ตั้งแต่จีนดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศเป็นเวลา 30 ปี จีนได้รับประสบการณ์และบทเรียนต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมใหม่ การเปลี่ยนแปลงระบบอุตสาหกรรมและการประหยัดพลังงาน แต่ขณะที่ได้รับผลงานอันยิ่งใหญ่จากการพัฒนาเศรษฐกิจ ก็ประสบปัญหาและการท้าทายต่าง ๆ จึงเป็นการทดสอบและโอกาสที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อผลักดันการปฏิรูปและเปิดประเทศ
เมื่อ 30 ปีก่อน สภาพการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนล้าหลังมาก ชาวจีนมีเจตนารมณ์ที่จะร่ำรวย แต่เนื่องจากเวลานั้นภายในประเทศขาดแคลนทุนและเทคโนโลยี ดังนั้น จีนจึงจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อดึงดูดทุน เทคโนโลยีและประสบการณ์บริหารที่ทันสมัยของต่างประเทศ และจัดตั้งรูปแบบการค้าธุรกิจพิเศษ 30 ปีที่ผ่านมานี้ รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่ถือการส่งเสริมการเติบโตเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายสำคัญ ถือการลงทุนและการส่งออกเป็นวิธีการ และถือแรงงาน ที่ดินและทรัพยากรเป็นพื้นฐาน ได้ผลักดันให้การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนได้รับผลอันยิ่งใหญ่ ตั้งแต่ปี 1979 2007 GDPของจีนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 9 ต่อปี จำนวนผู้ยากจนในชนบทลดจาก 250 ล้านคนเหลือประมาณ 20 ล้านคน
ด้วยแนวคิดที่ได้จากประสบการณ์ที่ว่า ถ้าให้ความสำคัญมากเกินไปกับความเร็วและปริมาณ ก็ทำให้เกิดปัญหาลงทุนมากและสิ้นเปลืองพลังงานแต่ผลผลิตต่ำ การเติบโตของเศรษฐกิจด้วยวิธีนี้มีเพียงแต่สิ้นเปลืองทรัพยากรจำนวนมาก และก่อมลพิษสิ่งแวดล้อม ตัวเลขสถิติปรากฏว่า ปี 2007 GDPต่อหมื่นหยวนของจีนสิ้นเปลืองถ่านหิน 1.06 ตัน คิดเป็นสองเท่าของสหรัฐฯ์ 4 เท่าของสหภาพยุโรปและ 8 เท่าของญี่ปุ่น ปัจจุบัน ที่ดินร้อยละ 40 ของจีนประสบปัญหาฝนกรด
จากโครงสร้างเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนและมองข้ามการบริโภค ให้ความสำคัญกับการส่งออกและมองข้ามความต้องการภายใน ทำให้การส่งออกและการนำเข้าเกิดความไม่สมดุลกัน จนทำให้ขาดความยืดหยุ่นขณะที่ได้ผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลก
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงระบบการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบัน
ปี 2003 บนพื้นฐานที่การปฏิรูปและเปิดประเทศของจีนได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ขณะเผชิญกับปัญหาที่เกิดใหม่ จีนเสนอวิสัยทัศน์ในการพัฒนาตามหลักวิทยาศาตร์อย่างทันกาล นายหูจิ่นเทา ประธานาธิบดีจีนกล่าวว่า การพัฒนา จำเป็นต้องเป็นการพัฒนาที่ประสานกลมกลืนกันอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องเป็นการพัฒนาตามหลักวิทยาศาสตร์
ก็เช่นเดียวกับคำพูดของประธานาธิบดีหูจิ่นเทาว่า การพัฒนาตามหลักวิทยาศาสตร์ควรถือมนุษย์เป็นพื้นฐาน บรรลุซึ่งการพัฒนาอย่างทั่วด้าน กลมกลืนกันและยั่งยืน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและประชาชนอย่างทั่วด้าน ส่วนระบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้การชี้นำจากการพัฒนาตามหลักวิทยาศาสตร์ ควรถือการเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขเบื้องต้น และการผลิตเติบโตอย่างมั่นคง ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมีคุณภาพสูงขึ้นเรือย ๆ และปรับปรุงระบบภาวะนิเวศให้ดีขึ้น
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจหมายความว่า จีนต้องปรับจากอาศัยการลงทุน ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากเกินไป เป็นอาศัยคุณภาพของแรงงานและเทคโนโลยีเพื่อยกระดับการเติบโตของเศรษฐกิจ ดังนั้น การเสริมสร้างนวัตกรรมใหม่และการปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ความจริง จีนก็ได้ก้าวมาในหนทางการพัฒนานวัตกรรมใหม่นี้แล้ว
kt
|