิ่มความดันในห้องโดยสารของยานอวกาศ ต้องสร้างเทคโนโลยีในการผลิตวัสดุใหม่ และต้องวิจัย ผลิตชุดนักบินอวกาศ"
นายจางเจี้ยนฉี กล่าวว่า วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกว่า ๑ แสนคนจากองค์การวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิสาหกิจนับร้อยแห่งเข้าร่วมในโครงการการบินอวกาศ "เสินโจว-7"
เทคโนโลยีการบินอวกาศพร้อมนักบินเป็นเทคโนโลยีที่ต้องรวบรวมวิชาความรู้ในด้านต่าง ๆ จึงได้สะท้อนให้เห็นการรวมพลังด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของประเทศ เมื่อปี ๑๙๙๙ โครงการการบินอวกาศพร้อมนักบินของจีนเริ่มดำเนินการครั้งแรก เพื่อทดลองโดยไม่ได้ส่งนักบินพร้อมไปด้วย เมื่อปี ๒๐๐๓ นายหยางลี่เหว่ย นักบินอวกาศคนแรกของจีนได้โดยสารยานอวกาศออกไปท่องห้วงอวกาศ เมื่อปี ๒๐๐๕ นักบินอวกาศจีน ๒ คนได้บรรลุภารกิจการบินในห้วงอวกาศเป็นเวลาหลายวัน และล่าสุดนี้ นายไจ๋จื้อกัง ได้ออกนอกยานและท่องในห้วงอวกาศด้วยความสำเร็จ ซึ่งเป็นย่างก้าวแรกของชาวจีนในห้วงอวกาศ นายโจวเจี้ยนผิงผู้ออกแบบยานอวกาศ "เสินโจว-7"กล่าวว่า โครงการการบินอวกาศ พร้อมนักบินสะท้อนให้เห็นระดับการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของจีน
เมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว การบินอวกาศพร้อมนักบินเป็นเพียงความใฝ่ฝันของชาวจีนเท่านั้น ตอนนั้น จีนไม่มีจรวดที่ใช้ในโครงการการบินอวกาศ ไม่มีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่มีพลังการแข่งขันระดับโลก มิหนำซ้ำ อุปกรณ์ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีขั้นพื้นฐานก็ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
เมื่อปี ๑๙๗๘ จีนใช้นโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศ ทำให้การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงเนื้อแท้ เมื่อช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี ๑๙๗๘ การประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทั่วประเทศจีนจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง นาย เติ้งเสี่ยวผิง อดีตผู้นำจีนที่ล่วงลับไปแล้วเสนอในที่ประชุมว่า วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นพลังการผลิตอันดับแรก จากนั้น ภารกิจด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของจีนจึงเริ่มพัฒนาเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
1 2
|