China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2008-12-22 13:30:34    
การปฏิรูปทำให้เศรษฐกิจในชนบทจีนเข้าสู่ครรลองแห่งการพัฒนา (ภ)
รายการเศรษฐกิจจีน

cri

วันนี้ เรามาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจชนบทของจีนในรอบ 30 ปีที่ผ่านมาค่ะ

จีนเป็นมหาประเทศด้านการเกษตร มีเกษตรกรกว่า 700 ล้านคน ช่วงเวลา 30 ปีที่ปฏิรูปและเปิดประเทศ รัฐบาลจีนได้ทุ่มเทกำลังในการพัฒนาชนบทมาโดยตลอด เศรษฐกิจชนบทจึงนับวันเติบโตขึ้น

ก่อนปี 1978 ที่นาของจีนให้ทางหมู่บ้านเป็นผู้ควบคุมบริหาร ชาวบ้านร่วมกันทำงาน และเฉลี่ยแบ่งผลผลิต ในช่วงเพิ่งสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน รูปแบบดังกล่าวได้ส่งเสริมพัฒนาเศรฐกิจชนบท แต่หลังจากนั้น รูปแบบการทำงานดังกล่าว กลายเป็นว่า การทำดีกับทำไม่ดีก็มีค่าเท่ากัน ทำงานกับไม่ทำงานก็ไม่ต่างกัน ผู้คนจึงเรียกสภาพดังกล่าวว่า "กินข้าวในหม้อใหญ่หม้อเดียวกัน" จนทำให้เกษตรกรเริ่มสูญเสียความกระตือรือร้นในการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานก็ลดลง สภาพล้าหลังและยากจนของชนบทจึงไม่สามารถปรับให้ดีขึ้น

หมู่บ้านเสี่ยวก่างในมณฑลอันฮุยทางภาคกลางจีนก็มีสภาพเช่นนี้ หมู่บ้านนี้มีแค่ 18 ครอบครัว มีประชากรประมาณ 120 คน เนื่องจากล้าหลัง หมู่บ้านนี้จึงคิดวิธีปฏิรูป และเป็นหมู่บ้านแรกของจีนที่ตัดสินใจจะแบ่งที่ดินของหมู่บ้านให้เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรเพาะปลูกเอง คนไหนขยัน คนนั้นก็ได้มาก การปฏิรูปครั้งนี้เริ่มต้นเมื่อเดือนธันวาคมปี 1978 และเป็นฉากแรกของการเปิดการปฏิรูปชนบทของจีนด้วย

เหยียน หง ชาง เป็นหนึ่งในผู้ที่นำการปฏิรูปของหมู่บ้านเสี่ยว ก่าง เขาหวนคิดถึงอดีต กล่าวว่า

"ผมคิดว่า เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว ก็ต้องพยายามทำงาน ถ้าแบ่งที่ดินแล้วไม่มีผลเก็บเกี่ยวพอ ก็จะหมดสิทธิ์ ช่วงนั้นเพื่อที่จะให้มีผลเก็บเกี่ยวมากหน่อย ผมห่วงมาก จนนอนไม่หลับทุกคืน"

18 ครอบครัวของหมู่บ้านเสี่ยวก่าง ลงนามในข้อตกลงร่วมกันว่า ที่ดิน ควาย และเครื่องมือการเกษตรที่มีอยู่ในหมู่บ้านจะแบ่งให้ทุกคน และให้แต่ละครอบครัวเหมาเอาเอง แล้วจะส่งผลการเก็บเกี่ยวให้รัฐตามกำหนด ที่เหลือเป็นของส่วนตัว ชาวบ้านสรุปว่า "จ่ายคืนรัฐก่อน ให้ส่วนรวม ที่เหลือเป็นของตนเอง" ซึ่งปีแรกในการดำเนินการรับเหมาที่ดิน หมู่บ้านเสี่ยวก่างมียอดการผลิตอาหารมากถึง 6.6 หมื่นกิโลกรัม เป็น 4 เท่าตัวของมวลรวมการผลิตในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

เมื่อเดือนกันยายนปี 1980 รัฐบาลจีนออกเอกสาร ให้คำยืนยันกับรูปแบบการเหมาทำงานในการผลิตด้านเกษตรกรรมอย่างเป็นทางการ จากนั้นมา รูปแบบเหมาการผลิตรายครอบครัวได้เผยแพร่ไปสู่ชนบทอย่างกว้างขวาง เมื่อปีที่แล้ว ยอดการผลิตธัญญาหารของจีนเกินกว่า 500 ล้านตัน จีนสร้างสิ่งมัหศจรรย์ที่ใช้ที่ดิน 7% ของโลก จุนเจือประชากร 22% ของโลก

เพื่อที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชนบท ตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว รัฐบาลจีนเริ่มดำเนินการปฏิรูปภาษีในชนบท ค่อยๆ ยกเลิกภาษีเกษตรกรรม จนถึงปี 2006 จีนได้ยกเลิกภาษีเกษตรกรรมทั้งหมด นางจาง หลิน สิ้ว นักวิจัยศูนย์วิจัยนโยบายเกษตรกรรมของสภาวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีนเห็นว่า

1 2