วิกฤตการเงินที่ปั่นป่วนทั่วโลกเป็นเหุตทําให้การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปชะลอตัวลง มิหนําซํ้า ในปีหน้าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และสหภาพุยโปรอาจจะซบเซาลงอีก ภายใต้สภาพเช่นนี้ิ เศรษฐกิจจีนซึ่งเป็น"พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก" จะไม่สะดุดและประกอบการเป็นปกติได้หรือไม่ นักวิเคราะห์เห็นว่า ท่ามกลางวิกฤตการเงินทั่วโลก จีนมีความมั่นใจและความสามารถรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมั่นคงและรวดเร็ว แถมยังสร้างคุณูปการแก่การพัฒนาเศรษฐกิจทั่วโลกด้วย
ธุรกิจการเงินเป็นธุรกิจรายแรกในประเทศจีนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินทั่วโลกครั้งนี้ แต่ธุรกิจการเงินของจีนปรากฏว่า ไม่ได้ถูกกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตการเงินทั่วโลก
นายหลี่ หยาง ผู้รับผิดชอบสถาบันวิจัยการเงินแห่งสภาสังคมศาสตร์จีนเห็นว่า ถึงแม้ว่าระบบการเงินของจีนจะได้รับผลกระทบโดยตรงไม่มาก แต่ก็ควรเรียนรู้บทเรียนจากวิกฤตการเงินครั้งนี้ ควรยืนหยัดหลักการที่ว่าให้ภาคการเงินบริการภาคการผลิต หลีกเลี่ยงให้ธุรกิจการเงินขยายตัวมากเกินควร
"ประการแรก ธนาคารเพื่อการลงทุนเป็นเรื่องที่ดี แต่หลายปีมานี้ ธนาคารลงทุนกลายเป็นกองทุนบริหารความเสี่ยงช่วยลูกค้าซื้อขายหุ้่น ซื้อขายหุ้นให้ตนเอง มิหนาซํ้ายังซื้อขายหุ้นของบริษัทตนเองอีกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่ควรเรียนแบบ ประการที่สอง เราต้องเสริมสร้างการควบคุมความเสี่ยง ประการที่สาม การรวบรวมเงินโดยตรงกับการรวบรวมเงินทางอ้อมต้องพัฒนาอย่างสมดุลกัน"
ตั้งแต่เดือนกันยายนปีนี้เป็นต้นมา เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงิน การเติบโตของเศรษฐกิจจีนชะลอลง ดังนั้น รัฐบาลจีนได้ปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างมาก เริ่มดําเนินนโยบายการคลังทางบกและนโยบายเงินตราที่ผ่อนคลาย และประกาศมาตรการ 10 ประการเพื่อขยายความต้องการภายในประเทศ กําหนดโครงการกระตุ้นศรษฐกิจที่มีงบประมาณกว่า 4 ล้านล้านหยวน การกระทําเช่นนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจและเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ของรัฐบาลจีนที่มุ่งจะให้เศรษฐกิจมั่นคงและเติบโต
อันที่จริงวิกฤตการเงินครั้งนี้ได้เสนอโอกาสแก่การเปลี่ยนรูปแบบของเศรษฐกิจจีน ถ้าจัดการได้ดี จีนจะใช้โอกาสนี้เปลี่ยนรูปแบบที่ว่าพึ่งพาการค้าต่างประเทศค่อนข้างสูง มาเป็นการกระตุ้นความต้องการภายในประเทศบรรลุความสมดุลกันของโครงสร้างเศรษฐกิจ
นายหวาง จูน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังจีนกล่าวว่า โครงการกระตุ้นความต้องการภายในประเทศยังจะมีเื้่อื้อซึ่งกันและกันกับเศรษฐกิจโลก
"ประการแรก จีนดําเนินนโยบายขยายความต้องการภายในประเทศ จะมีอิทธิพลต่อประเทศกําลังพัฒนา โดยเฉพาะมีอิทธิพลมากต่อประเทศส่งออกวัตถุดิบ เพราะว่าจีนดําเนินโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เช่นทางรถไฟ จะเพิ่มความต้องการต่อวัตถุดิบ เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้จะมีการพัฒนามากขึ้นเนื่องจากได้รับการขับเคลื่อนจากเศรษฐกิจของจีน ประการที่สอง การเปลี่ยนรูปแบบมูลค่าเพิ่มของจีนกับการปฏิรูปเทคโนโลยีรอบใหม่ของวิสาหกิจ ต้องการนําเข้าไฮเทคจํานวนมาก เราจึงมีความต้องการนําเข้าในด้านนี้จํานวนมาก"
แน่นอน การกระตุ้นความต้องการภายในประเทศแต่ไม่ได้ละทิ้งตลาดภายนอกขณะที่ตลาดส่งออกของอเมริกาเหนือและยุโรปมีความต้องการลดน้อยลง รัฐบาลจีนได้ส่งเสริมและชี้นําให้วิสาหกิจขยายตลาดใหม่
นายฝัน กาง ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงของจีนเห็นว่า อนาคตการส่งออกของจีนยังคงสดใส
"ขณะมีวิกฤตอันรุนแรงมากถึงนั้น ผู้คนทั้งหลายคาดว่า รายได้คงจะลดน้อยลง จึงไม่ไปซื้อสินค้าแพง ความต้องการอาจจะเปลี่ยนเป็นของใช้ประจําวันและสินค้าที่มีราคาถูก ซึ่งจีนก็พอดีเป็นผู้ผลิตสินค้าประเภทนี้"
|