วันที่ 9 ถึง 12 ตุลาคมที่ผ่านมานี้ การประชุมเต็มคณะ ครั้งที่ 3 ของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ 17 จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิรูปชนบท เป็นประเด็นของการประชุมครั้งนี้
เมื่อ 30 ปีก่อน การปฏิรูปของจีนเริ่มขึ้นในเขตชนบท ปีหลังๆที่ผ่านมานี้ เมื่อเทียบการพัฒนาเมืองกับชนบทเเล้ว การพัฒนาชนบทค่อนข้างล่าช้า เพื่อเร่งรัดการพัฒนา ที่ประชุมดังกล่าวได้กำหนดโครงสร้างระบบบริหาร พัฒนาการเกษตรให้ทันสมัยเเละ เร่งพัฒนาภารกิจเพื่อสาธารณประโยชน์
ในด้านการสร้างระบบบริหารเเบบประชาธิปไตยในชนบท ที่ประชุมเสนอให้ปรับปรุงระบบการประกอบกิจการขึ้นพื้นฐาน กลไกบริหารที่ดิน ระบบสนับสนุนการเกษตรเเละระบบบริหารเเบบประชาธิปไตยให้ดีขึ้น ทั้งต้องสร้างระบบการเงินที่ทันสมัยในชนบทด้วย
นายสวี เสี่ยวชิง รองผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาชนบทเเห่งศูนย์วิจัยชนบทของคณะรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า องค์ประกอบด้าน เศรษฐกิจของเมืองเเละชนบทของจีนเเสดงว่า เศรษฐกิจในเมืองต่างๆ มีอุตสาหกรรมใหญ่เป็นหลัก เเต่เศรษฐกิจชนบทจะมีอุตสาหกรรมขนาดย่อมเป็นหลัก ทั้งนี้เป็นข้อจำกัดในการพัฒนาของชนบทตลอดจนทั่วประเทศ การพัฒนาให้เศรษฐกิจชนบทเป็นเเบบเมือง จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจประชาชาติเเละการพัฒนาสังคม เขาระบุว่า
"ประเทศเราเป็นประเทศกึ่งอุตสาหกรรม เป็นเเบบเมืองทันสมัยที่มีการเกษตรเป็นพื้นฐานสำคัญ ประชากรส่วนมากอยู่ในชนบท เเละเศรษฐกิจของเรายังเเบ่งเป็นสองระบบอยู่ ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ การประชุมครั้งนี้ได้มีข้อตกลงในการผลักดันการปฏิรูปชนบท ซึ่งกำลังเป็นจังหวะที่ดี"
เพื่อที่จะลดช่องว่างด้านสังคมระหว่างประชาชนในเมืองและประชาชนในชนบท การประชุมลงมติว่า การคลังสาธารณะจะขยายขอบเขตการพัฒนาครอบคลุมชนบท เพิ่มการลงทุนในด้านรักษาพยาบาล การศึกษา และวัฒนธรรม เพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อมการอยู่อาศัยของประชาชนในชนบท
ในที่ประชุมเน้นถึงการเสริมการพัฒนาเกษตรกรรม ประกันความปลอดภัยด้านอาหาร และการอำนวยผลิตผลทางการเษตรให้ประเทศอย่างเพียงพอ เสนอว่าต้องเร่งรัดการปรับปรุงวิธีพัฒนาเกษตรกรรม เสริมสร้างเทคโนโลยีทางเกษตรและสิ่งปลูกสร้างขั้นพื้นฐาน และเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น ขณะเดียวกัน จะให้ความสำคัญกับงานด้านมาตรฐานการเกษตรและความปลอดภัยของผลิตผล ห้ามสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานเข้าสู่ตลาด
การประชุมครั้งที่สามของคณะกรรมการกลาง พรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ 17 เสนอว่า ถึงปี 2020 รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อคนของชาวชนบทจะเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวจากปี 2008 การบริโภคจะมีการเติบโตอย่างสูง ขจัดความยากจนในขั้นพื้นฐาน นางหลี่ จิ้ง นักวิจัยจาก สถาบันวิจัยหญิง การพัฒนาชนบทของสภาสังคมวิทยาศาสตร์จีนเห็นว่า การใช้มาตรการปฏิรูป เช่นอนุญาติให้ชาวชนบทมีสิทธิรับเหมา ที่ดินในรูปเเบบต่างๆ เป็นต้น เป้าหมายที่จะเพิ่มรายได้สุทธิของชาวชนบทให้ได้หนึ่งเท่าตัวในปี 2020 จะสามารถบรรลุได้ เธอกล่าวว่า
1 2
|