หลายปีมานี้ สถาบันอุดมศึกษาเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสีของจีนและสถาบันอุดมศึกษาของไทยได้ติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ดําเนินการแลกเปลี่ยนและความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกัน
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สํานักงานเผยแพร่ภาษาจีนแห่งชาติจีนร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการไทยและโรงเรียนสิบแห่งซึ่งรวมทั้งโรงเรียนจิตรลดา และสวนกุหลาบวิทยาลัย ลงนามข้อตกลงมิตรภาพเกี่ยวกับการเปิดห้องเรียนขงจื๊อ
จนถึงปัจจุบัน ไทยได้จัดตั้งสถาบันขงจื๊อในสถาบันอุดมศึกษา 12 แห่ง ส่วนในการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เปิดห้องเรียนขงจื๊อห้องแรกในโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2006 สถาบันขงจื๊อและห้องเรียนขงจื๊อเหล่านี้ได้กลายเป็นเวทีสําคัญในการดําเนินการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย ขณะที่มีนักเรียนจากเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสีมากยิ่งขึ้นไปเรียนที่ประเทศไทย ก็มีนักเรียนไทยไปเรียนต่อที่เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสีของจีน หรือไปเรียนวัฒนธรรมจีนที่สถาบันขงจื๊อในไทยมากขึ้นเช่นกัน
ในความร่วมมือด้านการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยชนชาติกวางสีได้ดําเนินการแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ สร้างความสัมพันธ์ตลอดจนการแลกเปลี่ยนกับสถาบันอุดมศึกษาสิบกว่าแห่งของประเทศไทย ได้ส่งอาสาสมัครไปสอนภาษาจีนที่ไทยด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงตั้งศูนย์ข้อมูลภาษาไทยในมหาวิทยาลัยชนชาติกวางสี ทรงจัดนิทรรศการภาพถ่ายส่วนพระองค์ และทรงจัดกิจกรรมต่างๆ เช่นสัปดาห์วัฒนธรรมไทยโดยร่วมมือกับมหาิวิทยาลัยชนชาติกวางสีผ่านสถานกงสุลไทยประจํากวางสี ทําให้การแลกเปลี่ยนระหว่างมหาวิทยาลัยชนชาติกวางสีกับไทยนับวันกว้างขวางยิ่งขึ้น และยกระดับสูงขึ้น
เมื่อวันที่ 25 เดือนธันวาคมปี 2006 มหาวิทยาลัยชนชาติกวางสีกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามร่วมมือจัดตั้งสถาบันขงจื๊อ หลังจากสถาบันขงจื๊อจัดตั้งขึ้นแล้ว ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมการเรียนการสอนาษาจีนหลายครั้ง และยังได้จัดกิจกรรมวัฒนธรรมจีนในรูปแบบต่างๆ เผยแพร่ประเพณีเทศกาล การวาดภาพเขียนภาพ ดนตรี และหมากรุกจีน ดึงดูดความสนใจของนักเรียนที่มีต่อภาษาจีน ส่งเสริมความเข้าใจของชาวไทยมีต่อวัฒนธรรมจีน สถาบันขงจื๊อได้จัดเวทีการเรียนการสอนภาษาจีนสามระดับ อันได้แก่ เวทีสอนภาษาจีนขั้นพื้นฐานสําหรับนักเรียน เวทีสอนภาษาจีนสําหรับนักศึกษา เวทีการสอนภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนสําหรับปริญญาโท ขณะเดียวกัน ขอบเขตการสอนภาษาจีนก็ขยายกวางขึ้นจากสถาบันอุดมศึกษาไปยังโรงเรียนและสังคม จากจังหวัดมหาสารคามขยายกว้างขึ้นไปถึงจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดร้อยเอ็ดที่อยู่ติดกัน งานเผยแพร่ภาษาจีนมีแนวโน้มพัฒนาที่ดี
ขณะจัดการสอนภาษาจีนและฝึกอบรมภาษาจีน สถาบันขงจื๊อแห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามพบว่าเขตภาคอีสานได้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีมาช้านานซึ่งมีเอกลักษณ์พิเศษ ฉะนั้น เมื่อถึงเทศกาลวันหยุด จึงได้เริ่มจัดกิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่หลากหลาย ขณะเดียวกันเริ่มการเรียนรู้วัฒนธรรมของจีนด้วย ให้ประชาชนของทั้งสองประเทศได้เรียนรู้กันซึ่งกันและกัน เอื้อผลประโยชน์แก่กันและกัน สถาบันขงจื๊อแห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้คัดเลือกอาสาสมัครสอนภาษาจีนที่จบด้านศิลปศาสตร์ไปสอนที่สถาบันศิลปะจังหวัดร้อยเอ็ด จัดกิจกรรมฝึกอบรมด้านดนตรีจีน ระบําจีน และเพลงจีน ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักศึกษาและครูของไทย นักศึกษาของสถาบันศิลปะจังหวัดร้อยเอ็ดเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมศิลปวัฒนธรรมจีนอย่างคึกคัก ทั้งครูและผู้บริหารของสถาบันต่างก็แสดงความชื่นชอบต่อการได้ศึกษาศิลปวัฒนธรรมจีน พร้อมยํ้าว่าจะจัดส่งนักศึกษาไปแลกเปลี่ยนที่ประเทศจีน และเชิญชวนครูจีนไปสอนศิลปวัฒนธรรมจีนที่สถาบันศิลปะจังหวัดร้อยเอ็ดด้วย
1 2
|