กลางฤดูใบไม้ผลิปี 1978 จีนได้จัดการประชุมวิทยาศาสตร์ระดับชาติ ท่าน เติ้ง เสี่ยวผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยนั้น สถาปนิกใหญ่ของการปฏิรูปและเปิดประเทศของจีนได้เสนอทฤษฎีสำคัญที่ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพลังงานขับเคลื่อนการผลิตอันดับหนึ่ง" โดยที่รัฐบาลกลางให้ความสำคัญในระดับสูงสุด ภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนได้ก้าวเข้าสู่ "ฤดูใบไม้ผลิ" พร้อมกัน ตั้งแต่นั้นมา ภายใต้หลักยุทธศาสตร์ที่ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพลังขับเคลื่อนการผลิตอันดับหนึ่ง" รัฐบาลได้ลงเรี่ยวลงแรงจัดวางและลงมือปฏิบัติโครงการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความยากลำบากอย่างจริงจัง และพยายามก่อตั้งกลไกที่เอื้อต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพสูง แถมยังได้กำหนดที่จะใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปรับปรุงชีวิตประจำวันของประชาชนให้ดีขึ้น"เป็นประเด็นหลักของการประชุมสองสภาแห่งชาติ นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวขณะบรรยายถึงภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติครั้งล่าสุดว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพลังขับเคลื่อน และแกนหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ต้องพยายามพัฒนาให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนอยู่ในระดับแนวหน้าโลก โดยดำเนินโครงการวิจัยขั้นพื้นฐานที่สำคัญเพื่ออำนวยประโยชน์แก่สาธารณชน
"ต้องเพิ่มกำลังในการแก้ปัญหาที่ยากลำบากเพื่อให้ได้รับความคืบหน้าในโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญทั้งในด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสูงและนิวไฮเทค การอนุรักษ์ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของอาหาร การผลิตด้วยความปลอดภัย เป็นต้น ต้องกล้าใช้และศึกษาผลงานดีเด่นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของต่างประเทศ เพิ่มพลังงานใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อเร่งพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ"
เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญอย่างสูงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และชาวจีนทั่วประเทศต่างได้อดทนต่อสู้ และทำงานอย่างแข็งขันเพื่อยกระดับการพัฒนาๆด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของชาติ ดังนั้น ประเทศจีนจึงได้พัฒนาเข้าสู่ระยะใหม่ที่ผลงานและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีปรากฏขึ้นมาให้เห็นเหมือนดอกเห็ดในฤดูฝน เช่น การวิจัยและผลิตยาที่ช่วยชีวิตมหาศาล การพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าสุดทันสมัย การเพาะปลูกข้าวนาดำพันธุ์ที่ให้ผลอุดม ผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้รับแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นจากสติปัญญาและประสบการณ์การทำงานของนักวิทยาศาสตร์จีน
หากคุณผู้ฟังอยากทราบว่า ในช่วง 30 ปีแห่งการดำเนินนโยบายปฏิรูปและประเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนจะได้พัฒนารวดเร็วเพียงไร และจะมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของชาวจีนแค่ไหน ก็ต้องดูตัวอย่างที่กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีนได้จัดงานกีฬาโอลิมปิกเกมส์ปี 2008 ด้วยความสำเร็จอย่างงดงาม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูงประเภทต่างๆนานาได้ถูกไปใช้ในการจัดงานโอลิมปิกเกมส์ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างสนามกีฬา การสื่อสารโทรคมนาคมและการจราจรที่มีประสิทธิภาพสูง อาหารเครื่องดื่มรสชาติดีมีคุณค่าสูงและปลอดภัย การพยากรณ์อากาศที่แม่นยำถูกต้อง การรักษาความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ การประยุกต์ใช้ผลงานไฮเทคได้อำนวยความสะดวกแก่นักกีฬาและนักท่องเที่ยวทุกประเทศในช่วงจัดงานโอลิมปิกและพาลาลิมปิกปักกิ่งปี 2008
พิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ปักกิ่ง 2008 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมนี้ เป็นการแสดงศิลปวัฒนธรรมจีนอันยอดเยี่ยมสุดที่จะพรรณนาและประทับใจผู้ชมทั่วโลกอย่างมิรู้ลืม การแสดงชุดต่างๆได้ใช้ผลงานนิวไฮเทคซึ่งอยู่แนวหน้าของโลกหลายสิบประการ คุณภาพแสงสีเสียง จำนวนนักแสดงและสื่อมวลชนที่ร่วมทำงาน และจำนวนผู้ชมการถ่ายทอดสด ต่างได้ทำลายสถิติในประวัติศาสตร์การจัดงานกีฬาโอลิมปิก นาย Mehmet Ali Sahin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการกีฬาของตุรกีชื่นชมว่า
"พิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ปักกิ่ง 2008 เป็นงานที่ยอดเยี่ยมที่สุดในบรรดาพิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ทุกครั้งที่ผมเคยเข้าร่วม แถมยังเป็นงานที่ใช้ผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูงที่ทันสมัยได้ดีที่สุดด้วย"
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่พัฒนาเสมือนติดปีกบิน ได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจีนล้ำหน้า เราเชื่อมั่นว่า พร้อมๆกับการดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศให้ขยายวงกว้างและลงลึกกว่า นับวันการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูงของจีนจะสร้างความเจริญรุ่งเรื่องใหม่ๆอย่างต่อเนื่องแน่นอน
|