หน่า หลายคนคงจะสงสัยว่า แล้วการรายงานจากเครื่องมือวัดแผ่นดินไหวนี้จะแม่นยำหรือเปล่า ใช่มั๊ยคะ หน่าขอบอกว่าแม่นยำค่ะ เพราะว่าในสมัยโบราณ ราว ค.ศ. 138 นั้น มังกรที่อยู่ทางทิศตะวันตกได้คายลูกทองแดงออกมา และก็ปรากฎว่าในวันนั้น เขตหล่งซี ซึ่งก็คือ มณฑลกานซูในปัจจุบัน ได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นจริง ๆ ค่ะ
นัส ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อนะคะคุณหน่า เพราะว่ามณฑลกานซูนั้นอยู่ห่างจากเมืองลั่วหยางซึ่งเป็นที่ตั้งของเครื่องมือวัดแผ่นดินไหว ออกไปถึงเป็นพันลี้ แต่เครื่องวัดแผ่นดินไหวก็สามารถทำการรายงานครั้งแรกได้อย่างแม่นยำมากเลยนะคะ
หน่า และจากเครื่องมือวัดแผ่นดินไหวของจางเหิงในสมัยโบราณนั้น ก็ได้พัฒนามาเป็นเครื่องมือวัดแรงสั่นสะเทือนที่เรียกว่า ไซโมกราฟค่ะ ซึ่งปัจจุบันมีการติดตั้งไซโมกราฟไว้ที่ตำแหน่งต่าง ๆ บนพื้นโลก เพื่อวัดจุดศูนย์กลางของแผ่นดินว่าอยู่ที่ไหนและลึกลงไปเท่าไหร่ นอกจากนี้ ยังถูกนำมาใช้ในการรายงานการเกิดแผ่นดินไหวด้วย
นัส แต่การรายงานการเกิดแผ่นดินไหวในปัจจุบันก็ยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอนะคะ เพราะว่ายังไม่สามารถคาดการณ์แผ่นดินไหวได้แม่นยำค่ะ และมีข่าวมาว่าในมณฑลกว่างซีของจีนได้มีการทดลองใช้งูเพื่อคาดการณ์แผ่นดินไหว โดยได้ติดตั้งกล้องเพื่อสังเกตพฤติกรรมของงูในฟาร์มเลี้ยงงู เนื่องจากงูถือเป็นสัตว์ที่ไวต่อแรงสั่นสะเทือน
หน่า แล้วผลเป็นไงคุณนัส ได้ผลกว่าเจ้าเครื่องไซโมกราฟหรือเปล่าคะ
นัส ก็ยังไม่แม่งยำอยู่ดีค่ะคุณหน่า เพราะฉะนั้น หลังจากเกิดแผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวน เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ทางการจีนเค้าเร่งพัฒนาดาวเทียมที่ใช้ตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของแม่เหล็กไฟฟ้าบนพื้นผิวโลกค่ะ โดยเค้าคาดการณ์ไว้ว่าจะสำเร็จในปี 2020
หน่า โดยดาวเทียมสำรวจที่ว่านี้นะคะ จะเป็นเครื่องมือที่เฝ้าสังเกตการรบกวนของแม่เหล็กไฟฟ้าบนผิวโลกและในชั้นบรรยากาศ ซึ่งจะสามารถคาดการณ์ได้แม่นยำกว่า ครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าและรวบรวมข้อมูลได้รวดเร็วกว่าการสังเกตจากภาคพื้นดินค่ะ
นัส นัสก็หวังว่า ดาวเทียมสำรวจนี้จะมีประสิทธิภาพสูงในการรายงานแผ่นดินไหวนะคะ เพราะว่าแผ่นดินไหวถือเป็นอุบัติภัยทางธรรมชาติที่คร่าชีวิตคนไปมากมายจริง ๆ ค่ะ ทุกวันนี้เวลาอ่านข่าวหรือดูรายการที่รำลึกเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่มณฑลเสฉวนทีไร นัสก็ยังรู้สึกเศร้าอยู่ที่ครั้งที่ได้อ่านหรือดูเลยค่ะ
1 2 3 4
|