นับตั้งแต่จีนดำเนินนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศเป็นเวลา30 ปีมานี้ เขตปกครองตนเองทิเบตได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทิเบตได้รับการพัฒนาในหลายๆ ด้าน เช่น อุตสาหกรรมการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ ชีวิตความเป็นอยู่ และการเดินทางของประชาชน เศรษฐกิจและสังคมได้พัฒนาอย่างเห็นได้ชัด คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทิเบตได้รับการปรับปรุงอย่างดี ในรายการชนชาติส่วนน้อยของจีนวันนี้ ผมจะแนะนำการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของทิเบตในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานี้
"กลุ่มบริษัทตารึวาของเรามีสาขา 8 แห่ง จนถึงปี 2007 ทรัพย์ิสินของกลุ่มบริษัทเรามีถึงกว่า 500 ล้านหยวน ซึ่งไม่เคยนึกถึงมาก่อน"
ผู้พูดประโยคนี้คือนายฉุน เผยชึเหริน อายุกว่า 50 ปี เขาเกิดในครอบครัวเกษตรกรชาวทิเบตที่ยากจนในอำเภอเหรินปู้ หลังจากการดำเนินการปฏิรูปประชาธิปไตยในทิเบตเมื่อปี 1959 ชีวิตในวัยเด็กของนายฉุน เผยชึเหรินได้ผ่านพ้นความยากลำบาก เมื่อปี 1982 นายฉุน เผยชึเหรินได้จัดตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างชื่อว่า "ตารึวา"ขึ้น โดยผ่านความพยายามที่เป็นเวลากว่า 20 ปี บริษัท"ตารึวา" ได้กลายเป็นผู้นำบริษัททุนเอกชนของทิเบต นายฉุน เผยชึเหรินก็ได้กลายเป็นนักวิสาหกิจเกษตรกรที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่น
ความจริง นอกจากนายฉุน เผยชึเหรินแล้ว ยังมีชาวทิเบตอีกจำนวนมากที่มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น หลังจากจีนได้ดำเนินนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศ หมู่บ้านจั้งรึที่ห่างจากเมืองลาซา เมืองเอกของเขตปกครองตนเองทิเบตหลายสิบกิโลเมตรได้รับฉายาว่าเป็นหมู่บ้านโคนม นายปาซัง อายุประมาณ 40 ปี เป็นผู้เลี้ยงโคนมรายใหญ่ที่สุดในหมู่บ้านแห่งนี้ นายปาซังกล่าวว่า การเลี้ยงวัวในอดีตก็เพื่อไว้เป็นอาหาร แต่ปัจจุบัน การเลี้ยงวัวกลับกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักที่เพิ่มรายได้ของครอบครัว
"ผมเลี้ยงโคนม 35 ตัว ปริมาณการผลิตนมมีถึงวันละกว่า 400 กรัม ปัจจุบัน เรามีเจ้าหน้าที่จำหน่ายนมเปรี้ยวและเจ้าหน้าที่เทคนิคมั้งหมด11คน นอกจากค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าจ้างและค่าซื้ออาหารสัตว์แล้ว ปีหนึ่งมีรายได้กว่า 70000 หยวน นับว่าใช้ได้เลยทีเดียว"
เมื่อทศวรรษที่ 1980 นายปาซังก็สืบเนื่องการทำเกษตรกรรมมาหลายชั่วคน เหมือนเช่นเกษตรกรคนอื่นๆในทิเบต และเลี้ยงโคนมหลายตัวเพื่อดำรงชีวิตของครอบครัว เมื่อปี1994 ปาซังได้ขายโคมนมท้องถิ่นที่ได้เลี้ยงมาหลายปี และซื้อโคนมคุณภาพดี 6 ตัวจากต่างถิ่น โดยอาศัยเงินกู้จำนวนหนึ่งของรัฐบาล เริ่มขายน้ำนมและเนย นับตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา ปาซังได้สร้างโรงงานแปรรูปนมเปรี้ยวแห่งแรกในหมู่บ้านจั้งรึขึ้น และเริ่มผลิตยี่ห้อ"ปาจา"ออกจำหน่าย
บ้านใหม่ของนายปาซังเป็นตึก 2 ชั้นที่มีเนื้อที่กว่า 400 ตารางเมตร ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้าล้วนมีครบทุกอย่าง สิ่งเหล่านี้ได้มาจากการเลี้ยงวัวและแพะกว่าหลายสิบตัว ปาซังได้ใช้ชีวิตที่มีความสุขอย่างที่เขาไม่กล้าคิดในอดีต
1 2
|