ในช่วง 30 ปีแห่งการปฏิรูปและเปิดประเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนได้พัฒนาคืบหน้าอย่างใหญ่หลวง และได้อำนวยประโยชน์ต่อทุกแง่มุมชีวิตประจำวันของประชาชนแล้ว
ใครๆก็คงไม่ปฏิเสธว่า อาหาร เสื้อผ้า บ้านพัก และการเดินทางเป็นพื้นฐานการดำรงชีวิตของคนทั่วไป อันนี้ขอนำคุณผู้ฟังไปสัมผัสหน่อยว่า ผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยของจีนจะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจีนได้อย่างไร
เริ่มจากด้านอาหารการกินก่อนแล้วกัน เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า พื้นที่เพาะปลูกของประเทศจีนคิดเป็นแค่ 7% ของพื้นที่เพาะปลูกทั่วโลก ขณะที่ประชากรจีนคิดเป็นประมาณ 20% ของประชากรทั่วโลก การที่จีนใช้ที่ดินเพาะปลูกเพียงน้อยนิดเลี้ยงประชากรมหาศาลให้อิ่มหนำสำราญไม่อดอยากได้สำเร็จนั้น นับเป็นสิ่งปาฏิหาริย์จริงๆ ตรงนี้แหล่ะครับที่เกี่ยวพันธ์ใกล้ชิดกับเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงต้นข้าว วิธีการเพาะปลูกที่ทันสมัย ขอยกตัวอย่างผลงานของ Yuan Longping ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวนาดำพันธุ์ผสมที่มีเชื่องเสียงโด่งดังของจีนเป็นตัวอย่าง ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา วิธีการผลิตข้าวนาดำพันธุ์ผสมได้เผยแพร่สู่แปลงเพาะปลูกอย่างน้อย 15 ล้านเฮกตาร์ของจีน ทำให้ปริมาณการผลิตข้าวในแต่ละเฮกตาร์เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 4500 กิโลกรัม เป็นการปูพื้นฐานต่อความมั่นคงด้านธัญญาหารของประเทศจีน ปัจจุบัน Yuan Longping นักวิทยาศาสตร์ผู้มีคุณอันประเสริฐอายุ 70 ปี ท่านผู้นี้กำลังก้าวเป้าหมายที่สูงยิ่งขึ้นของงานวิจัยด้านวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี เขากล่าวว่า
"เป้าหมายใหม่ของทีมงานผมคือ ทำให้ปริมาณการเก็บเกี่ยวข้าวนาดำพันธุ์ผสมต่อเฮกต้าเพิ่มขึ้นอีก 900 กิโรกรัม ผมมีความมั่นใจเต็มร้อยที่จะสำเร็จในปี 2010"
พร้อมๆกับการเผยแพร่และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย ปัญหาปากท้องของประชาชนจีนเปลี่ยนจาก "อิ่มท้อง" มาเป็น "กินดี" ทุกวันนี้ ตลาดสดทั้งในเมืองและชนบทเต็มไปด้วยสินค้าเกษตรคุณภาพดี แม้แต่ฤดูหนาวที่อุณหภูมิต่ำกว่าลบ 10 องศา ชาวจีนก็สามารถซื้อผักและผลไม้สดในซุบเปอร์มาร์เกตในตลาดทั่วไปเป็นเรื่องธรรมดา แม้กระทั่งผลไม้ต่างประเทศก็แพร่หลายบนโต๊ะอาหารของชาวบ้านทั่วไป
จากด้านอาหารการกินมาดูกันที่การเดินทาง เศรษฐกิจจีนพัฒนาอย่างรวดเร็วและพร้อมๆกับการพัฒนาเทคโนโลยีมีระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้สิ่งปลูกสร้างด้านการเจรจรในเมืองต่างๆของจีนเปลี่ยนแปลงราวฟ้ากับดิน เมื่อ 30 ปีก่อน ความเร็วถัวเฉลี่ยของรถไฟจีนอยู่ที่เพียง 54 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นั่งรถไฟจากกรุงปักกิ่งไปนครเซี่ยงไฮ้ใช้เวลาประมาณ 20 ชั่วโมง บัดนี้ เครื่อข่ายรางรถไฟ ทางด่วน และสายการบินได้ครอบคลุมทั่วทุกสารทิศ การเดินทางระหว่างปักกิ่งกับเซี่ยงไฮ้ซึ่งห่างกันกว่า 1000 กิโลเมตร ใช้เวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง หรือแค่เพียง 1 ใน 10 ของเมื่อ 30 ปีก่อน
พร้อมกันนั้น ยานพาหนะชนิดใหม่กำลังเข้าสู่ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนทั่วไป นั่นก็คือรถไฟฟ้าที่ได้รับสมญาว่า "รถอนาคต" ถ้าคุณผู้ฟังมาถึงกรุงปักกิ่งตอนนี้ สามารถนั่งรถเมล์พลังงานไฟฟ้าที่เป็นลิขสิทธิ์ของจีนเอง สนุกกับการเดินทางร่วมกับชาวปักกิ่งได้ นอกเมืองหลวงของจีนอย่าง ที่เมืองอู่ฮั่น นครเทียนจิน และเมืองเวยไห่ ชาวบ้านทั่วไปก็ได้โดยสารรถเมล์ในอนาคตเดินทางหรือที่คนไทยคุ้นชื่อนครเทียนสินไปมาได้สะดวกแล้ว รถเมล์ที่ทันสมัยชนิดนี้ไม่ต้องการเชื้อเพลิงใดๆทั้งสิ้น อาศัย Battery เป็นพลังงาน เลยไม่ปล่อยก๊าซที่เป็นมลพิษ ซู ซิ่วหมิ่น ชาวปักกิ่งที่นั่งรถเมล์พลังงานไฟฟ้า,kทำงานทุกวันกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว เธอชอบและยินดีที่จะใช้บริการรถอนาคต เธอกล่าวว่า
"ฉันว่า นั่งรถพลังงานไฟฟ้าหรือรถที่ใช้น้ำมัน ความรู้สึกไม่ต่างกันเลย แต่รถไฟฟ้านี่ เกือบจะไม่ปล่อยมลพิษเลย ฉันเชื่อว่า ต่อไปในอนาคต ถ้าจำนวนรถที่ใช้น้ำมั่นลดน้อยลง ขณะที่รถพลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น คุณภาพอากาศของปักกิ่งจะดีขึ้นอีกเยอะ"
|